ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
โรคมือเท้าปาก
โรคมือเท้าปาก โรคชื่อแปลกอย่าง “โรคมือเท้าปาก” ปรากฏเป็นข่าวสร้างความกังวลใจให้กับคนเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองอีกครั้ง หลังมีการตรวจพบการแพร่ระบาดที่กรุงเทพฯ ในโรงเรียนแห่งหนึ่งย่านลาด พร้าว ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าทำการตรวจพิสูจน์เก็บตัวอย่างไวรัส 

ทางผู้เชี่ยวชาญแถลงว่าเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปากในเด็กครั้งนี้ “ไม่ใช่สายพันธุ์ร้ายแรง” ไม่ใช่สายพันธุ์ เอ็นเทอโรไวรัส 71 (Entero Virus 71) แต่เป็นเชื้อไวรัส คอกซากี เอ16 (Cox Sackie A16) ลักษณะจึงเป็นเพียงโรคประจำถิ่นที่พบได้ในเด็กวัยอนุบาล อาการคล้าย “อีสุกอีใส” หรือการออก “หัด” ในเด็ก 

ทั้งนี้ จากสถิติจะพบผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในไทย ปีละ 800-1,000 ราย และในปี 2548 นี้เบื้องต้นพบแล้ว 53 ราย 
โดย 95% เป็นเด็กวัย 2-5 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่สายพันธุ์ร้ายแรงอย่างที่กลัวกัน... ฟังแล้วโล่งใจ...แต่หลายคนก็ยังเป็นห่วงบุตรหลาน !! สาเหตุที่พ่อแม่ผู้ปกครองซึ่งสนใจติดตามข่าวสารยังเป็นกังวล ยังกลัวว่าบุตรหลานจะได้รับอันตรายร้ายแรงจาก “โรคมือเท้าปาก” ก็เพราะเมื่อหลายปีก่อนในเมืองไทยเองเคยเกิดโกลาหล เมื่อมีข่าวว่าประเทศใกล้ ๆ ไทยอย่างมาเลเซีย และไต้หวัน มีเด็กป่วยด้วยโรคนี้เป็นแสน ๆ ราย และหลายราย “เสียชีวิต” 

ต้นเหตุสำคัญก็คือ “เอ็นเทอโรไวรัส 71” เชื้อเอ็นเทอโรไวรัส 71 ที่ว่านี้ทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก เช่นเดียวกับคอก
ซากี เอ16 เพียงแต่เอ็นเทอโรไวรัส 71 มันมีการพัฒนาสายพันธุ์จนเชื้อมีความรุนแรงมากกว่าคอกซากี เอ16 การเกิดโรคมือเท้าปากจากเชื้อต่างสายพันธุ์จะแตกต่างกันที่ “อาการ” และ “ความรวดเร็ว-รุนแรง” ของโรค ซึ่งคนที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม เอ16 จะมีอาการแค่ไข้สูง เกิดตุ่มใส มีผื่นแดง เป็นแผลร้อนใน และภายในระยะเวลาประมาณ 10-14 วันก็จะหายไปในที่สุด 

แต่...กับเจ้าเชื้อ “เอ็นเทอโรไวรัส 71” จะแสดงอาการรวดเร็ว ที่สำคัญ...อาการของโรคยังรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ “เสียชีวิต” ได้ !! จากรายงานทางการแพทย์ เหยื่อของไวรัสสายพันธุ์เอ็นเทอโร ไวรัส 71 มักจะเป็น “เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ” หรือเด็กวัยอนุบาล ซึ่งภูมิคุ้มกันยังน้อยกว่าผู้ใหญ่มาก หากติดเชื้อก็มีโอกาสเสียชีวิต ระยะฟักตัวของเชื้อก่อนแสดงอาการจะอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ 3 วัน ซึ่งอาการของเด็กที่ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ ต่อมาก็จะเกิดตุ่มใส ๆ จนเกิดเป็นแผลบริเวณปาก 
มือ และเท้า 

ถ้าไม่รู้ก็อาจคิดว่าไม่รุนแรงมาก...แต่ไม่ใช่ หากรักษาไม่ทันท่วงทีก็มีสิทธิเสียชีวิต !!! สำหรับการติดต่อของเชื้อที่ทำให้เกิด “โรคมือเท้าปาก” นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการกิน แต่ก็มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจด้วย เพียงแต่ที่ผ่านมาพบในจำนวนที่น้อยมาก ซึ่งการติดเชื้อ-การติดต่อจะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในเด็กที่ “สุขภาพอ่อนแอ” เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัว 3 วัน เชื้อจะเข้าเลือดและไปสู่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เยื่อบุหัวใจ ผนังทรวงอก ตับอ่อน 

ไวรัสในกลุ่มเดียวกับเอ็นเทอโรไวรัสนั้น มีอยู่ 5 สายพันธุ์หลักคือ... โปลิโอไวรัส (Polioviruses), คอกซากีไวรัส 
กลุ่มเอ (Group A Coxsackiviruses), คอกซากีไวรัส กลุ่มบี (Group B Coxsackiviuses), เอ็คโคไวรัส
(Echoviruses) และก็เจ้าเอ็นเทอโรไวรัสที่ว่า “จุดอันตราย” ที่ทำให้เกิดความกังวล และหลายฝ่ายรู้สึกว่า 
“น่าเป็นห่วง” ก็คือ...มีผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตถึงการระบาดใหญ่ของเชื้อเอ็นเทอโรไวรัสในไต้หวันว่า...ไม่น่าจะเกิดจากการ
กินเท่านั้น 

การระบาดที่ค่อนข้างมากของไวรัสครั้งนั้นอาจเป็นไปได้ว่ามีการ “แพร่เชื้อทางอากาศ” แม้ว่าจากฐานข้อมูลเดิมจะพบว่าการติดเชื้อทางอากาศจะมีโอกาสเป็นไปได้น้อย แต่ก็เป็นไปได้ว่า
“เอ็นเทอโรไวรัส 71” อาจมีการ “เปลี่ยนแปลงสายพันธุ์” ปรับตัวเองเพื่อให้อยู่รอด สิ่งที่พบในการระบาดใหญ่ของ “โรคมือเท้าปาก” เมื่อ 5-6 ปีก่อนก็คือ... “แสดงอาการตรงไปที่สมอง สมองอักเสบ บวม และในที่สุดก็ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิต !!” 

ทั้งนี้และทั้งนั้น กล่าวสำหรับการพบเด็กเล็กในโรงเรียนย่านลาดพร้าวป่วยเป็นโรคชื่อแปลกอย่าง “โรคมือเท้าปาก” 
นั้น ต้องขอย้ำอีกครั้งว่าทางสาธารณสุขยืนยันว่า...ไม่ได้เกิดจากเชื้อสายพันธุ์ร้ายแรง และก็ได้มีการเฝ้าระวัง พร้อมกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัย แต่พ่อแม่ผู้ปกครองทั่วไปก็ควรใส่ใจบุตรหลานด้วย 

การป้องกันบุตรหลานในเรื่องอาหาร น้ำดื่ม และไม่จำเป็นก็ไม่ให้ไปอยู่ในสถานที่แออัดยัดเยียด น่าจะเป็นวิธีที่ดี 
เป็นการ “ป้องกันไว้ก่อน” ที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนที่หลายโรคชอบอาละวาด โรคบางโรคพรากบุตรหลานเราไปได้ในเวลาแค่ 3 วัน อย่าได้ “ประมาท” เป็นอันขาด !!!!. 

ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 

 

คำถามคำตอบ กลุ่มโรค มือเท้าปาก (Hand foot mouth syndrome) หรือ โรคปากเปื่อยที่เป็นข่าว
- เป็นข่าวฮือฮาพอควร เพราะระดับปิดโรงเรียนเพื่อคุมโรค อย่างนี้ไม่รู้ไม่ได้แล้วครับ ที่จริงเคยระบาดมาหลายครั้งแล้วครับ เพิ่งเป็นข่าวก็ต้องรู้ข้อมูลกัน ผมจะสรุปให้ดังนี้นะครับ

น.พ. ระพีพันธุ์ กัลยาวินัย อายุรแพทย์ โรงพยาบาลพระรามเก้า

1. เกิดจากเชื้ออะไร
ตอบ เกิดจากเชื้อไวรัส Coxsackievirus A16 ซึ่งอยู่ในกลุ่ม enterovirus

2. เมื่อรับเชื้อแล้ว จะมีอาการในกี่วัน ติดต่อทางไหนกันแน่
ตอบ คำถามที่ถาม แพทย์จะเรียกว่าระยะฟักตัวครับ เชื้อนี้มีระยะฟักตัวสั้น (incubation) แค่ 4-6 วัน, โดยติดต่อทางการหายใจ (air born), และน้ำลาย

3. เชื้อนี้ระบาดเป็นช่วง ๆ หรือ เป็นตลอดทั้งปี
ตอบ เชื้อนี้ระบาดช่วงฤดูร้อนเป็นส่วนใหญ่ครับ (summer and fall )

4. เมื่อสัมผัสติดต่อ จะเป็นทุกคนเลยหรือ
ตอบ ใช่ครับ เชื้อนี้เมื่อติดต่อเข้าไปแล้วจะมีการแสดงอาการ (expression rate) เกือบ 100 % เลยครับ

5. รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้
ตอบ รอยโรคในปากจะเป็นแผล หรือ เม็ดเล็กๆใส แล้วแตกออก ขนาด 4-8 มิลลิเมตร อาจเป็นที่กระพุ้งแก้มได้ด้วย

6. เป็นที่มือและเท้าด้วยหรือ
ตอบ ที่มือและเท้ามักเป็นตุ่มใสขนาด 3-7 มิลลิเมตร มักเป็นที่หลังมือและเท้ามากกว่า ผื่นจะหายเร็วภายใน 1 อาทิตย์ครับ อาจมีรอยโรคที่ก้นด้วย

7. โรคนี้น่ากลัวหรือไม่
ตอบ ส่วนใหญ่หายเองครับ เพราะไวรัสไม่ต้องรักษาก็หายได้ แต่มีรายงานกรณีรุนแรงอาจมีอาการทางสมอง และ ระบบประสาทได้ด้วย มีรายงายการเกิดโรคทางปอด หรือ หัวใจด้วยครับ แต่พบน้อยมากครับ หายเองไม่ต้องกังวลเป็นส่วนใหญ่ครับ

8. เจาะเลือดตรวจดูว่าเป็นโรคนี้ได้หรือไม่
ตอบ การตรวจเลือดไม่ช่วยครับ สามารถวินิจฉัยจากการตรวจร่างกาย และ ปรึกษาแพทย์ครับ

9. ระวังการติดเชื้ออย่างไร
ตอบ เนื่องจากการระบาดของโรคนี้ มีระยะฟักตัวสั้นมาก การหยุดโรงเรียนจนพ้นระยะฟักตัวดังกล่าวในข้อ 2. คือ แค่ 4-6 วัน ถ้ายังไม่มีแสดงอาการ ก็ไม่ติดต่อกันแล้วครับ


ข้อมูลจาก http://www.praram9.com
ข้อมูลจาก : http://www.anubarn.com
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all