ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
วิธีนับลูกดิ้น



วิธีนับลูกดิ้นที่ถูกต้อง


          การนับจำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์ สามารถบอกถึงสุขภาพหรือความผิดปกติของลูกน้อยได้ โดยเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกดิ้นน้อยลง มักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังและอยู่ในภาวะอันตราย อาจเกิดจากน้ำคร่ำน้อย หรือ สายสะดือผูกเป็นปมได้ โดยทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นเป็นเวลา 12-48 ชั่วโมงก่อนที่จะเสียชีวิต ดังนั้น แนะนำว่าให้นับลูกดิ้นวันละ 1-2 ครั้ง เช่น 2 ครั้ง คือ นับตอนเช้า 1 ครั้ง และตอนเย็น 1 ครั้ง

องค์ประกอบที่มีผลต่อการดิ้นของทารกในครรภ์   ได้แก่

 

  • ระดับกลูโคสในเลือดมารดา 
  • มื้ออาหารที่มารดาได้รับ
  • เสียงภายนอกที่มากระตุ้น
  • อาชีพของมารดา
  • ความสนใจของมารดาต่อการดิ้นของทารก

ควรเริ่มนับทารกดิ้นในครรภ์เมื่อไหร่ ?

 

          คุณแม่ควรนับการดิ้นของทารกในครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบระหว่างตั้งครรภ์


วิธีการนับการดิ้นของทารกในครรภ์

 

          เริ่มนับทารกดิ้นในครรภ์ตั้งแต่ 09.00 น. โดยนับครบ 10 ครั้ง ใช้เวลาในการนับประมาณ 10-12 ชั่วโมง ถ้านับได้ 10 ครั้งขึ้นไปถือว่าทารกปกติ คุณแม่ควรนับและบันทึกการดิ้นของทารกแต่ละครั้งลงตาราง การนับการดิ้นของทารกแต่ละครั้งให้บันทึกไว้จนครบ 10 ครั้ง ถ้าครบ 12 ชั่วโมง แล้วทารกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง ให้รีบมาพบแพทย์ทันที


ข้อแนะนำในการนับและบันทึกการดิ้นของทารก

 

  • ลักษณะการดิ้นของทารก คือ เตะ ยืดตัว บิดตัว 
  • ท่าที่ดีที่สุดในการรับรู้ถึงการดิ้นของทารก คือ ท่านอนตะแคงซ้าย
  • ขณะบันทึกคุณแม่ควรอยู่ในที่เงียบ เพราะจะทำให้มีสมาธิในการรับรู้ถึงการดิ้นของทารกได้ดี
  • ต้องบันทึกการดิ้นของทารกทุกวัน
  • โปรดนำแบบบันทึกการดิ้นของทารกมาให้แพทย์หรือพยาบาลดูทุกครั้งที่มาฝากครรภ์


วิธีนับลูกดิ้น

 

  • ครั้งแรก ตอนเช้าในขณะที่คุณแม่ยังไม่มีงานอะไรมากนัก
  • ครั้งที่สอง ตอนเย็นหรือตอนค่ำๆ ขณะที่ลูกน้อยเคลื่อนไหวแรง เริ่มจับเวลาแล้วนับดูว่า ลูกน้อยดิ้นครบ 10 ครั้ง ในเวลาเท่าใดแล้วจดเวลาเอาไว้ (จำนวนครั้งของการดิ้นจะนับรวม ทั้งการเตะ, การเอาศอกมากระทุ้ง, การบิดตัวของลูกน้อย)


 


เรียบเรียงจาก
https://www.sikarin.com

และ https://www.phyathai.com

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง