ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
คุณแม่หลายๆ คนอาจจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่เจ้าตัวเล็กชัก เพราะ ไข้ขึ้นสูง (Febrile Convulsions)

คุณแม่หลายๆ คนอาจจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่เจ้าตัวเล็กชัก เพราะ ไข้ขึ้นสูง (Febrile Convulsions) คุณแม่หลายๆ คนอาจจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่เจ้าตัวเล็กชัก เพราะ ไข้ขึ้นสูง (Febrile Convulsions) โดยเด็กที่มักมีอาการชักนั้นจะอยู่ในช่วงวัย 6 เดือน-5 ปี ยิ่งในเด็กเล็กขวบปีแรก-3 ขวบยิ่งมีโอกาสเกิดขึ้นสูงค่ะ เนื่องจากสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากไข้ส่วนใหญ่ประมาณ 75% ของเด็กจะชักเมื่อมีอาการไข้ขึ้นสูงตั้งแต่ 39 องศาเซลเซียส ขึ้นไป 

โดยหลักๆ เด็กจะมีอาการเกร็งหรือกล้ามเนื้อกระตุก แต่มักจะเป็นอยู่ไม่นาน ร่วมกับอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เป็นหวัด, เจ็บคอ, ไอ, ท้องเสีย เป็นต้น แล้วต่อมามีอาการแขนขากระตุก ตกค้าง กัดฟัน กัดลิ้น นานครั้ง 2-3 นาที โดยมากจะชักพียง 1-2 ครั้ง ขณะที่ตัวร้อนจัด พอไข้ลงก็จะไม่ชักซ้ำอีก โดยเฉพาะในเด็กที่มีประวัติเคยชักแล้วก็จะมีอาการที่จะชักอีกหากมีไข้ ทำให้คุณแม่ทั้งมือใหม่มือเก่าอดกังวลไม่ได้ เวลาเจ้าตัวเล็กป่วยทีก็ป่วนไปทั้งบ้าน ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติให้ดีค่ะ อย่าตกใจเกินไปซึ่งอาจจะทำให้ลนลานทำอะไรไม่ถูก เผลอๆ อาจจะทำให้ลูกเป็นอันตรายได้เรามาดูวิธีจัดการกับอาการชักของเจ้าตัวเล็กเมื่อมีไข้ขึ้นสูงกันดีกว่าค่ะ 

ลูกมีไข้ขึ้นสูงถึงถึง 39 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้นหรือไม่ 
มี 
ไม่มี 
สาเหตุความเป็นไปได้ 
โรคลมชัก 
ปรึกษาแพทย์ฉุกเฉินเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด 
เช็คอาการเพิ่มเติม 
อาการชักเกินกว่า 5 นาที 
ปรึกษาแพทย์ฉุกเฉินเรียกรถพยาบาลหรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด 

“หมดสติ” “ตัวเกร็ง” “การหยุดชะงักของจังหวะหายใจซึ่งยาวนานถึง 30 นาที และแผ่วลงหลังจากนั้น” “ปัสสาวะและ/หรืออุจจาระราด” “ลูกอาจมีอาการบิดเบี้ยวบนใบหน้า แขน ขา บิดงอ” “ตากลอกกลับ”


การจัดการเบื้องต้น 

คลายเสื้อผ้าลูกออกให้สบายตัว
  • ให้น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาเช็ดตัวให้ลูก เริ่มเช็ดตัวจากหน้าผาก ซอกคอ รักแร้ หลัง หน้าอก บริเวณขาหนีบ ข้อพับ ใช้ผ้า 2 ผื่นสลับกัน 
  • ให้ลูกดื่มน้ำทานยาลดไข้เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายลูกลดลง 
  • ให้ลูกนอนหงาย หันศรีษะไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือนอนตะแคงให้ศรีษะต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย 
  • ถ้ามีน้ำลาย เสมหะหรือเศษอาหารให้เช็ดหรือดูดออก เพื่อป้องกันการอุดตันในทางเดินหายใจของลูก 
  • หากลูกมีอาการชักซ้ำอีกควรพาไปพบแพทย์ทันที 
  • ถ้าเด็กชักจนตัวและริมฝีปากเขียวอยู่นาน ให้เอาปากประกบปากเด็กเป่าปากหลังจากทำให้ทางเดินหายใจโล่งแล้ว


Danger! อาการชักที่ควรพบแพทย์
  • หากเจ้าตัวเล็กมีอาการชักดังต่อไปนี้ซึ่งถือว่าเป็นอาการขั้นรุนแรงคุณพ่อคุณแม่จะนิ่งเฉยไมได้แล้วค่ะ ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลอย่างด่วนที่สุด 
  • ชักติดต่อกันนานเกิน 15 นาที 
  • เวลาชักมีกระตุกเกร็ง เฉพาะซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย 
  • หลังหยุดชักมีอาการเกร็ง ตึง ของแขน ขาซีกใดซีกหนึ่ง 
  • มีการชักซ้ำติดต่อกันหลายๆ ครั้งในการเจ็บป่วยครั้งเดียวกัน

ข้อมูลจาก : http://www.108health.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง