ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
10 วิธี...กระตุ้นลูกน้อยในครรภ์





10 วิธี...กระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ 

คุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมเด็กแต่ละคนเกิดมามีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เด็กบางคนอารมณ์ดี เลี้ยงง่าย ไม่โยเย ขณะที่เด็กบางคนเลี้ยงยากเหลือเกิน เรื่องนี้ เราคงต้องย้อนกลับไปหาคำตอบกันตั้งแต่แรกเริ่มที่คุณแม่ตั้งครรภ์ กันเลยทีเดียวค่ะ

บรรทัดต่อจากนี้ไป จะเป็นวิธีการกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจของลูกน้อยในครรภ์อย่างง่าย ๆ ที่คุณแม่สามารถทำได้ทันทีค่ะ

1. คิดบวกไว้ก่อน

การ พยายามมองโลกในแง่บวก นอกจากจะช่วยให้คุณแม่สามารถจัดสมดุลทางอารมณ์ของตัวเองได้ดีแล้ว ยังช่วยสร้างความรู้สึกดี ๆ ในการเกิดและมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ด้วย ลองนึกดูสิคะ ถ้าตลอดเวลาที่อยู่ในท้องแม่ ลูกรับรู้แต่อารมณ์หงุดหงิด หดหู่ หรือไม่ได้ดั่งใจของแม่ตลอดเวลา ร่างกายที่ตึงเครียดจากอารมณ์ที่ไม่สงบ ย่อมส่งสัญญาณไปถึงลูกน้อยได้ ดังนั้น การที่คุณแม่มองโลกในแง่ดี จิตใจผ่องใส พูดคุยถึงแต่เรื่องดี ๆ จึงเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ลูกรับรู้แต่เรื่องดี ๆ และอยากจะเกิดมาใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้มากขึ้นค่ะ

2. ไม่เครียด

ความ เครียดของแม่ส่งผลต่อลูกในครรภ์โดยตรง เพราะนอกจากความเครียดจะทำให้ลูกคลอดออกมาเป็นเด็กขี้แย โยเย และเลี้ยงยากแล้ว ฮอร์โมนของความเครียดนี้ ยังจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของสมองลูกอีกด้วย เพราะสเตียรอยด์จากเปลือกหมวกไต จะเพิ่มระดับสูงขึ้นยามที่คนเราเกิดความ รู้สึกเครียดหรือถูกกดดัน และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างสมองส่วนเส้นใยประสาท ทำให้ระดับเชาวน์ปัญญาของลูกลดต่ำลงในที่สุด

3. หายใจลึก ๆ เข้าไว้

การ หายใจเข้าลึก ๆ เป็นวิธีง่าย ๆ แต่เวิร์กสุด ๆ ที่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ในยามที่รู้สึกว่ากำลังถูกความเครียดคุก คาม แถมยังส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์ เพราะเมื่อคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลูกน้อยสามารถสัมผัสถึงความสุขสงบภายในตัวแม่ และรับรู้ถึงความรักที่แม่มีต่อเขาได้ตลอดเวลา พัฒนาการทางสมองของลูกก็เป็นไปด้วยดี แถมสารเคมีในสมองยังได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อปกป้องลูกน้อยจากฮอร์โมนความเครียด และช่วยให้เขาสามารถจัดการกับความเครียดของตัวเองได้ เมื่อโตขึ้นด้วย

4. พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ


เสียง พูดหรือเสียงร้องเพลงของคุณแม่ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึก ของลูกน้อยได้ดีทีเดียวค่ะ เพราะขณะที่คุณแม่พูดคุยหรือร้องเพลงให้ลูกฟัง ลูกจะตั้งใจฟังอย่างดี พิสูจน์ได้จากอัตราการเต้นของหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะช้า ๆ รวมทั้งยังช่วยให้ลูกดูดกลืนน้ำคร่ำได้เร็วกว่าปกติอีกด้วย

5. ยิ้มรับทุกสถานการณ์

การยิ้มจะช่วยให้ "เซโรโทนินฮอร์โมน" หรือ ฮอร์โมนอารมณ์ดีแผ่กระจายไปในกระแสเลือด และส่งผ่านสู่ลูกน้อยในครรภ์ให้รู้สึกผ่อนคลายและสุขสงบได้ ทุกครั้งที่คุณยิ้ม รู้ไหมว่าลูกในครรภ์ก็กำลังพยายามจะยิ้มอย่างที่คุณทำด้วยเช่นกัน


6. เล่นสนุกกับลูก

การ เล่นเกมกับลูกในครรภ์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการได้ง่าย ๆ ยกตัวอย่างเช่น เกมเตะเลยลูก ที่วิธีเล่นก็แสนง่าย เพียงแค่เวลาที่ลูกเตะหรือศอก ให้คุณแม่สัมผัสตรงบริเวณที่ลูกเตะ แล้วพูดกับลูกว่า "เตะเลยลูก เตะอีก ๆ" จากนั้นลองสัมผัสท้องส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ลูกในท้องเป็นฝ่ายไล่ตามสัมผัสบ้าง โดยขณะที่สัมผัสท้องก็ให้คุณแม่พูดคำเดิมค่ะ


