รวมปัญหาลูกยี้แปรงฟัน การแปรงฟัน อีกหนึ่งอุปสรรคจากลูก ที่เล่นเอาแม่เหนื่อยใจ ทำไมลูกเรายี้การแปรงฟันตลอดเลย ทั้งที่การดูแลความสะอาดปากและฟันด้วยวิธีนี้สำคัญใช่เล่น ก็ด้วยเหตุนี้เองล่ะมั้ง ที่แม่ๆ กังวล เหลือเกิน
การแปรงฟัน อีกหนึ่งอุปสรรคจากลูก ที่เล่นเอาแม่เหนื่อยใจ ทำไมลูกเรายี้การแปรงฟันตลอดเลย ทั้งที่การดูแลความสะอาดปากและฟันด้วยวิธีนี้สำคัญใช่เล่น ก็ด้วยเหตุนี้เองล่ะมั้ง ที่แม่ๆ กังวล
เหลือเกิน ทำยังไงลูกถึงเลิกยี้การแปรงฟัน อมยิ้มรวบรวมสารพัดปัญหาการแปรงฟันพร้อมทางออกที่แม่ๆ กำลังถามหากันอยู่ มาไว้ที่นี่แล้วค่ะ
ลูกยังเล็กอยู่ ใช้ยาสีฟันได้หรือยัง
สำหรับเด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรกที่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้นนั้น การทำความสะอาดง่ายแสนง่าย เพียงแค่ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำแล้วเช็ดเหงือกและลิ้นเพื่อทำความสะอาดช่องปาก แต่เมื่อลูกอายุ 6
เดือนขึ้นไป ช่วงนี้ฟันน้ำนมเริ่มขึ้นแล้วค่ะ คุณแม่ควรใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็ก ที่มีความนุ่มและมีขนาดเล็ก ทำความสะอาดฟันซี่แรกของลูก สำหรับแม่ๆ ที่กังวลว่าลูกยังเล็ก ใช้ยาสีฟันได้หรือเปล่า
จริงๆ แล้วสามารถใช้ได้ค่ะ เพียงแค่ใช้แต่น้อย แล้วอย่าลืมเลือกยาสีฟันสำหรับเด็กด้วยนะคะ
ลูกชอบกลืนยาสีฟัน อันตรายไหม
ขึ้นอยู่กับยาสีฟันที่ใช้อยู่เหมือนกันค่ะ หากเป็นยาสีฟันสำหรับผู้ใหญ่อาจอันตรายมากกว่า เพราะมีส่วนผสมของฟลูออไรด์มากเกินไป อาจทำให้สีของฟันแท้ที่กำลังสร้างอยู่เปลี่ยนไปได้ เรียกกันว่า
“ฟันตกกระ” ค่ะ และถึงแม้จะเลือกใช้ยาสีฟันสำหรับเด็กแล้วก็ตาม ก็มีจุดที่ต้องระวังอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องปริมาณของยาสีฟันที่ใช้ ควรใช้แต่น้อยนะคะ
มีข้อแนะนำของการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ว่า สำหรับเด็กๆ แล้วใช้ยาสีฟันนิดเดียวก็พอ เพราะยิ่งใช้น้อยโอกาสที่ลูกกลืนก็จะน้อยตามไปด้วยค่ะ พอโตขึ้นมาอีกหน่อยก็บีบสักเม็ดถั่วเขียว เพื่อไม่
ให้มีฟองมากเกินไปขณะที่กำลังแปรง คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยเช็ดฟองออกด้วย เพราะเด็กเล็กยังบ้วนฟองยาสีฟันที่มากเกินไปไม่ได้ แต่เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่ควรใช้ยาสีฟัน เพราะวัยนี้ยัง
ควบคุมการกลืนได้ไม่ดีนัก อาจเกิดปัญหาเรื่องของการกลืนยาสีฟันได้ค่ะ
ลูกไม่ยอมแปรงฟัน
การแปรงฟันสำหรับเด็กๆ แล้ว บางทีก็เปรียบเสมือนการออกรบเลยค่ะ ทั้งร้อง ทั้งโยเย พยายามต่อรองเพื่อไม่ต้องแปรงฟัน คุณแม่อาจต้องอาศัยเทคนิคกันเล็กน้อยค่ะ ลองเปลี่ยนสนามรบเป็นสนาม
เด็กเล่นดูสิคะ ทำให้เรื่องการแปรงฟันเป็นเรื่องสนุกซะ ด้วยการสร้างบรรยากาศกันเล็กน้อย ต่างคนต่างถือแปรง แล้วแปรงไปพร้อมๆ กัน ยิ่งได้ทำหน้ากระจกด้วยแล้ว เพลิดเพลินไปกันใหญ่ อาจ
แข่งกันแปรงฟันกับลูก ก็เพิ่มสีสันการแปรงได้ดีอีกวิธีหนึ่งค่ะ หรือจะใช้นิทาน ใช้เพลงที่ชักชวนให้ลูกแปรงฟันก็ดีไม่น้อย ที่สำคัญอย่าลืมกล่าวชมทุกครั้งที่ลูกให้ความร่วมมือด้วย
อีกเรื่องหนึ่งที่คุณแม่ต้องใส่ใจคือ อุปกรณ์ในการแปรงอย่างแปรงสีฟัน เพราะเป็นตัวที่ช่วยดึงดูดให้ลูกหันมาสนใจการแปรงฟันได้ดี คุณแม่ควรให้ลูกเลือกแปรงด้วยตัวเอง แต่อาจต้องคอยดูด้วยว่า
แบบที่ลูกเลือกนั้นขนอ่อนนุ่มหรือไม่ จับกระชับมือหรอเปล่า ถ้าลูกคุณเป็นเด็กขี้เบื่อ อาจมีแปรงสัก 2-3 ด้าม เพิ่มความหลากหลายและแก้เบื่อได้
ลูกแปรงฟันไม่สะอาดสักที
คุณแม่ควรฝึกวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องให้ลูกค่ะ วิธีก็คือต้องแปรงให้ทั่วทุกด้าน โดยมี 3 ด้านหลักๆ ที่ต้องดูแล คือ ด้านใน ด้านนอก และด้านที่บดเคี้ยว โดยเฉพาะบริเวณที่มักจะถูกละเลย
อย่างฟันกรามด้านบนที่อยู่ข้างแก้ม และฟันกรามด้านที่อยู่ข้างลิ้น ส่วนขั้นตอนการทำความสะอาดฟันไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ
- แปรงฟันด้านนอกของฟันบน โดยเริ่มจากฟันกรามด้านหลัง แปรงวนมาตรงกลางและย้ายไปแปรงอีกด้านหนึ่งช้าๆ ให้ขนแปรงทำมุมเล็กน้อยกับขอบเหงือก แล้วแปรงวนเป็นวงกลมเล็กๆ
- จากนั้นแปรงด้านในของฟันบน ทำขั้นตอนเดียวกับการแปรงด้านนอก แต่ถือแปรงในลักษณะที่เป็นแนวตั้งและใช้ส่วนหัวแปรงแปรงวนเบาๆ อีกครั้ง
- สำหรับด้านบดเคี้ยว วางแปรงให้ราบกับหน้าตัดของฟัน เพื่อให้ขนแปรงสามารถแปรงเซาะร่องฟันตรงกรามได้ถนัดมากที่สุด
- การแปรงฟันล่าง สามารถทำได้ตามขั้นตอนที่ 1-3 ข้างต้น
เพียงทำตามขั้นตอนเหล่านี้ รับรองว่าฟันสะอาดหมดจดแน่นอน
แปรงฟันทีไรลูกบ่นว่าเจ็บทุกที
มีหลายสาเหตุที่ทำให้ลูกเจ็บขณะแปรงฟัน คุณแม่อาจต้องตรวจดูว่าขนาดแปรงที่ใช้เหมาะกับปากลูกหรือไม่ แปรงที่ใหญ่เกินไปทำให้ลูกเกิดรอยขีดข่วนในปากได้ ขนาดที่เหมาะกับอายุและขนาด
ปากของลูกน่าจะดีที่สุดค่ะ จับง่าย เหมาะกับมือของลูก ส่วนขนแปรงควรเลือกแบบที่อ่อนนุ่ม หากขนแปรงแข็งเกินไป ก็อาจเกิดการเสียดสีกับกระพุ้งแก้มและกลายเป็นแผลได้ นี่อาจจะเป็นสาเหตุ
หนึ่งที่ทำให้ลูกเจ็บ และเกิดทัศนคติที่ไม่ดีกับการแปรงฟัน และวิธีการแปรงที่ไม่ถูกต้อง นับเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกรู้สึกเจ็บขณะแปรงฟันได้เหมือนกัน
