เฝ้าระวัง โรคตาในเด็ก
ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตาที่พบได้บ่อยในเด็ก มีดังนี้
- ตาขี้เกียจ
- ตาเข ตาเหล่
- ความผิดปกติของสายตา เช่น ตาสั้น ตายาว ตาเอียง
นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที เช่น
- โรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด
- โรคมะเร็งจอตาในเด็ก มักพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
- โรคต้อกระจกในเด็ก พบได้ไม่บ่อยในเด็กทารกแรกเกิด
- โรคตาที่เกิดจากพันธุกรรม ทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนด
สัญญาณบ่งบอกว่าดวงตาของลูกมีปัญหา
- ตาไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน
- ตาไวต่อแสง
- ตาแดงเรื้อรัง
- มีน้ำตาไหลเรื้อรัง
- อาการปวดศีรษะหรืออาการเมื่อยล้าทางสายตา
- มีปัญหาการอ่าน เช่น อ่านหนังสือหรือดูโทรทัศน์ใกล้เกินไป
- มีปัญหาการทำงานร่วมกันระหว่างมือกับตา
- มีอาการซุ่มซ่าม เช่น เดินชนสิ่งของ โต๊ะ เก้าอี้บ่อยๆ
- ขยี้ตาบ่อย
วิธีการถนอมสายตาเด็ก
- ควรอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่สลัวหรือจ้าจนเกินไป
- อย่านอนอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะนอนคว่ำหรือนอนหงาย เพราะแรงโน้มถ่วง จะทำให้หน้าอยู่ใกล้กับหนังสือมากเกินไป ทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าปกติจนอาจเกิดอาการปวดตาได้
- อย่าอ่านหนังสือหรือเล่นเกมในรถ เพราะจะต้องเพ่งสายตามากกว่าปกติ และการสั่นสะเทือน ของรถจะทำให้สายตาล้าได้ง่าย
- อย่าเล่นวิดีโอเกม คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เกม ดูทีวี หรือวิดีโอ ติดต่อกันนานเกินไป ควรพักสายตาเป็นระยะๆ ด้วยการมองไปที่ไกลๆ
- แสงของหน้าจอจะต้องไม่จ้าจนเกินไป ควรปรับให้แสงนวลพอเหมาะรวมทั้งมีแสงสว่างภายในห้องพอสมควร
- ไม่ควรอาศัยแสงจากหน้าจอเพียงอย่างเดียว
- ควรสนับสนุนให้เด็กออกไปเล่นกลางแจ้งบ้าง อย่าใช้คอมพิวเตอร์หรือดูทีวีทั้งวัน โดยเฉพาะช่วงเวลาปิดเทอม
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.rutnin.com/