ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
ข่าวสาร
แบ่งปัน
เบาหวานในเด็ก อันตรายกว่าที่คิด




เบาหวานในเด็ก อันตรายกว่าที่คิด

 

คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเบาหวานเป็นโรคในผู้ใหญ่ แต่ในความเป็นจริงโรคเบาหวานในเด็กก็สามารถเกิดได้เช่นกัน โดยเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งหากเป็นเบาหวานที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้

 


ชนิดของโรคเบาหวานในเด็ก

เบาหวานที่พบบ่อยในเด็กมี 2 ประเภท ได้แก่

 

เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ตามปกติ เกิดจากมีภูมิต้านทานตนเองมาทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ้อนทำให้ผลิตอินซูลินไม่ได้จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

 

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานในเด็กที่พบได้น้อยกว่าชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ต้องการอินซูลินในปริมาณมากกว่าปกติร่วมกับมีความบกพร่องของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน มักพบในเด็กโรคอ้วน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมด้วย

 


อาการเบาหวานในเด็ก

 

มีอาการสำคัญ คือ ดื่มน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน หรือปัสสาวะรดที่นอน กินเก่ง แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มองเห็นไม่ชัด ถ้ามีอาการรุนแรงจะพบภาวะเลือดเป็นกรด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หายใจหอบลึก ซึม ภาวะขาดน้ำจนช็อก หมดสติได้ สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะมีอาการช้าๆ ไม่รุนแรง และมีภาวะอ้วนร่วมด้วย พบมีการดื้อต่ออินซูลิน เช่น มีรอยดำและหนาขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับ คล้ายกับขี้ไคล

 


ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน

 

เบาหวานชนิดที่ 1 มักมีปัจจัยจาก พันธุกรรม  การติดเชื้อไวรัส  ทำให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิต้านทานไปทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้สร้างฮอร์โมนอินสซูลินได้ไม่เพียงพอ

 

เบาหวานชนิดที่ 2 มักมีปัจจัยจากพันธุกรรม เชื้อชาติ ภาวะอ้วน ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ

 


การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเด็ก

 

พิจารณาตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเด็กอ้วนที่มีอายุมากกว่า 10 ปี หรือเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว ที่มีปัจจัยเสี่ยง 2 ใน 4 ข้อดังนี้

 

  • บิดา มารดา พี่น้องหรือปู่ย่า ตายาย เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
  • เมื่อพบว่าเด็กมีรอยดำและหนาขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับคล้ายกับขี้ไคลขัดไม่ออก ซึ่งเป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลินแล้ว
  • มีประวัติน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 10 เมื่อเทียบกับประชากรในกลุ่มเดียวกัน ณ อายุครรภ์นั้นๆ

 


การรักษาโรคเบาหวานในเด็ก

 

  • การรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉีดอินซูลินทดแทนตลอดชีวิต โดยการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังวันละ 3-4 ครั้งขึ้นกับวิธีการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย หรือให้ผ่านเครื่องอินซูลินที่ติดตัวตลอด 24 ชั่วโมง
  • การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 ต้องอาศัยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อควบคุมอาหาร ลดน้ำหนักและออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และอาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วยในบางราย

 

โรคเบาหวานในเด็กนั้นถ้าปล่อยไว้จะเกิดผลกระทบคือ ในภาวะฉุกเฉิน ทำให้เลือดเป็นกรด อ่อนเพลีย ซึม  หายใจหอบลึก ขาดสารน้ำ เกลือแร่ในร่างกาย และในระยะยาว น้ำตาลในเลือดที่สูง ทำให้ไตเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ ในอนาคตได้

 


การป้องกันโรคเบาหวานในเด็ก

 

ในวัยทารก ให้ทานนมแม่ หลังจากนั้นเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ปริมาณพอเหมาะ เลี่ยงขนม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอรวมทั้ง ติดตามน้ำหนัก  ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  ตามอายุและเพศ




เรียบเรียงข้อมูลจาก
https://www.nakornthon.com/
และ
https://www.phyathai.com/

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
VISITOR INFORMATION BBB58
VISITOR INFORMATION BBB58
รู้ไว้ก่อนไม่เสียหาย จุดบริการต่างๆ ภายในงาน พร้อมสิทธิพิเศษต่างๆ มากมาย
Promotion Credit Card in BBB58
Promotion Credit Card in BBB58
โปรโมชั่นบัตรเครดิตภายในงานมากมาย! ช้อปสะดวก ผ่านบัตร พร้อมรับสิทธิพิเศษเพียบ
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก
ลงทะเบียนเข้างานครั้งแรก