คำถามอะไรเอ่ย เร่งพัฒนาการสมอง "อะไรเอ่ยสี่ตีนเดินมาหลังคามุงกระเบื้อง" คำถามง่าย สนุก ๆ อย่างนี้ เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาลูก ๆ ของคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดี สร้างลักษณะนิสัยการแก้ปัญหาโดยใช้ความคิด ไหวพริบปฏิพาน ถึงแม้ว่าคำถามประเภทอะไรเอ่ยหรือปัญหาเชาวน์จะมีมาตั้งแต่โบราณแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ิเพิ่งจะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการด้าน IQ ของเด็กกับปัญหาเชาวน์
ในสมัยก่อนนั้นคนโบราณไม่มีวิธีวัดความฉลาดของคนทางวิทยาศาสตร์ นอกจากจะใช้การสังเกตเท่านั้น กระนั้นก็ตามปัญหาเชาวน์ก็มิได้เป็นวิธีอย่างเป็นทางการในการประเมินคน หรือวัดความสามารถของบุคลากรทางด้านสติปัญญา
แต่ในปัจจุบัน ปัญหาเชาวน์หรือคำถามประลองสมอง ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและพัฒนาความสามารถทางด้านสภาวะจิตของเด็กพิการ คำถามลองปัญญา ปัญหาเชาว์ หรือคำถามอะไรเอ่ยนั้นไม่ได้ยากเกินไปสำหรับเด็ก ๆ และยังแฝงความสนุกและความท้าทาย
IQ ในความหมายทั่ว ๆ ไปก็คือการคำนวณประมาณเป็นหน่วยและเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของคนอื่น ๆ ว่าบุคคลนั้นสูงหรือต่ำกว่าเส้นโค้งค่ามาตรฐานเพียงใด
โดยทั่วไปแบบทดสอบจะประกอบด้วยคำถามและปัญหาเชาวน์ โดยที่มีบางข้อถูกออกแบบเป็นพิเศษเพื่อที่จะค้นหาว่าบุคลิกภาพของเด็กคนนั้นเป็นอย่างไร แต่ทุก ๆ ข้อจะใช้วิธีการเดียวกันในการประเมินผล โดย IQ จะมีค่ากลางคือ 100 และจะมีช่วงเบี่ยงเบนได้ไม่เกิน 15 คะแนน ดังนั้นค่ากลางก็จะมีช่วงระหว่าง 85-115 คะแนน
บางครั้งเด็กบางคนจะเรียนช้ากว่าคนอื่น ดังนั้น ค่าแตกต่างในการวัด IQ จึงเป็นเรื่องปรกติ คำถามประลองสติปัญญาหรือปัญหาเชาวน์บ่อยครั้งจึงเป็นส่วนเสริมเติมเต็มให้แก่กิจกรรมของนักศึกษา เพื่อทำให้เกิดความสนใจในการเรียนการสอน ช่วยพัฒนาความสามารถ และสติปัํญญาเร็วขึ้นและต่อเนื่องมากขึ้น
หลังจากการทำการทดลองเพื่อการศึกษาพัฒนาทางด้าน IQ ในเด็ก นักวิจัยพบว่าขอบเขตคะแนนของเด็กอยู่ระหว่าง 45-155 ซึ่งมีความแตกต่างสูงมากกว่า 3 เท่า ซึ่งเหตุผลในการลดลงของคะแนนในเด็กเหล่านี้เป็นผลมาจากความท้าทาย หรือประหม่าของปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อน แต่หลังจากที่เด็ก ๆ เข้าใจความหมายของการทดสอบแล้ว คะแนนก็กลับมาอยู่ในระดับปรกติ
แม้ว่าการวัด IQ ในเด็กจะถูกนักวิชาการหลายท่านมองว่าเป็นการมองความฉลาดที่แคบเกินไป แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้ว ก็ไม่มีอะไรจะสนุกไปกว่าการเฉลยว่าแท้จริงแล้วคำตอบคืออะไรเวลาถามปัญหาเชาวน์ และสำหรับคุณพ่อและคุณแม่และญาติผู้ใหญ่แล้วก็จะสามารถสนุกไปกับเด็ก ๆ ได้ด้วย
ข้อมูลจาก :
www.parents2child.com