ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
ปั๊มนมแม่แล้ว...เก็บน้ำนมอย่างไรเพื่อคงคุณค่าน้ำนมไว้ได้ดีที่สุด ?!

ปั๊มนมแม่แล้ว...เก็บน้ำนมอย่างไรเพื่อคงคุณค่าน้ำนมไว้ได้ดีที่สุด ?!


          เพื่อให้ลูกรักกินนมแม่ได้นานที่สุด นอกจากวิธีการปั๊มนมที่คุณแม่มือใหม่หลายท่านอยากทราบแล้ว ขั้นตอนหลังจากปั๊มนมมาได้แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ คุณแม่ควรเก็บน้ำนมอย่างไรเพื่อคงคุณค่าของน้ำนมไว้ได้อย่างดีที่สุด และนอกจากนั้น คุณแม่จะทำการละลายน้ำนมที่เก็บไว้มาใช้อย่างถูกต้องได้อย่างไร มาดูกันเล้ย


เก็บน้ำนมแม่ที่ไหน

          สิ่งสำคัญที่สุดคือภาชนะต้องสะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อ โดยรูปแบบภาชนะอาจเป็นขวดพลาสติก หรือถุงพลาสติกพิเศษ สำหรับเก็บน้ำนมแม่


เก็บนมแม่ได้นานแค่ไหน

          ที่จริงแล้วการแช่แข็งไว้นานๆ อาจจะมีการสูญเสียสารอาหารหรือสารเสริมภูมิต้านทานบางส่วนในน้ำนมแม่ ถ้าเป็นไปได้ น้ำนมที่สดใหม่จะดีที่สุด ในกรณีที่คุณแม่จำเป็นต้องเก็บน้ำนมแช่แข็งไว้ เราขอแนะนำวิธีละลายน้ำนมซึ่งมีหลากหลายวิธี ดังนี้ค่ะ

- นำน้ำนมสต๊อกที่ปั๊มไว้ออกมาจากช่องแช่แข็ง ลงมาแช่ไว้ในช่องเย็นธรรมดา ล่วงหน้าก่อน 1 คืน เพื่อให้น้ำนมค่อยๆ ละลายไปเอง น้ำนมที่เอาลงมาแช่ในช่องธรรมดานี้ หากยังไม่ได้ใช้จะเก็บได้อีกประมาณ 2 – 3 วัน

- เมื่อจะให้ลูกกิน นำออกมาวางไว้นอกตู้เย็น ทิ้งไว้ให้หายเย็น โดยปกติแล้วมักใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือนำไปวางในน้ำอุ่น น้ำนมที่วางไว้นอกตู้เย็นนี้อยู่ได้ประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง

- ไม่ควรนำน้ำนมแช่แข็งปล่อยไว้ละลายเองที่อุณภูมิห้อง แต่หากคุณแม่ต้องการให้นมละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาจนมีอุณภูมิปกติแล้วจึงเปลี่ยนมาแช่น้ำอุ่น

- หากรีบหรือต้องการให้ลูกกินทันที ก็อาจนำไปวางในน้ำอุ่นเพื่อให้หายเย็น และควรผ่านความร้อนให้น้อยที่สุด ไม่ควรใช้น้ำร้อนหรือไมโครเวฟทำนมให้ละลาย เพราะความร้อนจะทำให้สารอาหารที่มีประโยชน์ในน้ำนมสูญเสียไป

- หากสังเกตว่าน้ำนมที่เก็บไว้แยกออกเป็นชั้น นั่นเป็นเพราะไขมันมีการลอยตัวอยู่ด้านบน เวลาจะใช้ให้ค่อย ๆ แกว่งให้เข้ากันแล้วให้ลูกกินได้เลย


เคล็ดลับสุดว้าวว !!

นมสต๊อกที่ไว้ในช่องแช่แข็ง ควรจัดเรียงตามวันและเวลาที่จัดเก็บ และให้นำนมเก่าออกมาใช้ก่อนตามลำดับ

- ถ้าต้องการใช้น้ำนมที่ปั๊มเก็บไว้ภายใน 8 วัน ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ ไม่ต้องแช่แข็ง

- น้ำนมแม่ที่เก็บไว้ในถุงเก็บน้ำนมจะละลายเร็วกว่าเก็บในขวดหรือภาชนะอื่นๆ

- น้ำนมที่นำมาอุ่นแล้ว ถ้าลูกกินไม่หมดให้นำไปทิ้ง ไม่ควรนำกลับมาแช่เย็นหรือให้ลูกกินซ้ำอีก

- น้ำนมแช่แข็งที่นำมาละลาย บางครั้งอาจมีกลิ่นหืน ไม่ได้เสียนะคะ แต่น้ำนมที่เสียจะมีกลิ่นรุนแรงและมีรสเปรี้ยว



ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.hifamilyclub.com และ
https://www.toddlersmile.com/ ค่ะ

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง