ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
ดูด... ให้เกลี้ยงเต้า

ดูด... ให้เกลี้ยงเต้า คุณแม่เคยสังเกตมั้ยคะ ว่าทุกครั้งที่ให้ลูกดูดนมนั้น ลูกดูดจนเกลี้ยงเต้าหรือเปล่า ถ้าไม่ล่ะก็ต้องทำโดยด่วน เพราะน้ำนมก้นเต้านั้นมีสิ่งดีๆ ที่มีประโยชน์กับเจ้าตัวเล็กอย่างมากมาย 

คุณธิดารัตน์ วงศ์สุทธ์ หัวหน้าพยาบาลคลินิกเลี้ยงลูกด้วยแม่ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บอกถึงความสำคัญของการดูดน้ำนมจนเกลี้ยงเต้า ดังนี้ค่ะ 

ของดี...อยู่ที่ก้นเต้า 

น้ำนมก้นเต้าหรือน้ำนมส่วนหลัง (Hind Milk) จะมีไขมันในปริมาณสูงมากถึง 2-5 เท่า ของน้ำนมส่วนหน้า (Fore Milk) ซึ่งไขมันตัวนี้จะไปเสริมการพัฒนาของสมองและสายตาของเจ้าตัวเล็ก อีกทั้งยังมีน้ำย่อยไลเปสจะที่ช่วยย่อยไขมันในขณะที่ลูกยังไม่สามารถสร้างน้ำย่อยเอง และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมเด็กที่กินนมแม่จึงท้องไม่ผูกค่ะ 

แต่ก่อนที่ลูกจะดูดไปถึงน้ำนมก้นเต้า ก็ต้องผ่านน้ำนมส่วนหน้าซึ่งมีสารอาหารทั้งเกลือแร่ วิตามิน โปรตีน และน้ำตาล ซึ่งถ้าลูกดูดนมได้เกลี้ยงเต้าทุกครั้งจะทำให้ลูกมีน้ำหนักขึ้นดีอิ่มนานขึ้น และนอนหลับได้นาน 

ที่สำคัญน้ำนมแม่จะมีส่วนย่อยง่ายถึง 65% เมื่อเทียบกับนมวัวที่มีส่วนย่อยง่ายเพียง 20% เท่านั้น แต่กลับมีส่วนย่อยยากถึง 80% เด็กจึงอิ่มได้นาน แต่อุจจาระแข็ง และท้องผูกค่ะ 

เตรียมตัวก่อนดูดให้เกลี้ยงเต้า 
ธรรมชาติของเด็ก เมื่อนอนเต็มอิ่ม พอตื่นขึ้นก็เริ่มหิว เริ่มบิดตัว อ้าปากอยากกินนมคุณแม่จึงควรให้เขาอึ ฉี่ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เรียบร้อยก่อน จะได้ไม่ต้องพะวงเรื่องนี้ค่ะ 

หลังจากคุณแม่ก็เตรียมความพร้อมของตัวเองให้อยู่ในอารมณ์ที่ดี อิริยาบถที่สบายผ่อนคลายตัวเอง เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ฮอร์โมนออกซิโตซินทำงาน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการคัดหลั่งน้ำนมได้ดีค่ะ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณแม่เครียด อารมณ์ไม่ดี ฮอร์โมนตัวนี้จะไม่ทำงานตามไปด้วย น้ำนมก็จะออกน้อยด้วยค่ะ 

วิธีให้ลูกดูดจนเกลี้ยงเต้า วิธีให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงจนถึงก้นเต้านั้นได้ไม่ยากเลยค่ะ ดิฉันเชื่อว่าคุณแม่หลายคนก็คงทำอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณแม่ไม่มั่นใจว่าเจ้าตัวเล็กของคุณดูดได้เกลี้ยงเต้าหรือเปล่า ดิฉันมีคำแนะนำค่ะ 

1. สำหรับคุณแม่ที่มีน้ำนมค่อนข้างเยอะ ก่อนให้ลูกดูดนมทุกครั้งบีบทิ้งนิดหน่อยนะคะเพื่อให้ลูกดูดนมได้เกลี้ยงพอดี 

2. คุณแม่จะเปลี่ยนจากการบีบทิ้งมาเป็นบีบแล้วเก็บเข้าตู้เย็นก็ได้ค่ะ เผื่อไว้ยามฉุกเฉินเพราะน้ำนมสามารถเก็บไว้ได้นาน 

3. คุณแม่จะให้ลูกดูดเลยโดยไม่บีบก็ทิ้งได้ค่ะ เผื่อไว้ยามฉุกเฉินเพราะน้ำนมสามารถเก็บไว้ได้นาน 

4. วิธีที่ดีที่สุดควรให้ลูกดูดให้เกลี้ยงทีละเต้า เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม 

5. ลักษณะการอุ้มของคุณแม่มีส่วนทำให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้าค่ะ ดังนั้นไม่ว่าคุณแม่จะให้ลูกกินนมในท่านั่งหรือท่านอน ปากลูกต้องเปิดกว้าง เพื่ออมหัวนมให้ลึกที่สุดจนคางแนบเต้าจมูกชิดหรือแตะเต้านม ริมฝีปากบนและล่างบานออก ขณะที่ลูกดูดถ้าลูกใช้ลิ้นรีดน้ำนมได้ดีเต้านมจะถูกดึงตามแรงดูดด้วย ถ้าปากลูกเม้มอยู่ จะทำ 

6. อารมณ์ของคุณแม่มีส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำนมไหลดี และลูกสามารถดูดได้เกลี้ยงเต้าเพราะฉะนั้นทุกครั้งก่อนให้นมลูก สำรวจอารมณ์ตัวเองว่าดีอยู่เสมอ รู้สึกผ่อนคลายมีความสุข เพราะลูกสามารถสัมผัสความรู้สึกเหล่านี้ได้ขณะที่ดูดค่ะ ถ้าคุณมีความสุขลูกก็ได้รับความสุขไปด้วย 

เกลี้ยยงหรือไม่เกลี้ยง 
วิธีการดูว่านมได้เกลี้ยงเต้านั้นสังเกตได้ดังนี้ค่ะ 
-ก่อนจะให้ลูกดูดนมทุกครั้งคุณแม่จะสังเกตได้เลยว่าเต้านมจะตึงมาก บางคนตึงจนถึงขั้นเจ็บหรือที่เรียกว่านมคัดนั่นเอง 
-หลังให้ลูกดูดนมเสร็จแล้วสังเกตง่ายๆ คือ เต้านมนิ่มลงทั้งเต้าอาการเจ็บตึงที่เต้านมก็หายไปด้วยค่ะ 
-ถ้าคุณแม่ไม่แน่ใจลองเอามือบีบเต้านมดูก็ได้ค่ะ จะรู้สึกได้ว่าน้ำนมไม่พุ่งออกเหมือนตอนที่เต้านมคัด และจะมีน้ำนมออกมาเพียงหยดสองหยดเท่านั้น 

ถ้าลูกดูดไม่เกลี้ยงเต้า ? 

ถ้าเจ้าตัวเล็กดูดนมไม่เกลี้ยงเต้า อาจทำให้เขาได้รับน้ำนมส่วนหน้าที่มีไขมันน้อยและมีน้ำตาลมาก ซึ่งน้ำตาลส่วนที่เหลือจากการดูดซึมไปใช้ จะทำให้ลูกท้องอืดและเมื่อถูกขับจะขับไปที่ลำไส้ส่วนล่างและไปดูดซับเอาน้ำในร่างกาย ทำให้ถ่ายอุจจาระปนน้ำบ่อยครั้งกว่าปกติคุณแม่หลายท่านคิดว่าลูกท้องเสีย ซึ่งอาการที่ว่าจะหายเมื่อลูกดูดนมได้เกลี้ยงเต้า คือ ได้รับไขมันจากน้ำนมส่วนหลังในมื้อต่อไปค่ะ 

ส่วนคุณแม่ที่ลูกดูดนมไม่เกลี้ยงเต้า อาจทำให้มีก้อนแข็งๆ อยู่ในเต้านมได้ จึงควรให้ลูกดูดบ่อยๆ และใช้มือนวดคลึงบริเวณนั้นเบาๆ ก้อนแข็งๆ ก็จะค่อยๆ หายไป แต่หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดการอักเสบได้ค่ะ

เห็นมั้ยค่ะ ว่าการให้ลูกดูดนมจนเกลี้ยงเต้านั้น มีความสำคัญมากแค่ไหน ได้รู้อย่างนี้แล้ว มื้อต่อไปคงไม่ลืมนะคะ 
[ ที่มา...นิตยสารรักลูก ปีที่ 25 ฉบับที่ 297 ตุลาคม 2550 ] 
ข้อมูลจาก : http://www.sudrak.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง