ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
รู้และเข้าใจภาวะตาขี้เกียจในเด็ก
รู้และเข้าใจภาวะตาขี้เกียจในเด็ก ตาขี้เกียจเป็นหนึ่งในภาวะที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่รู้จักมากนัก แต่คือภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นอาการทางสายตาที่พบได้มากในเด็กวัยเบบี๋ เรามาทำความรู้จักเพื่อให้เข้าใจและรับมือกับภาวะกันดีกว่าครับ

รู้จักภาวะตาขี้เกียจ 
ชื่ออาจฟังดูแปลกๆ นะครับ แท้จริงแล้ว ตาขี้เกียจคือภาวะที่สายตามีประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กเล็ก โดยอาจจะเป็นเฉพาะตาข้างเดียวหรือตาทั้งสองข้างก็ได้ แต่จากการตรวจสภาพดวงตาทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้น ภาวะนี้น่าจะเกิดจากการปรับตัวของสมองส่วนการมองเห็น ทำให้การมองเห็นลดลง

ทำไมพบบ่อยในเด็ก
เหตุที่พบภาวะตาขี้เกียจได้บ่อยในเด็ก เนื่องจากว่าการพัฒนาของระบบการมองเห็นของเด็กที่เกิดมาใหม่ยังไม่สมบูรณ์ พัฒนาการการมองเห็นจะสมบูรณ์ได้ เมื่อมีภาพที่คมชัดตกบนจอรับภาพทั้งสองของเด็กเท่าๆ กัน จะทำให้ระบบการมองเห็นและสมองส่วนการมองเห็นของเด็กพัฒนาไปเท่าๆ กันทั้งสองตาเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้ามีความผิดปกติของการมองเห็นใดๆ มาขัดขวางพัฒนาการการมองเห็นของเด็ก จะทำให้เกิดภาวะภาวะตาขี้เกียจขึ้นได้

ข้อมูลจากวารสาร Mahidol Population Gazette Vol.18 January 2009 ณ กลางปี 2552 พบว่า มีจำนวนประชากรเด็กไทยที่อายุน้อยกว่า 15 ปี ประมาณ 13,412,000 คน ในจำนวนนี้มีโอกาสเกิดภาวะตาขี้เกียจ 2% หรือประมาณ 268,240 คน ซึ่งพัฒนาการของระบบการมองเห็นจะเกิดมากในช่วงแรกเกิดจนอายุ 8 ปี เพราะฉะนั้น หากมีความผิดปกติมาปิดบังการมองเห็น แม้ช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่สัปดาห์หรือ 2-3 เดือน อาจทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจได้


ต้นตอและวิธีสังเกต
  1. สายตาสองข้างต่างกัน เช่น ตาข้างหนึ่งมีสายตายาว สั้น หรือเอียงมาก ขณะที่ตาอีกข้างมีสายตาปกติ ภาพที่ตกตรงบริเวณจอรับภาพของตาข้างที่มีสายตายาว สั้น หรือเอียงมากจะไม่ชัดเจน ทำให้สมองส่วนการมองเห็นของตาข้างนี้พัฒนาน้อยกว่าตาข้างที่สายตาปกติ ทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจได้
  2. ภาวะตาเหล่ เด็กที่มีอาการตาเหล่จะเห็นภาพซ้อน ซึ่งกดการทำงานของการมองเห็นในตาข้างที่เหล่ เพื่อกำจัดภาพซ้อน ภาวะที่เกิดการกดการมองเห็นไปนานๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไขนี้ ทำให้เป็นตาขี้เกียจได้
  3. มีการขัดขวางการมองเห็น เช่น หนังตาตก เป็นต้อกระจก เป็นต้น

วิธีสังเกตเบื้องต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่คือ ถ้าลูกมีอาการตาเหล่ หนังตาตก ลูกตาสั่น เอียงหน้ามอง ชอบหรี่ตามอง เวลามองต้องเพ่งมากๆ หรือเวลาเดินมักจะชนโต๊ะ เก้าอี้บ่อยๆ ควรรีบพามาพบจักษุแพทย์ เพราะโดยทั่วไปภาวะตาขี้เกียจมักมีสายตาแย่กว่า 6 / 12 หรือตาสองข้างที่มีระดับสายตาต่างกัน 2 แถวของ Snellen Chart การตรวจที่ได้ผลแน่นอนควรได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ครับ

ส่วนคุณพ่อคุณแม่มักสงสัยว่า เด็กเล็กแค่ไหนถึงตรวจตาได้ โดยทั่วไปจักษุแพทย์มักตรวจตาเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด ขณะที่ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีการตรวจการมองเห็นของเด็กโดยการวัดสายตา โดยคุณครูในโรงเรียนจะเป็นคนวัดสายตาเด็กวัย 4-6 ปี ถ้าเด็กคนไหนมีสายตาน้อยกว่า 6 / 12 หรือสายตาสองข้างต่างกัน มากกว่า 2 แถว จะส่งพบจักษุแพทย์ต่อไป

การรักษาเพื่อป้องกันปัญหาอื่น
วิธีการรักษาตาขี้เกียจมีด้วยกัน 4 วิธี คือ 
  1. รักษาโรคทางตาที่พบร่วมด้วย เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หนังตาตก เป็นต้น 
  2. ใส่แว่นแก้ภาวะสายตาผิดปกติ
  3. ปิดตาข้างที่มองเห็นได้ดี เพื่อกระตุ้นตาข้างที่มีภาวะตาขี้เกียจ ให้มองเห็นดีขึ้น
  4. หยอดยาหยอดตา Atropine ในตาข้างที่มองเห็นดี เพื่อทำให้การมองเห็นลดลง เพื่อที่จะกระตุ้นตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจให้มองเห็นดีขึ้น
ถ้าลูกมีภาวะตาเหล่ร่วมกับภาวะตาขี้เกียจ เรามักรักษาภาวะตาขี้เกียจให้ดีขึ้นก่อน แล้วจึงผ่าตัดแก้ไขภาวะตาเหล่ภายหลัง การรักษาภาวะตาขี้เกียจนี้จะได้ผลดีในช่วงเด็กๆ หรืออายุ 4-6 ปี ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้วการรักษามักไม่ได้ผล

ภาวะตาขี้เกียจเป็นภาวะผิดปกติของการมองเห็นที่พบได้บ่อย การตรวจพบที่ดีควรเป็นการตรวจคัดกรองสายตาโดยคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งถ้ามีความผิดปกติแล้วรีบส่งต่อจักษุแพทย์โดยเร็วรส จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ 

ล้อมกรอบโรคที่มักเกิดร่วมกับตาขี้เกียจ
  • โรคตาเหล่
  • โรคต้อกระจก ตั้งแต่เกิด
  • โรคต้อหิน ตั้งแต่เกิด
  • โรคหนังตาตก

โดย นิตยสาร modern mom 
ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/42727
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all