ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
ทฤษฎี 7 สร้างพลังสมองลูกน้อย โดย สสส.
ทฤษฎี 7 สร้างพลังสมองลูกน้อย โดย สสส. ทฤษฎีโภชนาการ 7 กลุ่มอาหาร เหมาะสำหรับยุคสมัย มั่นใจว่าได้สารอาหารครบถ้วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมอง สติปัญญา และร่างกายเหมาะสำหรับยุคสมัย มั่นใจว่าได้สารอาหารครบถ้วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมอง สติปัญญา และร่างกายเพื่อลูกน้อยเติบโตแข็งแรงสมวัยอย่างเต็มศักยภาพขณะที่ผู้เชี่ยว ชาญด้านการพัฒนาสมองและนักโภชนาการ ย้ำ 7 กลุ่มอาหารสร้างไอคิวได้ 

ดร. ขวัญ หาญทรงกิจพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพสมองในเด็ก จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาเผยว่า เด็กจะมีพัฒนาการทางสมองอย่างเต็มที่ได้จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นตั้งแต่ แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ขวบ เพราะช่วงนี้เซลล์สมองจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด จึงถือเป็นโอกาสทองสำหรับพ่อแม่ในการสร้างเสริมพลังสมองและสติปัญญาแก่ลูก น้อย

“อาหารที่มีคุณภาพเป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบหลักที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสมองในเด็ก นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องพันธุกรรมและกระบวนการเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อม การดูแลเอาใจใส่ให้เด็กรับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพให้คุณค่าสารอาหารที่ดีครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันจึงมีส่วน สำคัญมากในการสร้างเสริมสติปัญญา วางรากฐานเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์ในทุกๆ ด้านต่อไป”

ดร.ขวัญย้ำในเวทีเสวนาวันนี้ว่า “ความแตกต่างของระดับสติปัญญาของคนเราขึ้นอยู่กับสมองของใครมีเยื่อไมอีลิน หรือเปลือกหุ้มเส้นใยประสาทที่เติบโตเต็มที่มากกว่ากัน เพราะเยื่อไมอีลินเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ที่ส่งผลต่อความฉลาดและสติปัญญา ช่วยในการส่งสัญญาณประสาทได้เร็วและแม่นยำขึ้น ฉะนั้น การกระตุ้นให้เยื่อไมอีลินเติบโตอย่างเต็มที่จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการ สร้างเสริมพลังสมองในเด็ก โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างเยื่อไมอีลินของลูกให้เพิ่มขึ้นได้จากอาหารที่ดี มีคุณภาพ และการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ โดยทฤษฎี 7 กลุ่มอาหารที่แนะนำในวันนี้ เป็นหลักการที่ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองและร่างกายทั้งหมด มีบทบาทสำคัญในการสร้างความฉลาดให้สมองได้เป็นอย่างดี”

ด้าน เกศกนก สุกแดง นักวิชาการโภชนาการฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช ย้ำว่า การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเป็นผลดีต่อคนทุกเพศทุกวัย ทฤษฎี 7 กลุ่มอาหารเป็นหลักโภชนาการที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กวัย 1-3 ขวบซึ่งเป็นวัยทองแห่งพัฒนาการทางสมอง เพราะเป็นทฤษฎีที่เมื่อนำไปใช้ทำให้มั่นใจได้ว่าร่างการจะได้รับสารอาหารครบถ้วนและสมดุล แถมยังง่ายต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ตามหลักการของทฤษฎี 7 กลุ่มอาหาร ร่างกายต้องการชนิดอาหารในแต่ละวัน ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ธัญพืช อุดมไปด้วยกลุ่มวิตามินบี ซึ่งช่วยพัฒนาเรื่องความจำ และกรดโฟลิคที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบประสาทของเซลล์
กลุ่มที่ 2 ผัก แหล่งรวมวิตามินซึ่งช่วยเรื่องกระบวนการคิดการเรียนรู้
กลุ่มที่ 3 ผลไม้ เช่น สตอเบอร์รี่ ถ้าทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสมอง
กลุ่มที่ 4 น้ำมัน ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างเยื่อไมอีลิน
กลุ่มที่ 5 นม มีสารอาหารซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาเยื่อประสาท
กลุ่มที่ 6 เนื้อสัตว์ มีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่ช่วยปกป้องเซลล์สมองในเวลาที่เกิดความเครียด
กลุ่มที่ 7 ถั่ว ซึ่งเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุนานาชนิดทั้งแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมอง ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท


โดยทฤษฎี 7 กลุ่มอาหารนี้จำแนกอาหารที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับในแต่ละวัน ตามชนิดของอาหาร ผู้บริโภคจึงสามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ และปฏิบัติตามได้ง่ายในชีวิตประจำวันไม่เกิดความสับสนในการเลือกรับประทาน และยังได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและสมดุล

“ใน 1 วัน เราควรรับประทานเนื้อสัตว์และถั่ว เพื่อให้เกิดความสมดุล เพราะการบริโภคโปรตีนจากเนื้อมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อตับและไต โปรตีนจากพืชจะช่วยให้ร่างกายไม่ต้องทำงานหนักมากจนเกินไป และยังมีใยอาหารและแร่ธาตุต่างๆ อีกด้วย”

เกศกนก ยกตัวอย่างเมนูอาหารเช้าเพื่อสุขภาพตามทฤษฎี 7 กลุ่มอาหาร คือ นม 1 แก้ว ขนมปังโฮลวีททาเนยถั่ว 1 แผ่น สลัดผักผลไม้ ใส่ปลาแซลมอน หรือไข่ต้ม เพียงเท่านี้ก็จะได้สารอาหารเพียงพอแล้ว และควรทานทุกมื้อให้ครบ 7 กลุ่มอาหาร

ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/42926
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all