เบาหวานในเด็ก อันตรายกว่าที่คิด
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเบาหวานเป็นโรคในผู้ใหญ่ แต่ในความเป็นจริงโรคเบาหวานในเด็กก็สามารถเกิดได้เช่นกัน โดยเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามปกติ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง และร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งหากเป็นเบาหวานที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้
ชนิดของโรคเบาหวานในเด็ก
เบาหวานที่พบบ่อยในเด็กมี 2 ประเภท ได้แก่
เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ตามปกติ เกิดจากมีภูมิต้านทานตนเองมาทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ้อนทำให้ผลิตอินซูลินไม่ได้จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานในเด็กที่พบได้น้อยกว่าชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ต้องการอินซูลินในปริมาณมากกว่าปกติร่วมกับมีความบกพร่องของการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน มักพบในเด็กโรคอ้วน ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่วมด้วย
อาการเบาหวานในเด็ก
มีอาการสำคัญ คือ ดื่มน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน หรือปัสสาวะรดที่นอน กินเก่ง แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มองเห็นไม่ชัด ถ้ามีอาการรุนแรงจะพบภาวะเลือดเป็นกรด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หายใจหอบลึก ซึม ภาวะขาดน้ำจนช็อก หมดสติได้ สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะมีอาการช้าๆ ไม่รุนแรง และมีภาวะอ้วนร่วมด้วย พบมีการดื้อต่ออินซูลิน เช่น มีรอยดำและหนาขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับ คล้ายกับขี้ไคล
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 1 มักมีปัจจัยจาก พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส ทำให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิต้านทานไปทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้สร้างฮอร์โมนอินสซูลินได้ไม่เพียงพอ
เบาหวานชนิดที่ 2 มักมีปัจจัยจากพันธุกรรม เชื้อชาติ ภาวะอ้วน ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ
การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเด็ก
พิจารณาตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเด็กอ้วนที่มีอายุมากกว่า 10 ปี หรือเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว ที่มีปัจจัยเสี่ยง 2 ใน 4 ข้อดังนี้
การรักษาโรคเบาหวานในเด็ก
โรคเบาหวานในเด็กนั้นถ้าปล่อยไว้จะเกิดผลกระทบคือ ในภาวะฉุกเฉิน ทำให้เลือดเป็นกรด อ่อนเพลีย ซึม หายใจหอบลึก ขาดสารน้ำ เกลือแร่ในร่างกาย และในระยะยาว น้ำตาลในเลือดที่สูง ทำให้ไตเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดหัวใจตีบ ในอนาคตได้
การป้องกันโรคเบาหวานในเด็ก
ในวัยทารก ให้ทานนมแม่ หลังจากนั้นเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ปริมาณพอเหมาะ เลี่ยงขนม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอรวมทั้ง ติดตามน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามอายุและเพศ
เรียบเรียงข้อมูลจาก https://www.nakornthon.com/
และ https://www.phyathai.com/