จังหวะดนตรีดีกับลูกน้อยอย่างไร ทราบไหม…ทารกตั้งแต่แรกเกิดจะตอบสนองต่อเสียงดนตรีได้ดี เนื่องจากอาจมีจังหวะที่เร้าใจให้อยากฟังทั้งดนตรีแบบคลาสสิก แจ๊ส ซอฟต์ร็อก หรืออื่นๆ มักจะมีจังหวะตีตั้งแต่ 50-150 ครั้งต่อวินาที ซึ่งเป็นจํานวนที่ใกล้เคียงกับเสียงหัวใจเต้นของคนเรานั่นเองค่ะ
ทําไม…จังหวะนี้สําคัญนัก
จังหวะเป็นองค์ประกอบสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองของเด็ก ดนตรีที่มีจังหวะกระชับ รวดเร็ว จะทําให้เด็กคึกคัก สนใจ ส่วนดนตรีที่มีจังหวะ ช้า จะทําให้เด็กสงบ ไม่งอแง เด็กอาจไม่สนใจดนตรีที่มีจังหวะช้าในระยะแรกเพราะต้องใช้สมาธิ หรือต้องใช้ความพร้อมในการฟังมาก แต่ดนตรีที่มีจังหวะช้า ก็เหมาะที่จะใช้เป็นเพลงกล่อมให้นอนได้ดีกว่าดนตรีที่มีจังหวะเร็ว
เสริมจังหวะดนตรี ให้ลูกมีพัฒนาการ
- ก่อน นอนเปิดเพลงที่มีจังหวะช้าให้ลูกฟัง เช่น ซิมโฟนีท่อนที่ 2 หรือคอนแชร์โต ที่มีองค์ประกอบที่ดี มีคลื่นเสียงทําให้คลื่นสมองพัฒนา ทําให้เซลล์ประสาททํางานได้ดีขึ้น สร้างสมาธิ และทําให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีต่อไป
- ขณะที่ลูกตื่นและอยู่ในอารมณ์ร่าเริง เปิดเพลงจังหวะสนุกๆ ให้ลูกขยับแขนขาเคลื่อนไหว
- ตบมือเป็นจังหวะต่างๆ ให้ลูกฟัง แล้วจับฝ่ามือลูกประกบกันเบาๆ เพื่อสอนให้ตบมือตามจังหวะดนตรี
- เล่น เกมร้องเพลงประกอบท่าทางให้ลูกดูและฟัง เช่น “หากว่าเรากําลังสบาย จงตบมือพลัน” แม้ลูกอาจยังฟังไม่รู้เรื่อง แต่ก็ชอบดูคุณแม่ร้องเป็นจังหวะ และทําท่าต่างๆ ต่อไปลูกก็จะรู้และจําได้ถึงแม้ตอนนี้จะยังพูดไม่ได้ก็ตาม
- เพลงที่นํามาให้วัยเบบี๋ฟัง คุณแม่สามารถให้ฟังได้หลากหลายนะคะ ทั้งเพลงคลาสสิก เพลงไทยเดิม หรือเพลงอื่นๆ ที่มีทั้งเพลงร้อง และเพลงบรรเลงควบคู่กันไป เพลงร้องจะช่วยพัฒนาภาษาได้ดี เพลงบรรเลงก็จะช่วยพัฒนาความเข้าใจ ความซาบซึ้งในดนตรี และยังช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ ความรู้สึกของลูกได้ดีด้วยค่ะ
ทุกจังหวะจับใจ…ใช้ให้เกิดประโยชน์
Beat คือ จังหวะของดนตรี หรือจังหวะการเต้นของหัวใจ จํานวนจังหวะใน 1 นาที (Beats per minute หรือ bpm) ในแต่ละบทเพลงจะต่างกัน และสามารถใช้เป็นตัวบอกถึงการเต้นของหัวใจ เช่น
- 70 bpm เป็นจังหวะที่ลดความกังวลใจได้ดี เพราะการเต้นของหัวใจ 60 ครั้งต่อนาที เป็นช่วงที่ร่างกายผ่อนคลายที่สุด เช่น ดนตรีคลาสิกของโมสาร์ท โชแปง
- 100-120 bpm เป็นจังหวะที่กระตุ้นอารมณ์และร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด เช่น ช่าช่าช่า วอลทซ์ โพลก้า
- 120 bpm ขึ้นไป เป็นจังหวะที่กระตุ้นอารมณ์จนต้องลุกขึ้นเต้นระบํา ได้คลายความเครียดและได้เหงื่อด้วย เช่น เพลง Can’t Get You Out of My Head (Kylie Monogue) , Dream On (Depeche Mode)
ข้อมูลจาก : นิตยสาร Mother&Care