ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
มองดูเผินๆ แล้ว อวัยวะอย่างลำไส้ ไม่น่าจะสร้างปัญหาอะไรกับเจ้าตัวเล็ก แต่ใครจะรู้ว่า ถึงแม้ลูกจะยังเล็กอยู่ ก็เป็นโรคลำไส้ได้เหมือนกัน ว่าแต่โรคลำไส้แบบไหนบ้าง ที่เด็กขวบปีแรกมีโอกาสเป็นแล้ว เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

มองดูเผินๆ แล้ว อวัยวะอย่างลำไส้ ไม่น่าจะสร้างปัญหาอะไรกับเจ้าตัวเล็ก แต่ใครจะรู้ว่า ถึงแม้ลูกจะยังเล็กอยู่ ก็เป็นโรคลำไส้ได้เหมือนกัน ว่าแต่โรคลำไส้แบบไหนบ้าง ที่เด็กขวบปีแรกมีโอกาสเป็นแล้ว เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ มองดูเผินๆ แล้ว อวัยวะอย่างลำไส้ ไม่น่าจะสร้างปัญหาอะไรกับเจ้าตัวเล็ก แต่ใครจะรู้ว่า ถึงแม้ลูกจะยังเล็กอยู่ ก็เป็นโรคลำไส้ได้เหมือนกัน ว่าแต่โรคลำไส้แบบไหนบ้าง ที่เด็กขวบปีแรกมีโอกาสเป็นแล้ว เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ 

1. ติดเชื้อในลำไส้ ลำไส้อักเสบ หรืออุจจาระร่วงเฉียบพลัน 
อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เป็นสาเหตุของโรคลำไส้ที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ส่วนเด็กที่อยู่ในเขตเมืองมักเกิดการติดเชื้อไวรัส โดยไวรัสที่พบบ่อยที่สุดคือ ไวรัสโรต้า

จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2551 มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน 1,256,711 ราย อัตราป่วย 1,988.03 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งอัตราป่วยนี้เพิ่มขึ้นจาก 1,564.27 ต่อประชากรแสนคนในปี 2542) โดยกลุ่มอายุที่พบอุจจาระร่วงเฉียบพลันสูงสุด คือกลุ่มอายุ 0-4 ปี อัตราป่วย 9,691.3 ต่อประชากรแสนคน 

- สังเกตอาการ ลูกจะมีอาการอาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลวมีน้ำมาก หรือมีมูกเลือดปน อาจมีไข้ร่วมด้วย ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจมีอาการไอ น้ำมูกไหลร่วมด้วย ถ้าสูญเสียน้ำมาก จะมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง น้ำลายน้อย เบ้าตาลึก กระหม่อมบุ๋ม ปัสสาวะน้อยผิดปกติ ซึม ตัวเย็น ฯลฯ 

- ดูแลอย่างถูกวิธี สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลรักษาคือ การแก้ไขและทดแทนภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เด็กที่เสียชีวิตจากโรคลำไส้อักเสบมีสาเหตุจากการขาดน้ำอย่างรุนแรงจนช็อก ในกรณีที่ลูกขาดน้ำไม่มาก คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลเองที่บ้าน โดยให้ลูกดื่มสารละลายเกลือแร่ และกินอาหารตามวัย แต่ถ้ามีอาการขาดน้ำรุนแรงหรืออาเจียนมาก ก็ต้องนำไปพบแพทย์และอาจต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือด ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะทุกคน เนื่องจากการติดเชื้อในลำไส้ที่พบในเด็กมักเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ไม่รุนแรง 

- ป้องกันอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมนม น้ำ และอาหารให้สะอาด ควรต้มขวดนมและจุกนม ใช้ภาชนะปกปิดอาหารและน้ำเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจากแมลงวัน และคนที่ดูแลต้องมีสุขอนามัยที่ดี ล้างมือก่อนป้อนอาหารให้ลูก หมั่นเช็ดถูพื้น โต๊ะและล้างของเล่นบ่อยๆ เนื่องจากเด็กวัยต่ำกว่า 1 ปี มักชอบเอาของเล่นหรือมือเข้าปาก และทุกวันนี้มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้าซึ่งเริ่มให้ได้ตั้งแต่ทารกอายุ 6 สัปดาห์ แต่ไม่ใช่ว่าลูกจะไม่ท้องร่วงเลยนะคะ เพราะโรคนี้ยังมีสาเหตุจากเชื้ออื่นๆ ได้อีก

2. ลำไส้กลืนกัน 
ในทารกสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบริเวณส่วนปลายของลำไส้เล็กโตขึ้น เป็นจุดนำทำให้ลำไส้เล็กมุดเข้าไปในลำไส้ใหญ่

- สังเกตอาการ ลูกจะมีอาการร้องไห้เป็นพักๆ เนื่องจากปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นเมือกสีแดง และอาจอาเจียนร่วมด้วย

- ดูแลอย่างถูกวิธี ทำให้ลำไส้ที่กลืนกันคลายออก อาจใช้วิธีสวนแป้งหรือลมเข้าทางทวารหนัก แต่ถ้าลำไส้กลืนกันนานจนเกิดลำไส้ขาดเลือดมากหรือลำไส้ทะลุ จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด


3. ลำไส้อักเสบจากการแพ้โปรตีน 
ที่พบบ่อยที่สุดคือแพ้โปรตีนนมวัว รองลงมาได้แก่ โปรตีนจากถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล และถั่วเปลือกแข็ง

- สังเกตอาการ ลูกอาจมีอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายมีมูกเลือดปน

- ดูแลอย่างถูกวิธี ต้องให้ลูกงดอาหารที่แพ้ กรณีที่แพ้นมวัวแต่ไม่แพ้ถั่วเหลือง อาจให้ลูกกินนมถั่วเหลืองได้ แต่ถ้าแพ้ถั่วเหลืองด้วย ต้องเปลี่ยนเป็นนมพิเศษที่โปรตีนมีขนาดเล็กลง

ป้องกันอย่างไร พยายามให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวให้ได้นานอย่างน้อย 6 เดือน ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวมีปัญหาภูมิแพ้ ควรเริ่มอาหารเสริมหลังอายุ 6 เดือน และไม่ควรให้อาหารทะเลก่อนอายุ 1 ปีค่ะ


4. ลำไส้สั้น 
พบได้น้อย สาเหตุมักเกิดจากเด็กมีความผิดปกติของทางเดินอาหารแต่กำเนิด หรือเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงลำไส้ เมื่อรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จำเป็นต้องตัดลำไส้ออกบางส่วน

- สังเกตอาการ เด็กจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว มีน้ำปริมาณมาก และเลี้ยงไม่โต เนื่องจากลำไส้เล็กมีหน้าที่สำคัญในการดูดซึมน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหาร เมื่อเด็กถูกตัดลำไส้เล็กออกไปทำให้การดูดซึมดังกล่าวบกพร่อง

- ดูแลอย่างถูกวิธี กรณีที่ยังเหลือความยาวลำไส้เล็กพอประมาณ เด็กสามารถรับอาหารทางปาก หรือทางสายให้อาหารทางกระเพาะอาหารได้ แต่ถ้าลำไส้เล็กมีขนาดสั้นมากๆ จำเป็นต้องให้อาหารทางหลอดเลือดแทน ในต่างประเทศมีการผ่าตัดปลูกถ่ายลำไส้ในกรณีที่เด็กมีลำไส้สั้นมากและไม่สามารถหยุดการให้อาหารทางหลอดเลือด 


5.ท้องผูก 

ในเด็กเล็กมีสาเหตุหลัก 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีลำไส้ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น ผนังลำไส้ใหญ่ไม่มีปมประสาท ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งพบบ่อยกว่าคือ กลุ่มที่มีท้องผูกโดยลำไส้ปกติดี กลุ่มนี้มักมีสาเหตุจากกินผักผลไม้น้อย หรือเกิดจากเด็กเคยถ่ายอุจจาระแข็ง เบ่งยากหรือมีการฉีกขาดที่รูทวาร ทำให้กลัวการถ่ายจึงพยายามกลั้นอุจจาระไว้

- สังเกตอาการ เด็กกลุ่มที่มีลำไส้ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด อาจไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้เองตั้งแต่เกิด ต้องเหน็บหรือสวนทวารบ่อยๆ และอาจมีท้องอืดมาจากภาวะลำไส้ใหญ่อุดตัน 

ส่วนเด็กที่กินผักผลไม้น้อยหรือเคยถ่ายอุจจาระแข็ง เวลาที่ปวดท้องถ่ายเด็กจะมีพฤติกรรมกลั้นอุจจาระคือ เขย่งขา เกร็งขา ทำขาไขว้กันเป็นกรรไกร บีบก้น และมักหลบมุมไม่ให้ใครเข้าใกล้ ถ้ามีปัญหาไปนานๆ เด็กจะสามารถกลั้นได้เป็นเวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ แต่มีข้อยกเว้นในทารกช่วงอายุ 1-4 เดือน ที่กินนมแม่ อาจถ่ายอุจจาระห่างเป็นทุกๆ 7-10 วัน แต่อุจจาระก็นิ่มหรือเหลวเป็นปกติ ทารกเหล่านี้ไม่จัดว่ามีปัญหาท้องผูก และจะค่อยๆ กลับมาถ่ายอุจจาระถี่ขึ้นได้เอง

- ดูแลอย่างถูกวิธี ในกลุ่มที่ผนังลำไส้ใหญ่ไม่มีปมประสาท จำเป็นต้องรับการผ่าตัดเพื่อตัดลำไส้ส่วนที่ผิดปกติทิ้งไป ส่วนเด็กที่กินผักผลไม้น้อยก็ต้องพยายามหาวิธีชักจูงให้ลูกกินผักผลไม้ให้เพิ่มขึ้น อาจให้ดื่มน้ำลูกพรุน 

ส่วนเด็กที่ถ่ายอุจจาระแข็งทั้งที่กินผักผลไม้เพียงพอแล้ว ต้องให้กินยากลุ่มที่ทำให้อุจจาระนิ่ม เพื่อเด็กจะได้หายกลัวการถ่ายอุจจาระ ส่วนทารกที่กินนมแม่และถ่ายอุจจาระห่างแต่นิ่ม ไม่ต้องใช้สบู่หรือกลีเซอรีนเหน็บรูทวารเพื่อกระตุ้นให้เด็กถ่าย ปล่อยให้ทารกเบ่งถ่ายอุจจาระด้วยตนเอง

- ป้องกันอย่างไร ต้องฝึกให้ลูกกินผักผลไม้ และกินอาหารเสริมที่เหมาะสมตามวัย

6. ติ่งเนื้อในลำไส้
เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อลำไส้ 

- สังเกตอาการ ลูกจะมีอาการถ่ายอุจจาระมีเลือดปน โดยอาจไม่มีอาการปวดท้องก็ได้

- ดูแลอย่างถูกวิธี ถ้าเป็นติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ แพทย์จะส่องกล้องเข้าไปในรูทวารและตัดติ่งเนื้อได้เลย แต่ถ้าเป็นติ่งเนื้อที่ลำไส้เล็กจำเป็นต้องรับการผ่าตัด 

ทำความเข้าใจเรื่องลำไส้กับเด็กขวบปีแรกกันละเอียดขนาดนี้แล้ว เชื่อว่าแม่ๆ คงคลายกังวลไปได้ไม่น้อย การดูแลลูกเล็กไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งสำคัญคือความใกล้ชิดและการดูแลอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการรู้จักสังเกตด้วย เท่านี้ลูกก็ห่างไกลจากโรคและอาการต่างๆ เติบโตพร้อมสุขภาพที่แข็งแรงและพัฒนาการที่สมวัยแล้วค่ะ

ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/40684
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all