7. ผักช่วยได้

ลูก น้อยจะพัฒนาประสาทการรับรสได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 14 สัปดาห์แล้วค่ะ และการเลือกกินอาหารของคุณแม่ จึงส่งผลต่อความพึงพอใจในการกินอาหารของลูก น้อยด้วยเช่นกัน มีการศึกษาชิ้นหนึ่งได้ทดลองแบ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ให้คุณแม่ดื่มน้ำ บร็อกโคลี กลุ่มที่ 2 ดื่มน้ำแครอต และกลุ่มที่ 3 ดื่มน้ำเปล่าทุกวัน หลังจากนั้นก็ตามดูว่า เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว พฤติกรรมการกินอาหารเหลวครั้งแรกของเด็ก ๆ เป็นอย่างไร พบว่าเด็ก ๆ จะกินอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำผัก ที่แม่เคยดื่มระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าอาหารอื่น ซึ่งพอจะอธิบายได้ว่า การกินผักของแม่ในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยให้ลูก ๆ กินผักเหล่านั้นได้เมื่อเติบโตขึ้น

8. นวด นวด นวด

การ นวดเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทลูกน้อยให้รู้สึกสบายและผ่อนคลาย เพียงคุณแม่ลองหาช่วงเวลาสงบ เอนกายท่าที่สบาย ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก อาจจะเปิดเพลงบรรเลงคลอเบา ๆ ไปด้วยก็ได้ค่ะ จากนั้นเอาน้ำมันสกัดจากธรรมชาติ เช่น มะกอกหรือมะพร้าว ถูที่มือเบา ๆ (ควรเลี่ยงใช้น้ำมันจากเมล็ดอัลมอนต์ และน้ำมันหอมระเหยต่าง ๆ ตอนตั้งครรภ์ค่ะ) แล้วค่อย ๆ ลูบไล้ไปที่ท้องอย่างแผ่วเบาแต่ลุ่มลึก โดยเน้นบริเวณที่สัมผัสถึงลูกน้อย แต่ถ้าเมื่อไรที่ลูกเตะให้หยุด แล้วค่อยนวดต่อหลังจากที่ลูกหยุดเตะแล้วค่ะ

9. ออกกำลังกาย

การ ออกกำลังกายของคุณแม่ ช่วยให้ลูกในครรภ์อารมณ์สงบและผ่อนคลาย เพราะขณะที่คุณแม่ออกกำลังกายในท่วงท่าและระยะเวลาที่เหมาะสม จะทำให้ออกซิเจนไหลผ่านกระแสเลือดของลูกน้อยได้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตโดยเฉพาะสมอง และหลังออกกำลังกาย ร่างกายก็จะหลั่งสารเอ็นดรอฟิน ที่ช่วยให้คุณแม่และลูก รู้สึกถึงความสุขสงบไปได้อย่างยาวนานต่อเนื่องถึง 8 ชั่วโมงเลยทีเดียว

10. มอบความรักแก่คนรอบข้าง

ขณะที่คนเรามีความรัก ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนแห่งความรัก ที่ชื่อ "ออกซิโตซิน" ขึ้นมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวเดียวกันกับที่ทำให้คุณแม่รู้สึกรัก และผูกพันกับลูกมากขึ้น การมอบความรักความปรารถนาดีต่อคนรอบข้าง จึงช่วยให้ร่างกายของแม่หลั่งออกซิโตซินมากขึ้น และฮอร์โมนทั้งหมดที่ส่งผ่านรกไปสู่ลูก จะช่วยทำให้ลูกรู้สึกเช่นเดียวกันกับคุณด้วย

หวังว่าวิธีเหล่านี้ คงจะไม่ยากเกินกว่าที่คุณแม่จะตัดสินใจทำทันทีในวันนี้ เพื่อให้ได้ลูกที่ดีมีคุณภาพในวันหน้าค่ะ

คุณพ่อก็มีส่วนร่วมได้

คุณพ่อก็สามารถช่วยคุณแม่สร้างสัมพันธภาพกับลูกได้ไม่ยากเลย เพียงแค่

หมั่นพูดคุยกับลูก เพราะความจริงแล้ว ลูกน้อยในครรภ์จะสามารถฟังเสียงทุ้ม ๆ ของคุณพ่อได้ดีกว่าเสียงเล็ก ๆ ของแม่เสียอีก

สัมผัสลูบคลำท้องคุณแม่ เพื่อรับรู้ความรู้สึกขณะที่ลูกเคลื่อนไหว และจูบที่ท้องของคุณแม่เบา ๆ เพื่อส่งผ่านความรักถึงลูกน้อย
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all