ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
การนอนหลับส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูกน้อย

Good sleep makes your kids smarter!

การนอนหลับส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูกน้อย


 

          เด็กเป็นวัยที่เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทุกวัน เมื่อหลับ สมองจะทำหน้าที่จัดเก็บและจัดระเบียบข้อมูลที่เด็กเรียนรู้มาเมื่อเด็กหลับในระยะหลับลึก เพื่อพร้อมให้ดึงกลับมาใช้ใหม่ มีผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กเรียนรู้ในสิ่งเดียวกัน แล้วมาทำแบบทดสอบภายหลัง พบว่าเด็กที่ได้มีโอกาสนอนหลังจากการเรียน จะสามารถทำแบบทดสอบได้ดีกว่ากลุ่มที่ยังไม่ได้นอนอย่างชัดเจน ดังนั้นการนอนหลับอย่างเพียงพอ จะส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก

โดยปกติทั่วไป

- เด็กทารกอายุ 4-12 เดือน ต้องการการนอนหลับที่ 12-16 ชั่วโมงต่อวัน

- เด็กเล็กอายุ 1-2 ปี ควรนอนหลับให้ได้ 11-14 ชั่วโมง

- เด็กอายุ 3-5 ปี ควรนอนหลับให้ได้ 10-13 ชั่วโมง

- เด็กโตอายุ 6-12 ปี ควรนอนหลับ 9-12 ชั่วโมง

- วัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ควรนอนหลับ 8-10 ชั่วโมง

ท่านอนที่เหมาะสมในเด็กเล็ก

        ในเด็กแรกเกิด ไม่แนะนำให้นอนคว่ำ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุในทารก (Sudden Infant Death Syndrome : SIDS) แนะนำให้นอนหงายหรือนอนตะแคงดีกว่า และเบาะที่นอนควรมีความแข็งพอสมควร ให้นอนตะแคงสลับข้างซ้ายบ้างขวาบ้าง

SAKER เปลไกวไฟฟ้าอัตโนมัติ
ตัวช่วยผ่อนแรงที่ดีที่สุด ลูกน้อยหลับสนิท&หลับได้นานกว่าเดิมก็ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกน้อยที่ดีกว่าเดิม



ทำอย่างไรให้การนอนหลับมีคุณภาพ

สำคัญที่สุดคือ ต้องเข้านอนและตื่นนอนในเวลาที่สม่ำเสมอในแต่ละวัน โดยเริ่มฝึกตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป

กิจกรรมก่อนเข้านอนควรไม่เกิน 30-45 นาที ควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกสบายเช่น การอาบน้ำด้วยน้ำอุ่น การเล่านิทานก่อนนอน หรือการร้องเพลงกล่อมนอน

ปรับสภาพแวดล้อมของห้องนอนให้เป็นห้องที่เงียบ ไม่มีทีวีและอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป และควรเป็นห้องที่มืดโดยมีม่านบังแสงในเวลากลางคืน และเปิดให้รับแสงแดดเป็นการปลุกในตอนเช้า

ในช่วงระหว่างวันในเด็กเล็กควรให้นอนกลางวันไม่เกินบ่ายสาม

- เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการนอน ไม่ว่าจะเป็นเตียงนอน หรือเปลไกว โดยมีหลักในการเลือกดังต่อไปนี้

Cozee Bed side crib with Rocking เตียงนอนเด็กสำหรับวางข้างเตียง (แบบโยกได้)
อบอุ่น ดูสวย ปลอดภัย กระทัดรัด พกพาเดินทางได้ง่ายสามารถสะพายได้ พร้อมกระเป๋าใน Set



1. การเลือกเปลไกว

คุณสมบัติ การแกว่งไกวของเปลเป็นการเคลื่อนไหวคล้ายกับขณะที่ทารกยังอยู่ในท้องแม่ เปลไกวจึงเป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณแม่ไม่ต้องอุ้มกล่อมลูกน้อยตลอดเวลา โดยเปลชนิดนี้เหมาะกับทารกในช่วง 2-3 เดือนแรกมากที่สุด และเพื่อความปลอดภัยควรใช้ดูแลเด็กที่มีน้ำหนักไม่เกิน 7-12 กิโลกรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเปลไกวและข้อกำหนดในคู่มือการใช้งานด้วย อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรจำกัดเวลาในการไกวเปลให้ลูกน้อยไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน หากไม่จำเป็นจริง ๆ ควรอุ้มกล่อมด้วยตนเอง เพื่อให้ลูกน้อยสัมผัสถึงความอบอุ่นจากอ้อมกอดแม่

เคล็ดลับในการเลือกซื้อและการใช้งาน เด็กบางคนอาจไม่ชอบหรือรู้สึกไม่สบายตัวเมื่อพ่อแม่ไกวเปล ทางที่ดีก่อนซื้อจึงควรลองให้ลูกนอนในเปลไกวแล้วดูว่าเด็กเงียบหรือหลับสบายดีหรือไม่ เมื่อตัดสินใจซื้อแล้วควรระมัดระวังและตรวจดูอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยของเปลให้แน่นหนาเพียงพอที่จะป้องกันเด็กลื่นตกลงมา รวมทั้งเลือกเปลไกวที่กว้างพอและไม่สูงจากพื้นเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เปลไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งและหลีกเลี่ยงอันตรายจากการตกเปล


2. การเลือกเตียงนอน

ซึ่งมีสองแบบคือ เตียงเด็กแบบไม้และเตียงเพลย์เพน ซึ่งเป็นเตียงเด็กที่ทำจากวัสดุผ้าไนล่อนกับโครงเหล็กหรืออลูมิเนียม น้ำหนักจึงเบากว่าเตียงไม้ สามารถพับเก็บได้ จึงสะดวกในการพกพาไปใช้ตามสถานที่ต่างๆ

Kinderkraft Sofi Bed 4 in 1 เตียงนอนเด็กแรกเกิด
Baby Cot เตียงนอนแบบคอกกันรอบทิศทาง ช่วยเพิ่มความอบอุ่น กันลม ทำให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดนอนหลับสบาย และยาวนานมากยิ่งขึ้น



แนวทางในการเลือกเตียงนอนสำหรับเด็ก

1. ดูที่ประโยชน์การใช้สอย เตียงนอนสำหรับเด็กแต่ละประเภทนั้นมีข้อเด่นและข้อด้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นเราก็ต้องดูว่าเราอยากได้เตียงแบบไหน แล้วค่อยเลือกแบบที่ตอบโจทย์ของเราก็พอแล้ว

2. กำลังทรัพย์  แม้จะอยากได้ยังไง แต่ถ้าสู้ราคาไม่ไหวก็เท่านั้น สุดท้ายก็ต้องมาดูอยู่ดีว่างบเรามีที่เท่าไหร่ แล้วสามารถเลือกประเภทเตียงแบบไหนที่พอดีกับทุนของเรา

3. เลือกขนาดที่พอดีกับเด็ก ควรเลือกขนาดของเตียงที่ไม่แคบหรือกว้างจนเกินไป เพราะถ้าแคบเกินไปลูกน้อยอาจอึดอัดไม่สบายตัว หรือถ้ากว้างไปก็อาจทำให้ไม่รู้สึกอบอุ่นเท่าที่ควร

4. ควรมีมุ้งกันยุงติดมาด้วย  เนื่องจากบ้านเรานั้นมีอากาศร้อนชื้น จึงต้องระวังเรื่องของยุงมากัดลูกน้อยด้วย

5. ต้องไม่มีชิ้นส่วนอันตรายสำหรับเด็ก เช่น พวกสารตะกั่ว

6. ควรใช้เตียงแบบมีล้อ  แม้ว่าเตียงอาจจะไม่จำเป็นต้องมีล้อเสมอไป แต่การมีล้อจะช่วยในเรื่องของความสะดวกในเวลาที่คุณอยากจะเคลื่อนย้ายเตียงลูกไปไว้ใกล้ที่นอน หรือจะพาลูกน้อยออกไปรับอากาศข้างนอกบ้าง และที่สำคัญต้องมีที่ล็อคล้อไว้เพื่อไม่ให้เตียงเคลื่อนที่ได้ด้วย

7. ลูกกรง  ช่องว่างระหว่างลูกกรงควรอยู่ที่ประมาณ 1 ถึง 2 นิ้ว เพราะเป็นระยะปลอดภัยที่สุดที่มือหรือเท้าของลูกจะไม่ไปติดกับซี่กรง



เรียบเรียงข้อมูลจาก
https://www.punnita.com/ https://www.pobpad.com/ และ https://www.sikarin.com/

Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all