ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
ทารกเป็นฝี ทำไงดี? / รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ
ทารกเป็นฝี ทำไงดี? / รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ 

ทารกเป็นฝี ทำไงดี? "มีทางแก้!!"
อีกหนึ่งเรื่องที่คุณควรรู้เมื่อทารกเป็นฝีค่ะสำหรับเรื่อง ทารกเป็นฝี นี้คุณไม่ต้องตกใจไปใยค่ะเพราะว่าเรายังมีทางแก้มาฝากค่ะ แต่เรื่อง ทารกเป็นฝี นี้อันดับแรกเลยคุณควรจะคอยสังเกตทารกหรือลูกน้อยให้ดีเพราะว่า ดูเผิน ๆ ตุ่มที่คุณแม่เห็นนั่นอาจไม่แค่ตุ่มยุ่งกัดเนื่องจากถ้าคุณแม่ไม่สังเกตุเจ้าฝีก็จะคล้าย ๆ กับตุ่มยุ่งกัดธรรมดา ๆ นั่นเองค่ะ แต่เจ้าฝีเนี่ยมันจะค่อยใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และมีหนองออกมาด้วย ทารกหรือลูกน้อยของคุณอาจจะร้องไห้งอแงไม่ยอมหยุดด้วยความเจ็บปวดเลยทีเดียวค่ะ ฉะนั้นคุณแม่ควรจะเฝ้าระวังและคอยสังเกตุให้ดี ๆ นะค่ะ แต่เมื่อเห็นก็อย่าเพิ่งตกใจไปใยเพราะวันนี้เราก็มีคำแนะนำสำหรับคุณแม่ในเรื่อง ทารกเป็นฝี ให้คุณได้ทำความเข้าใจกันอย่างกระจ่างเลยทีเดียวค่ะ


ฝีเกิดจากอะไร
ฝี เป็นกลไกการต้านเชื้อโรคของร่างกายเกิดขึ้นชั้นใต้ผิวหนังไม่ว่าจะเป็นศีรษะ แขน ขา ก้น ฯลฯ โดยมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียบนผิวหนัง ที่อาจมีทั้งประโยชน์และโทษ เมื่อเด็ก ๆ รู้สึกคันผิวแล้วเกาจนเป็นแผลเจ้าเชื้อโรคที่ว่านี้ก็จะบุกรุกเข้ามาในร่างกายได้ แต่ความมหัศจรรย์ของร่างกายไม่ปล่อยให้ใครมารุกรานได้ง่าย ๆ อยู่แล้ว ดังนั้นจึงมีการส่งกองหน้าซึ่งก็คือเซลล์เม็ดเลือดขาวออกมาต่อสู้กับเชื้อโรค นอกจากนี้ยังมีการสร้างผนังห่อหุ้มเชื้อโรคและเซลล์ที่ตายแล้วเอาไว้ไม่ให้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกายด้วย เห็นได้ในรูปของฝีหรือหนองซึ่งขนาดเล็กมักจะเรียก ตุ่มหนอง แต่เมื่อตุ่มหนองนั้นมีขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตรขึ้นไปจะเรียกว่า ฝี


อาการเมื่อทารกเป็นฝี
ฝีมักจะขึ้นเป็นตุ่มหรือก้อนบวมแดงและปวด สัมผัสจะรู้สึกร้อน กดถูกจะรู้สึกเจ็บ แรก ๆ จะมีลักษณะแข็งจะขยายโตขึ้นและเจ็บมากขึ้นเพราะเนื้อเยื่อรอบ ๆ เกิดการอักเสบต่อมาจะนุ่มลงและกลัดหนอง เมื่อฝีเป่งมาก ๆ อาจแตกเองได้แล้วอาการเจ็บปวดอาจทุเลาลง

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ มีการติดเชื้อเข้าไปในกระแสเลือดแล้วเดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งถือว่าเป็นขั้นรุนแรงที่สุดแต่ก็พบได้เป็นส่วนน้อย


ตัวเท่านี้ก็เป็นฝีได้หรือ
ฝี เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยและเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย พบได้บ่อยในเด็กเล็กวัยทารกที่มีผิวหนังบอบบางในวัยซนชอบเล่นเพลินจนไม่ได้ รักษาความสะอาดของผิวหนังได้เพียงพอทำให้มีโอกาสที่แบคทีเรียบนผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย


การรักษาฝีแผนไทย
ใช้กอเอี๊ยะ คือ ขี้ผึ้งใช้ดูดหนองจากหัวฝีหรือปิดฝีให้แตกเป็นแผล หนองจะได้ออกได้โดยไม่ต้องบีบ มีเครื่องยาผสมหลายชนิดประกอบด้วย น้ำมันใบชา เสนผง ยางสน ชันตะเคียน งิ่งจู (ยาผงสีแดง) และตัวยาอื่น ๆ เอามาเคี่ยวผสมกันจนกลายเป็นของเหลวสีดำหยดลงกระดาษพับครึ่ง เวลาใช้แกะกระดาษออกแล้วปิดลงบนฝีทั้งกระดาษเริ่มต้นจะปิดให้แผลแตกและเมื่อแผลแตกกอเอี๊ยะจะดูดหนองออกมาเมื่อหนองออกหมดแผลจะหาย


การรักษาฝีแผนปัจจุบัน
ถ้าฝีมีขนาดเล็กอาจปล่อยให้ตุ่มหนองแตกเองจากนั้นคอยทำความสะอาดไม่นานนักแผลก็จะหายเอง แต่ถ้าฝีมีขนาดใหญ่ควรไปพบแพทย์เพื่อผ่าฝีเอาหนองออกมา จากนั้นใส่ผ้ากอชชนิดเป็นแผ่นยาว ๆ ค่อย ๆ ม้วนยัดเข้าไปในแผล เพื่อเป็นหมุดดึงระบายหนองและทำความสะอาดแผลเปลี่ยนผ้ากอชทุกวันทำจนกระทั่งแผลตื้นขึ้นและหายสนิท อาจมีการให้กินยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบร่วมด้วย การผ่าเอาหนองออกแล้วยัดผ้ากอชทุกครั้งเมื่อทำแผลจะทำให้หนองออกมาได้หมดลดโอกาสกลับมาเป็นฝีซ้ำอีกได้


เปรียบเทียบกอเอี๊ยะกับการรักษาแผนปัจจุบัน
การแปะกอเอี๊ยะจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า เมื่อเทียบกับค่าผ่าเอาหนองออกและค่าทำแผลแต่จะต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดให้มาก


วิธีป้องกันไม่ให้เกิดฝี
เด็กที่ผิวหนังอักเสบง่ายควรรักษาความสะอาดตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เปลี่ยนปลอกหมอน ผ้าปูที่นอนบ่อย ๆ อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด กินอาหารที่มีประโยชน์เป็นประจำ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mother&Care ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
  
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง