ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
เลือกเครื่องนอนอย่างไร? ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย


เลือกเครื่องนอนอย่างไรให้ปลอดภัยต่อลูก


เทคนิคการเลือกที่นอน

 

          เลือกที่นอนที่เหมาะสมกับขนาดและรูปร่างของลูก เนื้อผ้าต้องมีความยืดหยุ่น เบาะไม่แข็งหรือนิ่มจนเกินไป และแนะนำให้เด็กนอนบนเบาะที่วางราบกับพื้นแทนการนอนบนเตียง เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เด็กปีนป่ายจนพลั้งตกลงมา

 

          Tips : การจัดวางเตียงเด็กทารก ไม่ควรนำตุ๊กตาหรือสิ่งของที่ไม่ใช่เครื่องนอนวางไว้บนเตียงนอนของเด็ก เพราะอาจนำไปสู่ภาวะโรคไหลตายเฉียบพลัน Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) นอกจากนี้ ควรเว้นพื้นที่ว่างไม่วางสิ่งของไว้รอบเตียงและบนหัวเตียง เพราะเด็กอาจเอื้อมไปหยิบจับสิ่งของ หรือสิ่งของอาจตกลงมาได้


เทคนิคการเลือกหมอน


          จะต้องรองรับศีรษะและคอของเด็กได้พอดี หลีกเลี่ยงการใช้หมอนขนสัตว์ โดยเลือกใช้หมอนยางพาราสำหรับเด็ก หมอนเมมโมรี่โฟม หรือหมอนชนิดอื่น ๆ ที่มีความปลอดภัย และไม่ควรให้เด็กนอนหมอนของผู้ใหญ่


เทคนิคการเลือกผ้าห่ม

 

          เลือกผ้าห่มที่มีขนาดเล็กเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ผ้าห่มที่มีขนาดใหญ่เกินตัวเด็กอาจคลุมหน้าและขัดขวางการหายใจของเด็กได้ โดยอาจวางผ้าห่มไม่ให้สูงกว่าระดับอกของทารก หากใช้ผ้าห่มกับเด็กทารกอาจต้องนำผ้าห่มสอดใต้ฟูกเพื่อป้องกันผ้าห่มเคลื่อน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความบางเป็นหลัก

 

          Tips : ควรเลือกผ้าห่มที่สามารถระบายอากาศได้ดีมากกว่าผ้าห่มที่มีไส้ผ้านวมหนา เนื้อผ้าต้องมีความอ่อนนุ่ม อ่อนโยน ไม่ระคายต่อผิว อาจเลือกใช้ผ้าห่มที่ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล OEKO-TEX® Standard 100 ในระดับ Class I ที่ผ่านการทดสอบแล้ว่า ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง


เทคนิคการเลือกเปล

 

          ทารกแรกเกิด จนถึง 6 เดือน ควรนอนในเปลที่ที่มีขนาดเล็ก-กลาง ไม่อึดอัด ห่อตัวที่สุด หรือกระชับที่สุด เพราะการนอนเปลที่มีขนาดเล็ก-กลาง จะทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่น และปลอดภัย เหมือนตอนที่อยู่ในท้องของคุณแม่ จึงจะทำให้ลูกน้อยหลับสนิท และนอนได้นานขึ้น โดยที่ไม่สะดุ้งตื่นบ่อยๆ หลับจากนั้น จึงค่อยปรับเปลี่ยนที่นอน เมื่อลูกน้อยเริ่มโตขึ้น

 

          เปลที่ใช้ ควรมีความโปร่งสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น ไม่เก็บกลิ่นและฝุ่น วัสดุที่ใช้ต้องแข็งแรง และคุณภาพดี นอกจากนั้น การไกวเปลต้องทำอย่างนุ่มนวล เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อให้ทารกไม่รู้สึกเวียนหัว


ข้อคำนึงเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้เปลเด็ก

 

          นอกจากการเลือกประเภทเปลเด็กให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้และวัยของลูกแล้ว ในส่วนของความปลอดภัยนั้นก็เป็นส่วนสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย โดยมีข้อแนะนำในการใช้เปลเด็ก ดังต่อไปนี้

 

- เลือกฟูกที่พอดีกับเปล หรือเลือกเปลที่มีฟูกขนาดพอดีกัน มีความนุ่มและหนาแน่นมากพอเพื่อให้เด็กนอนอย่างสบาย หากฟูกอ่อนนุ่มเกินไปหรือสามารถสอดนิ้วระหว่างขอบเปลและฟูกได้มากกว่า 2 นิ้ว อาจเสี่ยงทำให้จมูกและปากของเด็กไปติดบริเวณดังกล่าว หรือถูกฟูกกดทับจนเด็กหายใจไม่ออกได้

 

- อย่าวางหมอน ผ้าห่ม หรือตุ๊กตาไว้ในเปลจนแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้ปากหรือจมูกของเด็กถูกกดทับและหายใจไม่ออก

 

- เลือกเปลลูกกรงที่มีระยะห่างของซี่กรงไม่เกิน 2.5 นิ้ว เพื่อป้องกันศีรษะทารกติดหรือหลุดลอดออกจากช่องได้

 

- เลือกเปลที่มีฐานมั่นคงและสมดุล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับน้ำหนักทารกได้ดีพอและจะไม่พลิกคว่ำ

 

- หากเป็นเปลแบบประกอบหรือพับได้ ควรตรวจดูตัวล็อกให้แน่นหนาหลังติดตั้ง ป้องกันเปลล้มหรือทรุดตัว ส่วนเปลที่มีล้อก็ควรตรวจให้แน่ใจว่าเปลล็อกอยู่กับที่ เพื่อไม่ให้เปลเลื่อนไหลไปเอง

 

- เด็กทารกมักมีน้ำลายไหล พ่นนมออกมา หรือผ้าอ้อมซึมเปื้อนจนเลอะเปลได้ จึงควรเลือกเปลที่ถอดมาทำความสะอาดได้ง่าย

 

- สำหรับเปลเด็กที่มีถาดใส่อาหารหรือโมบายกล่อมเด็กแถมมา ควรดูให้แน่ใจว่าสามารถถอดเข้าออกได้ง่ายและไม่เป็นอุปสรรคต่อการวางทารกลงบนเปลหรืออุ้มออกจากเปล

 

- เมื่อเด็กนอนหลับ พ่อแม่ควรคอยระวังและจับให้เด็กนอนหงายอยู่เสมอ

 

- ดูให้แน่ใจว่าของเล่นทุกชิ้นที่ให้ลูกเล่นหรือวางไว้ในเปลประกอบกันแน่นสนิท ไม่หลุดออกมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพราะหากเด็กนำเข้าปากอาจเกิดการสำลักจนเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

- คอยเฝ้าดูทารกอย่างใกล้ชิด ระมัดระวังสัตว์เลี้ยงหรือเด็กเล็กในบ้านที่โตกว่า เพราะอาจวิ่งชนหรือปีนป่ายจนเปลล้มลงได้

 

** ควรหลีกเลี่ยงการใช้เปลตะกร้าที่ทำจากวัสดุถักสาน เนื่องจากเสี่ยงทำให้ทารกหายใจไม่ออกและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างฉับพลัน



 

ขอบคุณข้อมูลจาก 
https://www.pobpad.com/
http://www.xn--e3cye4bl0m.com/ และ https://www.aenahome.com/

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง