ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
เสริมสร้างพัฒนาการลูกด้วยดนตรี
เสริมสร้างพัฒนาการลูกด้วยดนตรี สังเกตมั๊ยคะ ว่าเด็กเล็กเกือบจะทุกคนชอบเสียงเพลงหรือเสียงดนตรี แค่เคาะมีจังหวะนิดๆหน่อยๆก็จะเริ่มกระโดดโลดเต้นกันแล้ว แถมยังมีฮัมเพลงถูกบ้างผิดบ้างไปตามประสาของแก แต่เชื่อมั๊ยคะเบื้องหลังของความสนุกสนานของเด็กๆเหล่านี้ มีเรื่องดีๆของดนตรีเกิดขึ้นกับหนูน้อยมากมายเลยทีเดียวค่ะ ... 

ดนตรีเสริม IQ 
เพราะดนตรีเป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมองทำให้เส้นใยประสาทแตกแขนงมากขึ้น โดยเฉพาะไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ความทรงจำ ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ และสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ได้ดี 

ดนตรีพัฒนา EQ
เพราะเสียงทุ้ม แหลมของดนตรีที่เด็กๆ ได้ยิน มีผลต่อการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ ดนตรีที่มี เสียงละเอียดอ่อนส่งผลให้มีอารมณ์และจิตใจที่อ่อนโยนเมื่อเราฟังดนตรี ร่างกายจะสบาย ผ่อนคลาย มีความสงบเกิดขึ้นในจิตใจ มีสมาธิจดจ่อและเกิดจินตนาการตามเสียงที่ได้ยิน ดนตรีที่มีจังหวะเหมาะสมและมีระดับเสียงความดังพอเหมาะ ประมาณ 60-70 เดซิเบล จะช่วยให้สมองมีภาวะสมดุล ทำให้พร้อมต่อการเรียนรู้มากขึ้น 

ดนตรีฝึกภาษา
เพราะภาษาของลูกวัยนี้จะเกิดจากการเลียนแบบเป็นส่วนใหญ่ การใช้ท่วงทำนองเพลงที่สนุกสนาน บวกกับท่าทางประกอบและถ้อยคำง่าย ๆ ความคล้องจองของภาษาจากเพลง หรือแม้แต่บทกลอนจะช่วยให้เด็กๆ เลียนเสียง และจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น เป็นการสร้างพื้นฐานเบื้องต้นที่ดี เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาภาษาในระดับต่อๆ ไป 

สำหรับเด็กวัย 1-2 ปี พ่อแม่ควรเริ่มปลูกฝังให้ลูกรู้สึกว่า “ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขา” วิธีปลูกฝังให้หนูๆ รักดนตรีมีหลายวิธีดังนี้ค่ะ 

1. เลือกฟังเพลงที่หลากหลาย เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงไทยเดิม เพลงสากล หรือเพลงกล่อมเด็กจากชนชาติต่าง ๆ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ดนตรีหลากหลาย
2. เล่านิทานเพลง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับดนตรีที่สนุกสนานให้เด็กฟัง
3. ถ้ามีรายการดีๆ ควรเปิดให้เด็กดู เพื่อสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ 
4. ช่วยเด็กคิดประดิษฐ์เครื่องประกอบดนตรีง่ายๆ และให้เด็กลองเล่นด้วยตัวเอง 
5. พาเจ้าตัวเล็กไปชมการแสดงดนตรี หรือดูการซ้อมดนตรีจะช่วยให้เด็กพัฒนาทางด้านดนตรี และมีเจตคติที่ดีในเรื่องดนตรีด้วย 

เห็นมั๊ยคะ ประโยชน์ของดนตรีมีมากกว่าความสนุกเยอะแยะเลยทีเดียวล่ะค่ะ ...
  
 ข้อมูลจาก : http://www.momchannel.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง