ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
ทำอย่างไรดี เมื่อเจ้าหนูไม่รักษาสมบัติส่วนตัว
ทำอย่างไรดี เมื่อเจ้าหนูไม่รักษาสมบัติส่วนตัว นับเป็นหนึ่งในเรื่องหนักอกหนักใจของพ่อแม่หลายท่าน เมื่อลูกมักหลงลืม และไม่รักษาสมบัติส่วนตัวอย่าง ดินสอ ยางลบ หรือไม้บรรทัดที่มักจะเก็บจากโรงเรียนกลับมาบ้านไม่ครบ จนต้องซื้อให้ใหม่อยู่เป็นประจำ หรือบางคนอาจนำกลับมาครบ แต่ของบางอย่างไม่ใช่ของของลูก แต่เป็นของของเพื่อนแทน

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ พญ.วรรณพักตร์ วิวัฒนวงศา จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น โรงพยาบาลเวชธานี บอก ว่า โดยธรรมชาติของเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาล เขายังห่วงเล่น และมักจะเพลิดเพลินกับการเล่นจนอาจหลงลืมกับของใช้ส่วนตัวก็เป็นได้

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงความรับผิดชอบ และการจัดการเพื่อดูแลรักษาสิ่งของของเด็กวัยดังกล่าว ยังไม่สามารถรับผิดชอบ และจัดการได้ดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อแม่ควรสอน และปลูกฝังให้ลูกมีความรับผิดชอบมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปี เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าสังคมเพื่อน

"ก่อนที่พ่อแม่จะลงโทษเด็กว่าไม่รักษาของให้ดี ควรมองปัญหาออกเป็น 2 ด้าน ซึ่งจริงอยู่ เด็กบางคนอาจไม่ดูแลรักษาของให้ดี แต่ในบางคนอาจถูกเพื่อนร่วมชั้นขโมยสิ่งของไปก็เป็นได้ ซึ่งในส่วนหลังนี้ หากหายบ่อยจนผิดสังเกต คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปคุยกับครูประจำชั้นเพื่อหามาตรการป้องกันต่อไป" จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นรายนี้กล่าว

อย่างไรก็ดี ในการปรับแก้พฤติกรรม และปลูกฝังให้ลูกมีนิสัยรักษาสมบัติส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องเรียน หรือสิ่งของอื่น ๆ จิตแพทย์เด็กท่านนี้ได้ให้แนวทางง่าย ๆ สำหรับพ่อแม่ ดังต่อไปนี้

- คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกเห็นก่อน ด้วยการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ เก็บของให้เป็นที่เป็นทาง ไม่วางระเกะระกะขวางทางเดิน

- ก่อนลูกไปโรงเรียนทุกวันควรมีการคุยกับลูกว่า วันนี้นำอุปกรณ์เครื่องเรียนอะไรไปโรงเรียนบ้าง เมื่อกลับถึงบ้านพ่อแม่ต้องคอยตรวจดูด้วยว่า ลูกนำกลับมาบ้านครบหรือไม่ เป็นการฝึกลูกให้รู้จักตรวจสอบความเรียบร้อยของสิ่งของทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ

หากลูกนำกลับมาไม่ครบ ควรจะสื่อสารกับคุณครูเพื่อไปถามหาของคืนในวันต่อไป แต่ถ้าลูกหยิบของเพื่อนติดมาด้วย ควรบอกให้ลูกนำไปคืนเพื่อนที่โรงเรียน

- ไม่ควรให้ลูกนำอุปกรณ์เครื่องเรียนไปโรงเรียนมากจนเกินความจำเป็น และสอนจัดเก็บให้เป็นสัดส่วนเพื่อง่ายต่อการเก็บ และการค้นหา

- ฝึกลูกรู้จักเก็บผ่านการเล่นของเล่น โดยมีพ่อแม่คอยบอก หรือลงไปช่วยเก็บใส่กล่องร่วมกับลูกหลังเล่นเสร็จ หากลูกเก็บเข้าที่เรียบร้อย ควรให้คำชื่นชมทันที เพื่อเสริมแรงให้ลูกรู้สึกอยากที่จะเก็บของให้เป็นระเบียบในครั้งต่อไป ช่วยลดพฤติกรรมเล่นทิ้งเล่นขว้างได้ไม่น้อย

- ในกรณีที่เด็กโตขึ้นมาหน่อย หากมีนิสัยขี้ลืม หรือชอบทำของหายอยู่บ่อยครั้ง อาจต้องใช้วิธีหักเงินค่าขนมในบางส่วน เพื่อให้เด็กไม่เคยชินกับการทำของหาย และได้ของใหม่ในทันที เป็นวิธีช่วยให้เด็กรู้จักหวง และรักษาของวิธีหนึ่ง

"หากแก้พฤติกรรมลูกไม่ได้ผล เด็กอาจมีภาวะอื่นแทรกซ้อนอยู่ก็เป็นได้ เช่น สมาธิสั้น สมองบกพร่อง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกมาประเมินกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และหาทางแก้ไขกันต่อไป" จิตแพทย์เด็กฝากทิ้งท้าย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ
ข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th/node/19002
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all