ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
โรคซนสมาธิสั้น (ADHD)
โรคซนสมาธิสั้น (ADHD) โรคซนสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactive Disorder ADHD) พบประมาณ 2-5% ของเด็กในวัยเรียน คำว่า “สมาธิสั้น” ทำให้เราเข้าใจผิดเด็กมีปัญหาสมาธิสั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วปัญหาของเด็กมิใช่ เป็นการควบคุมตนเองในหลายด้าน 

เด็กจะมีอาการแสดงออกมาได้ในหลายรูปแบบที่พ่อแม่จะสังเกตได้ ได้แก่
  1. ซน-รอไม่ได้-ไม่คิดก่อนทำ (Hyperactivity)
  2. ปัญหาในการเลือกสิ่งที่ตนเองสนใจ (Selecting attention) สำหรับเด็กแล้วอะไรก็น่าสนใจไปหมด จึงไม่สามารถเลือกได้ว่าจะทำอะไรก่อน หลัง ดังนั้นจึงมักทำตามที่ครูสั่งไม่ได้
  3. ปัญหาในการคงสมาธิให้ยาวนาน (Sustaining attention) เด็กจะทำอะไรได้เพียงครู่เดียว เลิกเร็ว เบื่อง่าย และก็ไปสนใจอย่างอื่น
  4. วอกแวกง่าย (Distractibility) เช่น เวลาอยู่ในห้องเรียนหันตามเสียงภายนอก
  5. ปัญหาทางอารมณ์ (Emotional problem) เด็กบางคนมีปัญหากับเพื่อนที่โรงเรียนหรือปัญหาทางบ้าน อาจแสดงออกมาด้วยอาการซึมเศร้า เหม่อลอย วิตกกังวล เกเร ก้าวร้าว

อาการดังกล่าวมักเกิดก่อนอายุ 7 ปี มีอาการเป็นทั้งที่โรงเรียน, บ้าน, โรงพยาบาล อาการดังกล่าวเป็นการติดต่อกันนานมากกว่า 6 เดือน มีผลรบกวนการเรียน และการเข้าสังคม

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจมีปัญหาอื่นๆ ร่วมได้ด้วยง่าย ได้แก่ ปัญหาเรื่องการเรียนเฉพาะอย่าง เช่น การอ่าน การคำนวณ หรือ ภาษา


สาเหตุ

ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาเชื่อว่า สาเหตุที่เกิดจากกรรมพันธุ์ และความผิดปกติของสมอง โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ดี แต่การเลี้ยงดูที่ไม่ทำให้เด็กมีอาการคล้ายโรคนี้ได้ และในเด็กที่เป็นโรคนี้การเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เด็กเกิดอาการมากขึ้น

การรักษา
  1. การรักษาด้วยยา กระตุ้นสมาธิ ซึ่งปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงเล็กน้อย และไม่สะสมในร่างกาย
  2. การช่วยเหลือของพ่อ แม่ ได้แก่ พ่อแม่ต้องยอมรับ และเข้าใจว่าเด็กไม่สบาย เด็กไม่ได้แกล้งทำ และมีความยืดหยุ่นความคาดหวังตมความเป็นจริง มีตารางเวลาการทำกิจกรรมที่แน่นอน
  3. การช่วยเหลือจากโรงเรียน ได้แก่ ควรให้เด็กนั่งหน้าสุดแต่ไม่ควรให้เด็กนั่งติดหน้าต่างหรือประตู ถ้าเด็กหมดสมาธิจริงๆ ควรให้เด็กมีกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ แต่ต้องสร้างสรรค์ โรคนี้ไม่หายขาดแต่ควบคุมได้เมื่อทำการรักษา เด็กมีโอกาสเรียนหนังสือและเข้าสังคมได้ดีขึ้น
  
 ข้อมูลจาก : http://www.108health.com
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all