ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
News
Share
วิกฤติเยาวชน “อ่อนภาษาไทย”

วิกฤติเยาวชน “อ่อนภาษาไทย” แม้จะเป็นภาษาพ่อภาษาแม่ แต่แทบไม่น่าเชื่อ เมื่อตอนนี้เด็กไทยกลับอ่อนภาษาไทย บ้างก็อ่านไม่ออก บ้างก็ไม่เข้าใจความหมาย จึงเป็นเรื่องน่าห่วงกับอนาคตของประเทศที่จะต้องก้าวเข้าสู่การแข่งขันในทุกด้านกับนานาชาติ

พลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้ หรือ สบร. (องค์การมหาชน) กล่าวถึงว่า เด็กไทยอ่อนภาษาไทย เกี่ยวพันกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ เพราะภาษาคือพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ความหมาย เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ไปยังทุกศาสตร์และทุกสาขาวิชา ปัจจุบันพบเด็กไทยส่วนใหญ่เรียนจบชั้นประถมศึกษา แต่ยังอ่านภาษาไทย ไม่คล่อง สะกดคำไม่แม่น จึงสื่อสารความหมายที่ลึกซึ้ง ไม่ได้ ส่งผลให้สมองขาดฐานข้อมูลเบื้องต้น ในการคิด เชื่อมโยงและต่อยอดไปสู่การเรียนรู้ศาสตร์อื่นได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กไทยอ่อนแอด้านภาษา คือ กระบวนการสอนของพ่อแม่และครูในปัจจุบัน ที่ยังไม่สอดรับกับธรรมชาติการรับรู้ในระบบสมองของมนุษย์ คือเน้นการท่องจำมากกว่าความเข้าใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอน 

พลเรือเอกฐนิธ กล่าวว่า ทางแก้ไขปัญหาควรจะปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนใหม่ โดยอาศัยหลักพัฒนาการของสมองในแต่ละช่วงวัยหรือ บีบีแอล (BBL: Brain-based Learning) ซึ่งพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ในศตวรรษที่ 21 ทำให้สามารถเข้าใจการทำงานในสมองมนุษย์ และนำมาออกแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

จากข้อมูลของการสัมมนาทางวิชาการเรื่องปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน พ.ศ. 2551 มีการนำเสนอ งานวิจัย เรื่องนโยบายเกี่ยวกับปัญหาการเรียน การสอนและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน ด้านหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน โดย ผศ.ธัญญา สังขพันธนนท์ คณะมนุษย ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า ปัญหาหลักสูตรไม่สอดคล้องกับเนื้อหาแต่ละชั้นปี ควรจัดหลักสูตรให้เหมาะสมและให้ความสำคัญกับภาษาไทยให้มากขึ้น และควรจัดหลักสูตรให้มีเนื้อหาที่เน้นการใช้ภาษาไทยให้เข้มข้นและจริงจังในทุก ๆ สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนประชาชน 

ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเสนอแนะว่า ควรทบทวนหลักสูตรการศึกษาระดับต้นใหม่ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก หากหลักสูตรกำหนดเนื้อหาให้นักเรียนมากเกินไป ทำให้การเรียนในแต่ละเรื่องผิวเผินมาก ไม่มีโอกาสเจาะลึกและฝึกทักษะอย่างแท้จริง โดยเฉพาะชั้น ป.4 ควรเน้นหลักภาษาให้มาก เพราะนักเรียนจะต้อง อ่านคล่อง เขียนคล่อง แต่หลักสูตรเน้นการเขียนซึ่งนักเรียนจะไม่ได้อะไรเลย เพราะยังอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง 

นอกจากนี้หนังสือเรียนยังมีเนื้อหาเข้าใจยาก แบบฝึกหัดยากและไกลตัวเด็ก ทำให้นักเรียนไม่อยากอ่าน จึงควรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนภาษาไทย และทุก ๆ รายวิชาใหม่หมด 

ด้านศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ บุญเกิด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประสาทวิทยา กล่าวถึงสมองกับการเรียนและ รู้ภาษาว่า ในการทำงานของสมองนั้น ภาษาคือหน้าต่างที่จะต่อยอดไปสู่การเรียนรู้วิชาต่าง ๆ เพราะสมองจะทำงานโดยการเชื่อมต่อการเรียนรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมเสมอ โดยช่องทางการเรียนรู้ที่ถูกต้องคือต้องเรียนรู้จากของจริงไปหาสัญลักษณ์ ซึ่งผิดกับการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นการเรียนรู้จากสัญลักษณ์คือตัวอักษรไป หาของจริงคือประสบการณ์ในชีวิต เมื่อสมองที่ไม่เข้าใจความหมายจึงไม่เปิดรับเป็นความจำ เพื่อต่อยอดสู่ความเข้าใจและเป็นความรู้ต่อไป

ดังนั้นการเรียนภาษาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจในวิชาอื่น คนทั่วไปไม่ค่อยทราบความสำคัญของภาษาตรงนี้ จึงละเลยไม่เห็นความสำคัญของการเรียนวิชาภาษาไทยและมุ่งไปที่การเรียนวิชาอื่นเสียมากกว่า สำหรับกุญแจสำคัญที่จะทำให้เด็กเก่งภาษาคือต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัสคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ โดยจัดการการเรียนรู้อย่างสมวัย เป็นไปตามหลักของทฤษฎีบีบีแอล 

วิกฤติภาษาไทยอ่อนของเด็กไทยในวันนี้ ทำให้พลเมืองของประเทศด้อยศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ โดยเฉพาะด้านการค้า และการลงทุน ซึ่งต้องอาศัยการสื่อความหมายและความคิดเชื่อมโยงในสาขาวิชาต่าง ๆ คิด วิเคราะห์เชิงลึก ไม่ได้ จึงมีแนวโน้มไม่สามารถประเมินสถานการณ์ที่ซับซ้อนของประเทศและโลกได้อย่างเท่าทัน

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th
News Others
Promotion Credit Card in BBB55
Promotion Credit Card in BBB55
Pre-Register
Pre-Register
รายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ " Easy e-Receipt "
รายชื่อร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ " Easy e-Receipt "
Sponsors
view all
Banner
view all