น้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นเท่าใด เมื่อใกล้กำหนดคลอดในหญิงที่มีน้ำหนักตัวพอเหมาะกับส่วนสูง ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 10-15 กิโลกรัม
โดยมีการเพิ่มน้ำหนักของตัวตามระยะการตั้งครรภ์ดังนี้
- ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนักหรืออาจจะขึ้นเล็กน้อย
- ในช่วง 3-6 เดือนของการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเดือนละ 1-1.5กิโลกรัม
- ในช่วง 3 เดือนสุกท้าย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเดือนละ 2 กิโลกรัม
การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวในระยะ 3 เดือนสุดท้าย มีผลต่อการคลอด และมีผลต่อน้ำหนักตัวของลูก ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากจะทำให้คุณอ้วนเกินไป และอาจมีผลทำให้คุณหายใจลำบากขณะเบ่งคลอด และอาจทำให้ตัวลูกใหญ่เกินกว่าช่องเชิงกรานของคุณเอง ทำให้คลอดทางช่องคลอดไม่ได้ หรือคลอดยากและต้องใช้เครื่องช่วงคลอด ซึ่งเป็นอันตรายต่อคุณและลูก ในทางกลับกัน ถ้าน้ำหนักตัวของคุณไม่เพิ่มขึ้นเลยหรือเพิ่มขึ้นน้อยใน 3 เดือนสุดท้าย อาจทำให้ลูกในครรภ์ขาดสารอาหารได้ เมื่อลูกคลอดออกมาสมองจะเล็กกว่าเด็กทั่วไป ร่างกายทั่วไปจะผอมและขาดสารอาหาร ถึงแม้ลูกของคุณจะทานนมชดเชยให้มากเพียงใดก็อาจจะไม่สมบูรณ์เช่นเด็กทั่วไป
จึงควรหมั่นชั่งน้ำหนักตัวทุกระยะของการตั้งครรภ์ ถ้าน้ำหนักตัวขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์ ควรทำปัญหานี้ปรึกษาหมอ หมอจะตรวจหาสาเหตุต่างๆ ถ้าไม่พบสาเหตุใดๆ ก็น่าจะเกิดจากการทานอาหารที่ให้พลังงานไม่เพียงพอ หมอจะแนะนำให้ทานอาหารที่มีไขมันมากขึ้น เช่น ข้าวไข่เจียว ไข่ดาว ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู หรือเนื้อสัตว์ทอดต่างๆ เป็นต้น และในกรณีที่น้ำหนักตัวขึ้นมากและเร็วเกินไป หมอจะแนะนำให้คุณลดไขมันในอาหารต่างๆ ลด แต่ไม่ใช่ลดจำนวนอาหาร ควรเปลี่ยนมาดื่มนมชนิดพร่องมันเนย ไม่ควรทอดเนื้อสัตว์ เนื้อปลาต่างๆ ด้วยน้ำมัน แต่ควรนึ่ง แทนการทอดน้ำมัน ข้อสำคัญที่สุดในการควบคุมน้ำหนักคือทานอาหารให้ครบทุกหมู่และชนิด แต่ควรมีไขมันต่ำ
ข้อมูลจาก :
http://www.maedek.net/