อีกเรื่องที่คุณอาจจะมองข้ามไป นั่นคือ อารมณ์ขณะที่คุณหรือคนที่ดูแลช่วยแปรงฟันให้ลูก มาดูประสบการณ์จากคุณแม่ท่านนี้กันหน่อยนะคะ
“ตอนเด็กลูกก็ยอมให้แปรงฟันดีๆ พอ 2 ขวบกว่าเกิดไม่ยอมแปรงขึ้นมา กว่าจะยอมแต่ละครั้งก็นาน อยู่มาวันหนึ่งก็เลยนอนคุยกับเขาดีๆ ถามว่าทำไมไม่อยากแปรงฟัน เขาก็หลุดปากมาว่า
แปรงแล้วเจ็บ ก็เลยถามต่อว่าใครแปรงให้ เขาก็บอกว่าลูกสาวของป้าที่เลี้ยงเขาแปรงให้ เหมือนกับว่าคงจะหงุดหงิดเพราะลูกเรางอแง เขาเลยใส่อารมณ์แล้วแปรงแรงๆ เราก็เลยคุยกับเขาว่าแล้ว
คนอื่นแปรงให้ล่ะเจ็บไหม เขาบอกไม่เจ็บ ก็บอกเขาว่าถ้าอย่างนั้นก็ให้คนอื่นแปรงให้ เราก็เลยพาเขาไปแปรงฟัน แปรงไปคุยไป เขาก็ยอมแต่นั้นมา จนถึงวันนี้จะ 6 ขวบแล้วแปรงฟันเองไม่
เคยงอแง”
ลองหาสาเหตุต้นตอความเจ็บที่เกิดจากการแปรงฟันเหมือนคุณแม่ท่านนี้ดูก่อนนะคะ ว่าลูกเจ็บเพราะอะไร แล้วแก้ปัญหาให้ตรงจุดเท่านั้นเองค่ะ
ได้วิธีเหล่านี้เป็นตัวช่วยแล้ว ก็บอกลาปัญหายี้แปรงฟันของเจ้าตัวเล็กไปเลย ที่ลืมไม่ได้คือควรทำอย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกด้วยนะคะ
Mom’s Experience เทคนิคสร้างความคุ้นเคยกับแปรงสีฟัน
“น้องที่มีพี่เป็นตัวอย่าง จะง่ายกว่าลูกคนแรก เพราะพี่ๆ เป็นผู้ช่วยเหลือที่ดีของคุณแม่นะคะ ถ้าจะแปรงฟันให้น้องก็ชวนพี่ๆ มาแปรงด้วย น้องก็จะทำตามพี่ค่ะ การแปรงฟันเด็กเล็ก ต้องไม่นาน
ไม่เจ็บ และสนุก ทั้งหลอกทั้งล่อ ถ้าไม่ยอมจริงๆ จึงจะบังคับค่ะ ลูกจะเรียนรู้ว่า การแปรงฟันเป็นสิ่งที่ต้องทำทุกวัน เหมือนอาบน้ำกินข้าว” – Maamasafe
“ใช้เทคนิคพาลูกเข้าห้องน้ำมาดูแม่แปรงฟันด้วยทุกครั้งตั้งแต่เพิ่งเริ่มเดินได้ และให้เขาถือแปรงสีฟันของเขาไว้เอง ร่วมกับสื่อเสริมทักษะที่มีเด็กแปรงฟัน เช่น Momy&Me
Lallaby&Goodnight Signing Time My Day เป็นต้น
จากนั้นหลังอาหารทุกมื้อ ก็เอาแปรงสีฟันกับแก้วน้ำ (ใส่น้ำต้มที่เย็นแล้ว) วางไว้ให้ลูกถือแปรงเอง 1 อัน แม่ถือไว้แปรงให้ 1 อัน โดยการนับ 1-10 ให้ลูกอ้าปากกว้างๆ แปรงถึงฟัน
กราม 10 ครั้ง บน-ล่าง โดยนับ 1 แปรงด้านล่าง 2 แปรงบน 3 แปรงล่าง สลับไป เช่น
1-3 จุ่มน้ำ 1 ครั้ง แปรงบน-ล่าง
4-6 จุ่มน้ำ 1 ครั้ง แปรงบน-ล่าง
7-9 จุ่มน้ำ 1 ครั้ง แปรงบน-ล่าง
10 ครั้งสุดท้ายแปรงลิ้นให้ลูกด้วย
ลูกชายวัย 2 ขวบให้ความร่วมมือดี อาจจะมีการดูดน้ำจากแปรงสีฟันบ้าง โยเย้บ้าง แต่ลูกจะรู้ว่าถ้าแม่นับ 1 ลูกจะต้องอ้าปาก และเมื่อถึง 10 ให้การแปรงฟันเสร็จสิ้นทันที พร้อมขอบคุณลูก
ที่ให้ความร่วมมือ เป็นการฝึกวินัยไปในตัว” – แม่น้องเชนท์
ที่มา : MODERNMOM
ข้อมูลจาก :
http://www.108health.com