ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
การดูแลตัวเองหลังคลอด

การดูแลตัวเองหลังคลอด



- หมั่นเคลื่อนไหวร่างกายหลังคลอด
จะช่วยให้ร่างกายมีการขยับตัวของกล้ามเนื้อและทำให้แผลฝีเย็บสมานเร็วขึ้น แต่มีสิ่งที่ควรระวังอยู่ 2 อย่าง คือ 1. เนื่องจากคุณแม่เสียเลือดไปในขณะคลอดมากกว่าปกติ ฉะนั้นควรระวังอาการหน้ามืดเป็นลมในระยะหลังคลอดใหม่ ๆ และ 2. อย่าลืมว่ามดลูกเพิ่งผ่านการทำงานมาอย่างหนัก ดังนั้น การเคลื่อนไหวใด ๆ ก็ขอให้ไม่ให้กระทบกระเทือนกับมดลูก


- การดูแลแผลฝีเย็บ
ถ้าเจ็บมากก็สามารถกินยาแก้ปวดได้ ส่วนการอบแผลด้วยความร้อนและการอาบน้ำอุ่นก็จะช่วยให้อาการบวมที่แผลลดน้อยลงและช่วยบรรเทาอาการเจ็บแผลได้เช่นกัน


- การอยู่ไฟ เชื่อกันว่าการอยู่ไฟจะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการอาการปวดและบำบัดโรคหลังคลอดได้ แต่ควรอยู่ไฟอ่อน ๆ ห้ามนำลูกเข้าไปอยู่ไฟด้วย

- การนั่งและยืนให้ถูกท่า ท่านั่งที่ดีที่สุดก็คือ "ท่านั่งพับเพียบ" เพราะการนั่งท่านี้จะไม่ทำให้เจ็บแผลมาก แต่ถ้ายังนั่งไม่ถนัดก็ให้คุณแม่หาเบาะนุ่ม ๆ หรือหมอนรองนั่งมารองก็ได้

- การให้นมลูก คุณแม่ควรกระตุ้นให้น้ำนมไหลด้วยการให้ทารกดูดนมทันทีหลังคลอดและดูดบ่อย ๆ ทุก 2 ชั่วโมง สลับข้างกัน ไม่ควรให้น้ำร่วมด้วยเพราะจะทำให้ลูกอิ่ม

- การดูแลเต้านม ในช่วงหลังคลอดและให้นมลูก เต้านมของคุณแม่จะมีขนาดและน้ำหนักมากเป็น 3 เท่าของเต้านมปกติ ทำให้เอ็นที่พยุงเต้านมเกิดการยืด คุณแม่จึงควรสวมยกทรงพยุงไว้เพื่อช่วยป้องกันการหย่อนยานและลดความเจ็บปวด และควรให้เต้านมแห้งสะอาดก่อนสวมชั้นในทุกครั้ง คุณแม่ไม่ควรสวมยกทรงแบบที่เป็นโครงเหล็ก เพราะอาจจะไปกดทับท่อน้ำนม

- การรักษาความสะอาดของร่างกาย ถ้าเป็นการคลอดทางช่องคลอดปกติ คุณแม่สามารถอาบน้ำสระผมได้ตามปกติ อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และสระผมได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

- การเปลี่ยนผ้าอนามัย ในช่วงหลังคลอดน้ำคาวปลาจะออกมาก 2-3 วันแรก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ คุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ โดยให้เปลี่ยนทันทีที่รู้สึกว่าผ้าอนามัยมีเลือดชุ่มหรือเปลี่ยนบ่อย ๆ ทุก ๆ 3 ชั่วโมง

- อาหารการกินของคุณแม่หลังคลอด โดยทั่วไปอาหารสำหรับคุณแม่หลังคลอดควรจะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด และมีกากใยมาก เพื่อป้องกันอาการท้องผูก เนื่องจากในช่วงหลังคลอดระยะแรก ๆ ฮอร์โมนที่ทำให้ท้องผูกยังออกฤทธิ์อยู่ (ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน) ประกอบกับระยะนี้คุณแม่ไม่อยากเบ่งอุจจาระเพราะกลัวเจ็บแผล ก็ยิ่งมีโอกาสท้องผูกมากขึ้น ส่วนอาหารรสจัดก็ควรงดไปก่อน เพราะอาจทำให้คุณแม่ท้องเสียได้ง่าย

- ยาบำรุงหลังคลอด หลังคลอดแพทย์จะให้เฉพาะยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล และให้ยาบำรุงเลือดกลับไปรับประทานที่บ้านเท่านั้น ส่วนยาอื่น ๆ นอกเหนือจากที่แพทย์สั่งไม่รับประทานโดยเด็ดขาด

- การพักผ่อนร่างกายหลังคลอด คุณแม่ควรพักผ่อนตามปกติเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยควรนอนหลับให้ได้รวมแล้วอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง

- ดูแลสุขภาพจิตของคุณแม่หลังคลอด นอกจากการปรับตัวทางร่างกายแล้ว คุณแม่ยังต้องปรับจิตใจให้เข้ากับสภาพของการเป็นแม่ที่สมบูรณ์ด้วย ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ "สามี" ซึ่งจะต้องช่วยดูแลประคับประคองเอาใจใส่ ให้กำลังใจ แสดงความห่วงใยต่อความไม่สบายใจและความกังวลใจของคุณแม่หลังคลอด รวมถึงคอยช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ

- การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด เพื่อเป็นการรักษาแผลที่ฝีเย็บ และเพื่อป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก หมอจะให้งดมีเพศสัมพันธ์จนกระทั่งมาตรวจสุขภาพในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด

- การดูแลผิวพรรณหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของร่างกายที่เปลี่ยนไปหรืออาการท้องแตกลายหลังคลอด ล้วนแล้วแต่ทำให้คุณแม่ต้องเป็นกังวลทั้งนั้น ซึ่งบางคนร่างกายจะปรับตัวเข้าสู่สภาพเดิมได้ แต่บางคนก็ยาก คุณแม่สามารถเลือกใช้เสตย์รัดหน้าท้องช่วยอีกแรงได้ค่ะ ส่วนผิวพรรณที่แตกลายนั้นก็สามารถใช้ครีมกำจัดหน้าท้องลายได้ แต่ต้องเลือกที่มีส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีเจือปน

การดูแลผมหลังคลอด ในระยะหลังคลอดอาจเกิดอาการผมร่วงมากกว่าปกติ แต่ถือเป็นภาวะปกติและเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาการผมร่วงนี้จะหายไปเองภายใน 6-12 เดือน แต่ก็ไม่เสมอไป ฉะนั้นสามารถเลือกใช้ยาสระผมที่ช่วยบำรุงผมได้



เรียบเรียงจาก
https://medthai.com/

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง