ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
วิธีเล่นกับลูกในครรภ์ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ


 

วิธีเล่นกับลูกในครรภ์ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ
 

การเล่นกับลูกตั้งแต่อยู่ในท้องนอกจากจะช่วยทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณแม่กับเจ้าตัวน้อยแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นการกระตุ้นพัฒนาการให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้องได้อีกด้วย เพราะตั้งแต่อายุครรภ์ 2 – 3 เดือน ขึ้นไป เจ้าตัวน้อยจะเริ่มรับรู้ถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว และเมื่อมีอายุครรภ์ 5 – 6 เดือน ขึ้นไป ประสาทสัมผัสของเขาจะสามารถรับรู้ได้เกือบทั้งหมด ดังนั้นการเล่นกับลูกในท้องเป็นประจำจึงกลายเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้เป็นอย่างดี

 

1. หมั่นพูดคุยหรือเล่านิทานให้ลูกฟัง


      ในช่วง 2 – 3 เดือน ขึ้นไป เจ้าตัวน้อยจะสามารถได้ยินเสียงของคุณแม่ เพราะฉะนั้นหมั่นพูดคุยกับเขา ไม่ว่าจะเล่าเรื่องราวต่างๆ เล่านิทาน หรือจะชวนคุณพ่อมาพูดคุยกับลูกได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการพูดคุยกับลูกตั้งแต่อยู่ในท้องจะช่วยเสริมสร้างทักษะในการได้ยินได้เป็นอย่างดี


2. เล่นดนตรีหรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง


      ให้คุณแม่หมั่นเปิดเพลงหรือดนตรีที่ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลายให้ลูกน้อยฟัง หรือคุณแม่จะฮัมเพลงตามไปด้วยก็ได้ ซึ่งการเปิดเพลงให้ลูกในท้องฟังบ่อยๆ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านการฟังและยังช่วยทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่อารมณ์ดี เพราะมีดนตรีอยู่ในหัวใจตั้งแต่อยู่ในท้องนั่นเอง


3. ใช้ไฟฉายเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก


      ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ก็สามารถเล่นกับลูกได้ด้วยการใช้ไฟฉายส่องไปยังบริเวณท้อง เพื่อให้เจ้าตัวน้อยรับรู้ได้ว่ามีแสงส่องเข้ามา ซึ่งเขาจะตอบสนองด้วยการดิ้นหรือเตะท้อง โดยวิธีการนี้จะช่วยกระตุ้นการมองเห็นและทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายไปในตัว (ไม่ควรใช้ไฟฉายที่มีแสงจ้ามากจนเกินไป)


4. นวดท้องเบาๆ กระตุ้นสัมผัสลูกในท้อง


     การนวดท้องเบาๆ จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้คุณแม่สุขภาพดีขึ้นด้วยนะคะ เพราะจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ คลายความเครียด และการนวดท้องเบาๆ ด้วยความรักนี้ยังช่วยเพิ่มฮอร์โมน“ออกซิโทซิน” ที่เป็นฮอร์โมนแห่งความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกอีกด้วยค่ะ


5. เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ

 
     การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ด้วยท่าออกกำลังกายที่เหมาะสม จะส่งผลดีต่อพัฒนาการของลูกน้อยและคุณแม่ไปพร้อมๆ กัน เช่น ท่าโยคะสำหรับคนท้อง ขณะที่คุณแม่เคลื่อนไหวลูกก็จะสามารถรับรู้ได้ และยังช่วยให้คุณแม่แข็งแรงคลอดง่ายอีกด้วยค่ะ



เรียบเรียงข้อมูลจาก
https://women.trueid.net/
และ
https://morkookids.com/

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ความเชื่อและความจริงสำหรับแม่ท้อง
ความเชื่อและความจริงสำหรับแม่ท้อง
โรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่ควรต้องรู้
โรคระบบทางเดินหายใจในเด็กที่ควรต้องรู้