ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
โรค IPD ภัยใกล้ตัวลูกน้อย ที่พ่อแม่ควรระวัง!!


 

โรค IPD ภัยใกล้ตัวลูกน้อย ที่พ่อแม่ควรระวัง



         โรค
IPD หรือชื่อเต็มคือ Invasive Pneumococcal Disease เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae ที่เรียกกันทั่วไปว่า นิวโมคอคคัส เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ , หลอดลมอักเสบ , โรคติดเชื้อในกระแสเลือด และเยื่อบุสมองอักเสบ ซึ่งหากเกิดในเด็กอาการจะรุนแรงมากถึงขั้นทำให้ลูกน้อยพิการหรือเสียชีวิตได้

 

ลูกน้อยสามารถติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ผ่านทางการหายใจ การใกล้ชิด สัมผัสผู้ป่วยโดยตรงสามารถรับเชื้อได้ ไม่ต่างจากโรคหวัด (ทุกช่วงอายุสามารถติดเชื้อได้ หากร่างกายไม่แข็งหรือภูมิคุ้มกันต่ำ) โดยโรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ และผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วย

 

อาการที่ควรเฝ้าระวัง แบ่งเป็นการติดเชื้อตามระบบต่างๆ ในร่างกายดังต่อไปนี้

 

ติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ จะมีอาการดังนี้

 

  • มีไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • หายใจเหนื่อย หอบ

 

ติดเชื้อที่ระบบประสาท หรือเชื้อลุกลามไปยังระบบประสาทจะมีอาการดังนี้

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • อาการชักเกร็ง พบได้ในเด็กเล็ก

 

ติดเชื้อในกระแสเลือด

 

  • มีไข้สูง
  • หายใจเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว
  • หัวใจเต้นเร็ว โดยไม่มีสาเหตุ
  • บางรายที่มีอาการรุนแรง อาจช็อกหรือเสียชีวิตได้

 

สามารถป้องกันโรค IPD ได้ดังนี้

 

- รักษาสุขอนามัยด้วย การล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่คนเยอะ แออัด หากเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลดการรับเชื้อ

- ฉีดวัคซีนป้องกัน IPD สามารถป้องกันได้ตั้งแต่เด็ก เพราะในเด็กเล็กนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อ เพราะร่างกายกำลังเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงมากเท่าผู้ใหญ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว

โดยวัคซีนนี้ ต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม เริ่มตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป เข็มต่อไปเมื่ออายุ 4 เดือน และ 6 เดือนจนครบ หากมีความเสี่ยง ต้องการฉีดกระตุ้นก็สามารถทำได้เมื่ออายุ 12-15 เดือน




ขอบคุณข้อมูลจาก 
https://www.paolohospital.com/

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง