ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
ไวรัสลงกระเพาะ ในเด็ก
ไวรัสลงกระเพาะ ในเด็ก ไวรัสลงกระเพาะในเด็กปัญหาใหญ่ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านต้องเฝ้าระวังไว้ให้ดี เพราะคนเรานั้นไม่สามารถที่มองเห็นเชื้อโรคได้ด้วยตาเปล่า ไวรัสลงกระเพาะ ก็เช่นกันเราเองก็ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยเปล่าว่าลูกน้อยของเราโดนเจ้า ไวรัสลงกระเพาะ นี้รึเปล่า แต่วันนี้เรามีวิธีการดูอาการไวรัสลงกระเพาะในเด็กมาฝาก เพื่อคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายจะได้รู้จักวิธีป้องกันและวิธีดูแลเวลาที่ลูกน้อยเกิดมีอาการไวรัสลงกระเพาะ เพื่อการเตรียมพร้อมที่ทันท่วงถี่ในลูกน้อยเราก็มาดูการเฝ้าระวัง ไวรัสลงกระเพาะในเด็ก กันเลยดีกว่าค่ะ

ไวรัสลงกระเพาะ ในเด็ก

เชื้อไวรัสตัวเจ้าปัญหาที่เป็นต้นเหตุของอาการไวรัสลงกระเพาะที่จริงมีอยู่หลายชนิดแต่ที่พบบ่อยกับเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี คือ เชื้อไวรัสโรตาเป็นเชื้อโรคที่สามารถอยู่ในสภาวะแวดล้อมทั่วไปได้นาน โดยอาจได้รับเชื้อจากสิ่งของรอบตัวที่มีเชื้อ เช่น ของเล่น จาน ชาม บริเวณพื้นที่ไม่สะอาด อาหารที่กินเข้าไป หรือได้รับเชื้อจากผู้ป่วยโดยตรงเชื้อมักระบาดในช่วงฤดูหนาวแต่อาจพบการติดเชื้อไวรัสโรตาได้ตลอดทั้งปี

ลักษณะอาการไวรัสลงกระเพาะที่สังเกตได้
  • อาจมีอาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป คือ มีไข้ตัวร้อน น้ำมูก หรือไอ ร่วมด้วย
  • อาการเด่นชัดตามมา คือ อาเจียน ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงมากขึ้นอาจมีอาการท้องอืดร่วมด้วย
  • ปฏิเสธอาหารและมีอาการถ่ายเหลวตามมาอาการที่กล่าวมา คุณพ่อคุณแม่สามารถรักษาอาการด้วยการประคับประคองอาการไม่ให้เป็นมากกว่าเดิม เพราะอาการจะค่อยๆ หายไปได้เองด้วยการดูแลอย่างเหมาะสมของคุณพ่อคุณแม่

ความรุนแรงของเชื้อไวรัสโรตาขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของเด็กแต่ละคน เช่น สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง อาการของโรคอาจจะรุนแรงกว่าเด็กปกติทั่วไปได้ เรื่องที่ต้องระวังคือภาวะขาดน้ำจากการอาเจียนและถ่ายเหลว ซึ่งอาการที่สังเกตได้ คือ ไข้จะสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว งอแง ปากแห้ง ซึม ปัสสาวะลดลง และอาจมีปลายมือ ปลายเท้าเย็น


การป้องกันและการดูแลไวรัสลงกระเพาะที่เหมาะสม

1. การป้องกัน
  • ดูแลสุขอนามัยเรื่องความสะอาดของพ่อแม่ พี่เลี้ยง และตัวเด็ก
  • ดูแลสุขอนามัยเรื่องความสะอาดของพ่อแม่ พี่เลี้ยง และตัวเด็ก
  • ล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำหรือปรุงอาหาร
  • รักษาสุขอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น ของเล่น สิ่งของเครื่องใช้ หรือพื้นผิวที่ลูกสัมผัส
  • หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในที่ชุมชนหนาแน่นหรือที่ที่มีการระบาดของโรค
ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนทางเลือกให้คุณพ่อคุณแม่โดยสามารถเริ่มให้วัคซีน (หยอด) ตั้งแต่อายุ 2 เดือนและ 4 เดือน โดยสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ประจำตัวของลูกได้ค่ะ


2. การดูแล
  • เมื่อลูกมีไข้ควรเช็ดตัวและให้ยาลดไข้
  • ถ้าอาเจียนอาจให้กินน้ำโออาร์เอส (ผงน้ำตาลเกลือแร่) เพื่อรักษาและป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • สามารถดื่มนมและรับประทานอาหารย่อยง่ายได้

สิ่งสำคัญเมื่อลูกป่วยคือ การสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดและเมื่อลูกมีอาการผิดปกติ เช่น ลูกไม่สามารถรับประทานอะไรได้ปัสสาวะน้อยลงมีอาการซึมงอแง หรืออาเจียนบ่อยครั้งคุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาลูกมาพบคุณหมอทันทีค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mother&Care ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง