สอนลูกอย่างไรให้ “เก่ง” สอนลูกอย่างไรให้ “เก่ง”
อย่างไรจึงเรียกว่า “เก่ง”
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ปีพ.ศ. 2542 ให้คำนิยามดังนี้
เก่ง = สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคำนวณ เรียนเก่ง เป็นต้น
ฉลาด = เฉียบแหลม ไหวพริบดี ปัญญาดี
อัจฉริยะ = วิเศษอัศจรรย์ มีความรู้ความสามารถเกินกว่าระดับปกติ
ความสามารถในการเรียนรู้ และปรับประยุกต์ประสบการณ์การเรียนรู้นั้นให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับพัฒนาการของสมองในแต่ละช่วงอายุ
เด็กอาจจะเก่งในทุก ๆ ด้าน เก่งหลายด้าน หรือเก่งเพียงบางด้าน เช่น เก่งคำนวณ พูดเก่ง อ่านเขียนเก่ง เล่นกีฬาเก่ง เป็นผู้นำได้เก่ง หรือเก่งทางงานสร้างสรรค์ เช่น เล่นดนตรีเก่ง วาดรูปเก่ง แสดงเก่ง หรือทำงานประดิษฐ์ได้เก่ง จะมีวิธีสังเกตได้อย่างไรว่าลูกเป็นเด็ก “เก่ง”
หากลูกแสดงออกถึงแววอัจฉริยะให้เห็นตั้งแต่เล็ก เช่นสามารถบอกโน้ตเปียโนได้ทันทีที่คุณแม่เล่นเปียโนให้ฟัง คุณแม่ก็พอจะบอกได้ว่าลูกน่าจะเก่งด้านดนตรี แต่ส่วนใหญ่มักจะยากที่จะบอกได้ว่าเด็กจะเก่งหรือไม่ก่อนอายุ 2 ปี และมีถึง 3-5% จะเริ่มฉายแววเก่งเมื่อเริ่มเป็นผู้ใหญ่
โดยทั่ว ๆ ไป หากลูกมีพฤติกรรมดังจะกล่าวต่อไปนี้ น่าจะบ่งบอกว่าเป็นเด็ก “เก่ง” เช่น
- มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้เร็วและมีความจำดี
- ชอบที่จะใช้ความคิด
- สนใจอยากรู้อยากเห็นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
- แสดงความอยากรู้อยากเห็นด้วยความคิดที่ลึกซึ้งกว่าอายุ
- คอยถามโน่นถามนี่กับคุณแม่บ่อยๆ
- มีวุฒิภาวะดีกว่าเด็กอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน
- มีความสามารถในการใช้ภาษา ใช้คำศัพท์ต่างๆได้ดี และสนใจการอ่านหนังสือมาก ๆ
- ชอบทำการทดลองเพื่อหาคำตอบในการแก้ปัญหา
- เป็นเด็กที่มีความไวในการรับรู้ต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว
- มีความเมตตา กรุณาและเห็นอกเห็นใจคนอื่นและสัตว์เลี้ยง
- มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาต่างๆได้ดี
- ชอบเกมที่ท้าทายทางความคิด เช่น เกมทางปัญหา เกมตัวเลข เกมหมากกล ฯลฯ
- มีจินตนาการที่ค่อนข้างแจ่มชัด เช่น เล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟังได้ว่า โตขึ้นเขาอยากเป็นนักบินจะได้ขับเครื่องบินเจ๊ต จะเรียนให้เก่ง ๆ ฯลฯ
- มีช่วงสมาธิที่ดีและยาวนานกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
- สามารถเล่นหรือทำอะไรที่ต้องการสมาธิได้ดี
- บางทีอาจมีท่าทีท้าทายโต้แย้งผู้ใหญ่
- บางครั้งจะมีท่าทีเบื่อง่ายถ้าต้องทำในสิ่งที่ง่ายเกินไป หรือไม่ท้าทายพอ
- ดูเหมือนมีพลัง มีความกระตือรือล้นในตัวค่อนข้างมาก
ถ้าลูกมีทักษะดังกล่าวข้างต้นอยู่หลายข้อ ควรปรึกษาคุณครูหรือกุมารแพทย์เพื่อจะได้พัฒนาความสามารถพิเศษของลูกได้ อย่างเต็มที่ พ่อแม่ควรสังเกตและค้นหาศักยภาพในตัวลูกให้พบโดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้ลูกได้ลอง และสนับสนุนให้ลูกได้เรียนรู้ให้เต็มที่ตามความสนใจและความถนัดของลูก
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของ
รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ วิชาการดอทคอม
ที่มา
www.hospital.tu.ac.th
พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์
ข้อมูลจาก :
http://www.vcharkarn.com