ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
เล่นคนเดียว สร้างสรรค์อย่างมีคุณภาพ
เล่นคนเดียว สร้างสรรค์อย่างมีคุณภาพ ถึงแม้หลายๆ งานวิจัยจะให้ความสำคัญของการเล่น โดยของเล่นที่วิเศษสุดของเขาก็คือพ่อแม่นั่นเอง แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาการเด็ก ต่างก็มีความเห็นว่า เด็กเองก็ควรที่จะมีเวลาเป็นของตนเอง ทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้ลองทำอะไรเอง แม้ว่าจะผิดจะถูก และหัดการพึ่งตนเอง ฝึกสมาธิ ได้ทำอะไรตามที่ตนเองต้องการทำ โดยไม่มีใครมากวนหรือชี้นำ

ประโยชน์ของการเล่นคนเดียว

ที่สำคัญคือ การที่เด็กได้มีโอกาสทำอะไรเอง และฝึกที่จะเล่นคนเดียวบ้าง ทำให้ความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองดีขึ้น และมีความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem)

ในขั้นตอนการพัฒนาการของเด็กปกตินั้น เด็กจะเริ่ม รู้สึกว่า ตนเองมีตัวตน และแตกต่างจากพ่อและแม่ ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 8 เดือน การให้เด็กเล่นคนเดียว เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักตนเอง และเป็นเพื่อนของตนเองได้ เด็กจะไม่รู้สึกเหงา หรือกลัว เมื่อต้องอยู่คนเดียว ดังนั้น เมื่อเขาโตขึ้น และเริ่มออกไปสู่โลกภายนอก เขาจะสามารถหาเพื่อนใหม่ได้เสมอ เพราะเขาชอบที่จะมีเพื่อน ไม่ใช่เป็นเพราะเขาเหงา ไม่อยากอยู่คนเดียว

เทคนิคง่ายๆ สอนหนูเล่นคนเดียว

การฝึกลูกน้อยให้เล่นคนเดียว นอกจากจะฝึกให้เด็กรู้จักสร้างความบันเทิงให้กับตัวเองแล้ว ถือเป็นการพัฒนาทักษะสำคัญอีกด้านที่ทำให้มีแนวโน้มสูงที่เด็กจะเฉลียวฉลาด เปี่ยมไปด้วยจินตนาการ และรู้จักพึ่งพาตนเอง โดยอาศัยเทคนิคดังต่อไปนี้

1. เติมกล่องของเล่นด้วยอุปกรณ์ที่สนับสนุนการเล่นสนุกตามลำพัง เช่น ของเล่นเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง การแต่งเติมความคิดสร้างสรรค์หรือการสมมุติเหตุการณ์ จิ๊กซอว์ ตัวต่อ สีเทียนกับกระดาษ หนังสือภาพ ตุ๊กตา เครื่องครัวเด็กเล่น ล้วนเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมทั้งสิ้น สลับสับเปลี่ยนกล่อง หรือเติมของเล่นใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับวัยของเขาอยู่เสมอ เพื่อดึงดูดความสนใจ

2. ไม่ควรปล่อยปละให้ทีวีเลี้ยงลูกเด็ดขาด เพราะเป็นสื่อสารเพียงด้านเดียว (One - way communication) ควรปิดซะ แล้วพาเด็กไปยังห้องที่เงียบ เปิดกล่องที่เต็มไปด้วยของเล่นแปลกใหม่และเริ่มกระตุ้นให้เขาหยิบมาเล่น ในช่วงแรก คุณแม่ควรเล่นเป็นเพื่อนลูกอย่างใกล้ชิด

3. หลังจากผ่านไป 2-3 ให้ค่อยๆ ลดการมีส่วนร่วมของคุณแม่ลง รวมทั้งเล่นสนุกและพูดคุยกับลูกให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนมาเป็นเฝ้ามองเขาเล่นแทน

4. ถอยห่างออกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมานั่งอ่านหนังสือบนเก้าอี้ แรกทีเดียวหนูน้อยอาจประท้วง แต่แรงต่อต้านจะค่อยๆ ลดลงทีละน้อย เมื่อเขาเริ่มสะดวกใจกับการเล่นคนเดียวมากขึ้น เงยหน้ามองเป็นระยะเพื่อกล่าวชม หรือเดินไปหาเขาเพื่อแสดงท่าทางสนับสนุน

5. เริ่มขอตัวออกจากห้องเป็นระยะเวลาสั้นๆ ขณะหนูน้อยกำลังสนุกกับของเล่นอย่างเต็มที่ โดยอาจอ้างว่า "ขอแม่ไปทำธุระก่อนนะ" หรือ "เดี๋ยวแม่กลับมา" จากนั้นค่อยแวะกลับมาหลังจากเวลาผ่านไปสองสามวินาทีเพื่อกล่าวชมเขา ที่สามารถเล่นคนเดียวได้อย่างสงบ ค่อยเพิ่มช่วงเวลาในการออกจากห้องให้นานขึ้น แต่ควรแวะกลับมาทุกครั้งเพื่อให้การสนับสนุน เสริมแรงโดยการกล่าวชมเชย ไม่นานคุณแม่ก็สามารถเดินออกจากห้องและกลับเข้ามาในห้องโดยที่เด็กไม่ทัน สังเกตได้ในที่สุด

ที่มาข้อมูล : http://motherandchild.in.th
ข้อมูลจาก : https://www.myfirstbrain.com/parent_view.aspx?ID=81988
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all