ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
บทความ
แบ่งปัน
โมสาร์ท เอฟเฟกต์” เสียงที่กระตุ้นการทำงานของสมองคุณ
โมสาร์ท เอฟเฟกต์” เสียงที่กระตุ้นการทำงานของสมองคุณ เชื่อหรือไม่ว่านอกจากใช้เสียงเพื่อการสื่อสารแล้ว เสียงยังมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของสมองอีกด้วย จากการศึกษาของนักวิชาการตะวันตกทำให้เราทราบว่าเสียงที่มีความถี่สูงๆ นั้นมีผลที่จะกระตุ้นให้การทำงานของสมองดีขึ้น ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “โมสาร์ท เอฟเฟกต์” (Mozart Effect)

ทั้งนี้ อัลเฟรด เอ โทมาติส (Alfred A. Tomatis) แพทย์ชาวฝรั่งเศสได้ศึกษาพบว่าดนตรีสามารถใช้พัฒนาการสื่อสารของมนุษย์ได้ โดยเขาศึกษาบทเพลงของ โวล์ฟกัง อมาดิอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) คีตกวีชาวออสเตรียและประดิษฐ์คำว่า "โมสาร์ทเอฟฟเฟกต์" ขึ้น และในปี 1993 ดร.กอร์ดอน ชอว์ (Dr.Gordon Shaw) และ ดร.ฟรานเซส เราสเชอร์ (Dr.Frances Rauscher) นักฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) ก็ศึกษาพบว่าดนตรีของโมสาร์ทมีส่วนช่วยให้ความสามารถในเชิงตรรกะและความจำของมนุษย์ดีขึ้น

รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้อำนวยการวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่ารอบตัวเราเต็มไปด้วยเสียงซึ่งล้วนมีอิทธิพลต่อคนเรา เสียงจำแนกตามความน่าฟังได้ 2 ประเภทคือเสียงที่น่าฟังและเสียงที่น่ารำคาญ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเสียงที่ไพเราะจะเป็นเสียงที่น่าฟังเสมอไป เพราะหากเราไม่อยากฟังเสียงนั้นก็เป็นเสียงน่ารำคาญได้ ส่วนเสียงดนตรีแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เสียงดนตรีของจักรวาล ได้แก่ เสียงลม น้ำ เสียงดนตรีที่อยู่ในตัวมนุษย์ เช่น เสียงพูด และเสียงดนตรีที่ออกมาจากเครื่องดนตรี ซึ่งเป็นเสียงดนตรีในความหมายปัจจุบันที่ยอมรับกัน

ในด้านอิทธิพลของเสียงนั้น รศ.ดร.สุกรีกล่าวว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวมีผลต่อการแสดงออกของคนๆ หนึ่งได้ และโดยแท้จริงแล้วเด็กเป็นลูกของสิ่งแวดล้อม รอบตัวของเด็กเป็นอย่างไรก็จะส่งผลให้เด็กเป็นอย่างนั้น พร้อมทั้งยกตัวอย่างเช่นเด็กที่เกิดมาท่ามกลางการพูดแบบสำเนียงสุพรรณ เด็กคนนั้นก็จะติดสำเนียงสุพรรณไปตลอดชีวิต เป็นต้น

ส่วนในทางการแพทย์นั้น นพ.อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์ด้านการส่งเสริมพัฒนาเด็กและการอ่านกล่าวว่ามีการใช้เสียงเพื่อการบำบัดทางด้านจิตเวชมานานแล้ว และเสียงยังมีอิทธิพลกับเด็กตั้งแต่ในท้อง โดยเสียงแรกที่เด็กได้ยินคือเสียงเต้นของหัวใจแม่ซึ่งเต้นเป็นจังหวะ จึงน่าจะเป็นเหตุผลว่าคนเราถูกสร้างมาให้ขึ้นจังหวะ และเสียงที่มนุษย์ได้ยินนั้นมีความถี่ 20 เฮิรตซ์ -20,000 เฮิรตซ์ ทำให้เราสามารถที่จะจำแนกเสียงแต่ละอย่างได้และทำให้เราเกิดการเลียนเสียงและสื่อสารได้จึงเป็นที่มาของการเรียนรู้ อีกทั้งเสียงพูดคุยของแม่ยังเป็นเสียงที่กระตุ้นการเจริญของสมองเด็กที่ดี

สำหรับเหตุผลที่เสียงเพลงของโมสาร์ทมีอิทธิพลต่อสมองนั้น นพ.อุดม กล่าวว่าเป็นเพราะเพลงของโมสาร์ทเป็นเพลงที่มีความถี่ค่อนข้างสูง ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าเสียงที่ความถี่สูงช่วยกระตุ้นการเชื่อมต่อของปลายประสาททำให้การทำงานของสมองดีขึ้น

นพ.อุดมเล่าเพิ่มเติมว่านักวิจัยเชื่อว่าเสียงเพลงของโมสาร์ทนั้นเกิดจากการทำงานของประจุไฟฟ้าในสมองโมสาร์ทที่ซับซ้อน ก่อนจะแปลเลี่ยนเป็นโน้ตเพลง ดังนั้นการเปลี่ยนตัวโน้ตของโมสาร์ทกลับไปเป็นเพลงซึ่งความถี่ของเสียงเพลงโมสาร์ทนั้นน่าจะช่วยกระตุ้นการทำงานของประจุไฟฟ้าของสมองได้

อย่างไรก็ดี รศ.ดร.สุกรีกล่าวว่าเพลงไทยหรือเสียงดนตรีอื่นๆ ก็อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้เช่นกัน แต่ขณะนี้ยังไม่ใครศึกษาและต้องใช้เวลาอีกพอสมควร ดังนั้นหากใครอยากใช้ดนตรีในการช่วยบำบัดก็มีเพลงของโมสาร์ทเป็นตัวเลือกแล้ว อีกทั้งโดยส่วนตัว รศ.ดร.สุกรีเชื่อว่าเสียงเพลงที่เราชอบก็น่าจะเป็นอีกตัวเลือกในการใช้ดนตรีกระตุ้นการทำงานของสมอง

สำหรับบทเพลงของโมสาร์ทนั้น ขณะนี้ทางบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผลิตชุดเพลงของโมสาร์ทออกมาจำหน่ายแล้ว โดยได้ผลิตซีดีเพลงโมสาร์ทสำหรับคนทั่วคนไปขึ้นมา 1 ชุด และจะผลิตซีดีเพลงสำหรับเด็กในครรภ์จนถึงเด็กเล็กขึ้นอีก 2 ชุดในเร็วๆ นี้ ซึ่งมีวางจำหน่ายในศูนย์หนังสือของซีเอ็ดทั่วประเทศ
  
 ข้อมูลจาก : http://www.thaifamilylearning.com
เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
items ต้องมี! ช่วยหนูน้อยฝึกการเข้าห้องน้ำ
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ? เอกชน หรือรัฐบาล