โรคหน้าร้อนที่มาพร้อมอากาศร้อนจัดอย่างช่วงนี้ นอกจากจะเกิดความเสี่ยงต่าง ๆ ต่อตัวคุณแม่เองแล้ว
ยังส่งผลกระทบ ต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วย ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคหน้าร้อนที่คุณแม่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง
โรคลมแดด (Heat stroke)
เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป จนไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ทำให้มีอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส รวมถึงการขาดน้ำและเกลือแร่ร่วมด้วยเป็นเวลานาน
อาการ : ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก ต่างจากการเพลียแดดทั่วไปที่จะพบมีเหงื่อออกด้วย กระหายน้ำมาก อ่อนเพลีย เมื่อยล้า คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ความดันต่ำ หน้ามืด หายใจเร็ว หากรักษาไม่ทันท่วงที อาการจะหนักขึ้น จนชัก ไตล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก และเกิดลิ่มเลือดอุดตันจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การป้องกัน :
ภาวะร่างกายขาดน้ำ
มักเกิดพร้อมๆ กับโรคลมแดด เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ร่างกายจะขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ ทำให้ปริมาณของเหลวในร่างกายลดลง เลือดจึงมีความเข้มข้นมากขึ้น ภาวะนี้อาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอ็อกซิโทซิน ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
อาการ : เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม หายใจติดขัด เป็นตะคริว ปริมาณของเหลวที่ออกจากร่างกาย เช่น เหงื่อ และปัสสาวะลดลง อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นโดยไม่มีสัญญาณของอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ
การป้องกัน :
อาหารเป็นพิษ
อาการ : ถ่ายเป็นน้ำ คลื่นไส้อาเจียน มีไข้หนาวสั่น หรือมีอาการปวดบริเวณลำตัวร่วมด้วย ปกติแล้วอาการต่าง ๆ จะหายเองภายใน 3 วันโดยไม่ต้องรักษา แต่อย่านิ่งนอนใจ เพราะหากมีอาการรุนแรง อาจเกิดภาวะช็อกได้
การป้องกัน :
โรคเครียดจากอากาศร้อน
หากอากาศร้อนจัด ส่งผลให้คนท้องที่มักจะมีอารมณ์หงุดหงิดง่ายอยู่แล้ว ยิ่งหงุดหงิดมากขึ้นและเครียด ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อลูกในครรภ์ ทำให้เด็กตัวเล็ก และมีอาการดิ้นมากขึ้น
อาการ : เครียด หงุดหงิดมากขึ้น เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
การป้องกัน :
ถึงแม้ว่าโรคหน้าร้อนจะมีความน่ากลัว แต่คุณแม่ๆ ทั้งหลาย อย่างวิตกจนเกินไปนะคะ หากเราระมัดระวังและปฏิบัติตามอย่างถูกวิธี และรู้ทันโรค ก็จะช่วยให้ผ่านพ้นหน้าร้อนนี้ไปได้ด้วยความแข็งแรงทั้งคุณแม่และคุณลูกค่ะ
Credit information : kapook.com, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, National Institute of Health,konthong.com