น่ารู้ สะดือทารก สะดือทารกสิ่งจำเป็นที่ต้องดูแลและเอาใจใส่กันเป็นพิเศษเพราะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสายใยบางๆ ระหว่างคุณแม่คุณลูกนั่นเอง สะดือทารก ที่ต้องดูแลกันเป็นพิเศษหน่อยเพราะว่าทารกนั้นยังไม่สามารถพูหรือบอกอะไรได้หากมีอาการผิดปกติ ฉะนั้นคุณแม่และคุณพ่อต้องคอยสังเกตและเอาใจใส่ สะดือทารก กันสักหน่อยแล้ว และวันนี้เราก็มีเรื่อง สะดือทารกมาบอกเล่าให้คุณแม่คุณพ่อได้ให้ฟังเพื่อให้ดูแลลูกน้อยเป็นไปอย่างถูกต้องอีกด้วยนะค่ะ นั้นเรามาดูเรื่องสะดือทารกกันเลยดีกว่าค่ะว่าอาการแบบใดถึงเรียกว่าผิดปกติซึ่งคุณแม่และคุณพ่อควรระวังให้กับลูกน้อยและควรทำความสะอาดสะดือทารกและให้ทั่วถึงเพื่อไม่ให้สะดือทารกเกิดการติดเชื้อและหากเกิดอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์
สะดือทารก "สิ่งจำเป็นที่ต้องดูแล"
- สะดือแฉะ สะดือไม่แห้งหรือมีน้ำหยดจากสะดือ เวลาทารกร้องหรือเบ่งเป็นน้ำสีเหลืองหรือเขียวและอาจมีเลือดออกซิบๆ
- สะดืออักเสบ บริเวณรอบๆ ขั้วสะดือบวมแดงและร้อน ลูกร้องกวน เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเหม็นผิดปกติ
- เลือดออกทางสะดือ เมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมาอาจจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ
- สะดือโป่ง สะดือจุ่น เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไปอาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี
ก่อนที่ลูกน้อยจะมีสะดือ อย่างที่กล่าวมาแล้วคุณแม่ควรดูแลสะดือลูกน้อยดังนี้ค่ะ
- คุณแม่หรือคนที่ดูแลควรตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดก่อนการทำความสะอาดสะดือลูก
- เช็ดทำความสะอาดสะดือให้หมดทุกส่วน โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อระหว่างสายสะดือกับบริเวณผิวหนังควรทำทุกครั้งหลังอาบน้ำหรืออย่างน้อยวันละสองครั้ง
- เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ แอลกอฮอล์ 70% เบตาดีน หรือตามที่โรงพยาบาลจัดให้
- การเช็ดทำความสะอาดให้เช็ดวนรอบสะดือของลูกเพียงรอบเดียว ถ้าเห็นว่าสะดือยังไม่สะอาดควรเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่
- ถ้าสังเกตพบว่าสะดือมีกลิ่นเหม็นและผิวหนังรอบสะดือบวมแดงหรือสะดือยังแฉะอยู่หลายวัน หลังจากสะดือหลุดแล้วควรพาลูกมาพบคุณหมอ
สิ่งที่ไม่ควรทำกับสะดือทารก
- กลัวการเช็ดสะดือลูก เพราะการเช็ดไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ ทั้งสิ้น
- เมื่อสะดือใกล้จะหลุดอาจมีน้ำเหลืองหรือเลือดออกห้ามใช้แป้งและยาโรยสะดือ
- ห้ามใช้ยาโรยสะดือทุกชนิด เพราะจะทำให้ดูเหมือนสะดือแห้งดี ส่วนรอยต่อระหว่างสะดือกับผิวหนังหน้าท้องยังแฉะอยู่ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อโดยเฉพาะการติดเชื้อที่กระแสเลือดซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงทำให้ลูกมีความเสี่ยงที่จะถึงแก่ชีวิตได้
- อย่าปล่อยให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่ไม่สะอาดหรือนอนแช่ปัสสาวะ
- ห่อหรือพันผ้าที่สายสะดือ เพราะถ้าผ้าสกปรกจะเกิดการอักเสบติดเชื้อได้มากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Mother&Care ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
ข้อมูลจาก :
http://www.n3k.in.th/แม่และเด็ก/เด็ก/สะดือทารก