ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
ทำไงดี! เมื่อตัด TV ออกจากชีวิตเด็กไม่ได้

ทำไงดี! เมื่อตัด TV ออกจากชีวิตเด็กไม่ได้ ยากที่จะปฏิเสธได้ว่า เมื่อสังคมทำให้ความอยู่รอดของครอบครัวเป็นไปได้ยากขึ้น ส่งผลให้บทบาทของพ่อแม่กับการเลี้ยงดูลูกในยุคแห่งความเจริญนี้มีช่องว่างห่างกันมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากต้องออกแสวงหาเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว ทำให้สื่อใหญ่ และสื่อใหม่ อย่างโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตได้ก้าวเข้ามาแทนที่บทบาทของพ่อแม่จนเกือบจะเต็มหมดแล้ว

เมื่อบทบาทของพ่อแม่น้อยลง สื่อได้กลายเป็นเพื่อนสนิทกับเด็ก จึงไม่แปลกที่เด็กจะซึมซับ และเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากสื่อ จนเกิดเป็นข่าวในแง่ลบหลายๆ ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ อย่างล่าสุดพบเด็ก 6 ขวบผูกคอตาย เหตุเพราะเลียนแบบพฤติกรรมจากตัวละคร ซึ่งหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นกับเด็ก ไม่เพียงแต่กรณีข้างต้นเท่านั้น ถึงแม้จะเป็นเรื่องเก่าที่ยังสด และได้มีการนำไปเปิดประเด็นถกเถียงกันหลายต่อหลายเวที แต่ปัญหาก็ดูเหมือนว่า ยังเกาไม่ถูกที่คันเสียที

กับเรื่องนี้ นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์ และวชิรพยาบาล ให้แนวทางว่า พ่อแม่เท่านั้นที่จะช่วยสร้างเกราะคุ้มกันให้ลูกรู้เท่าทันสื่อได้ โดยเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ใช้ประโยชน์จากความไม่สมบูรณ์ และความไม่เหมาะสมของสื่อมาสอนลูก ด้วยการนั่งดูกับลูก ถึงแม้วิธีดังกล่าว จะเป็นแนวทางที่พูดถึงกันมาตลอด แต่ถ้านำไปใช้อย่างจริงจังย่อมเกิดผลสำเร็จแน่นอน

"เมื่อมีภาพ หรือเสียงจากสื่อ แสดงสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย หรือไม่เหมาะสมกับบรรทัดฐานของครอบครัว พ่อแม่ต้องรีบพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เช่น แบบนี้บ้านเราไม่ทำนะลูก แม่ไม่ชอบเลย โดยพูดเนียนๆ ไม่ใช่สั่งลูกว่า ห้ามทำแบบนี้นะ เพราะเด็กบางคนยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ" นพ.พงษ์ศักดิ์กล่าว

อย่างไรก็ดี คุณหมอด้านพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น กล่าวเตือนว่า เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบไม่แนะนำให้ดูโทรทัศน์เลย จากนั้นเมื่ออายุ 2 ขวบขึ้นไป แนะนำให้ดูได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งในส่วนหลังนี้ พ่อแม่ต้องพูดคุยกับลูกทุกครั้งที่เห็นสิ่งไม่ดีจากสื่อ เพื่อที่ลูกจะได้ซึมซับบรรทัดฐานที่ถูกต้อง เวลาที่เด็กคิดจะทำสิ่งไม่ดี จะเกิดความรู้สึกผิดลึกๆ และพยายามควบคุมตัวเอง เป็นการสร้างฐานการเลือกรับ และแยกแยะให้ลูกรู้ว่า สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำคืออะไร

นอกจากเด็กเล็กแล้ว คุณหมอด้านพัฒนาการเด็กท่านนี้ แสดงความเป็นห่วงว่า เด็กรุ่นใหม่ มีวุฒิภาวะน้องลง ส่วนหนึ่งเกิดจากพ่อแม่ประคบประหงม ตามใจ และช่วยเหลืออยู่ตลอด ส่งผลให้เด็กคิด หรือทำอะไรไม่ค่อยเป็น ขาดเกราะป้องกันในการรู้เท่าทันสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสิ่งเลวร้ายจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วงที่พ่อแม่ต้องใส่ใจ

"เมื่อสื่อกับเด็กแยกจากกันไม่ได้ สิ่งที่ควรทำมากกว่าไปบอกให้ผู้ผลิตเลิกทำละคร พ่อแม่ควรสอนให้ลูกเห็นว่า การกระทำในสื่อ เป็นแค่การแสดง การแสดงไม่ใช่เรื่องจริง หรืออาจจะเปิดคำถามกับลูกว่า ตัวละครกำลังใช้เชือกผูกคอ ถ้าเป็นหนูๆ จะทำแบบเขาไหม หรือถ้ามีเชือกลูกจะเอาไปทำอะไร เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยน และนั่งวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อให้ลูกเข้าใจถึงสิ่งที่ถูกต้อง และเหมาะสม ตลอดจนเท่าทันสื่อก่อนจะถูกสื่อครอบงำอย่างที่เด็กหลายๆ คนเป็น" คุณหมอด้านพัฒนาการเด็ก 


ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ
  
ข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th/node/16408
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สนับสนุนโครงการ Little Miracle เพื่อผู้ป่วยเด็ก
ครอบครัว BBB บริจาคเงิน สนับสนุนโครงการ Little Miracle เพื่อผู้ป่วยเด็ก
VISITOR INFORMATION BBB57
VISITOR INFORMATION BBB57
รู้ไว้ก่อนไม่เสียหาย จุดบริการต่างๆ ภายในงาน พร้อมสิทธิพิเศษต่างๆ มากมาย