ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
เทคนิคปราบเจ้าหนู "กินยาก" ด้วย "ข้าวกล่อง"

เทคนิคปราบเจ้าหนู "กินยาก" ด้วย "ข้าวกล่อง" เป็นที่น่าหนักอกหนักใจแทน สำหรับคุณพ่อคุณแม่ลูกน้อยวัย 2 – 6 ขวบ ที่ต้องประสบปัญหาการกินของลูก ๆ และเชื่อว่าทุกครอบครัวก็ยากต่อการหลีกหนีกับปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนี้ เช่น ลูกไม่ชอบกินข้าว ไม่ชอบกินผัก เบื่ออาหาร อมข้าว หรือชอบกินแต่ขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลม พ่อแม่บางคนต้องเหนื่อยกับการต้องมาคอยหลอกล่อให้ลูกกินข้าว ซึ่งกว่าลูกจะกินได้แต่ละคำมันช่างยากเย็นแสนเข็ญ เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากเพื่อคลายความเหนื่อยใจของคุณพ่อคุณแม่ให้ลดลง

“อาจารย์สุวรรณี อาจหาญณรงค์” อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แนะสูตรเจริญอาหารให้กับบรรดาคุณพ่อคุณแม่ว่า ความจริงสิ่งสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่คุณค่าทางโภชนาการของอาหารเพียงอย่าง เดียว แต่ต้องสามารถล่อตาล่อใจหรือดึงดูดเด็ก ๆ ได้ด้วย

“ธรรมชาติ ของเด็กจะชอบอะไรที่มันน่ารัก สีสันสวยงาม และคงจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพ่อแม่ ในการเนรมิตรอาหารจานเดิม ๆ ให้เป็นอาหารจานพิเศษที่น่าตาน่ากิน เพราะว่ามีคู่มือในการทำอาหารและการจัดตกแต่งให้อาหารมีสีสันสวยงามจำนวนมาก ทั้งในรายการโทรทัศน์ หรือนิตยสารการทำอาหาร ”

อย่างไรก็ดี อาจารย์สุวรรณี แนะว่า “ข้าวกล่อง – ปิ่นโต” จะ เป็นตัวช่วยให้ลูกเจริญอาหารมากขึ้น ซึ่งการทำข้าวกล่องก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการนำอาหารที่ลูกจะต้องกินในแต่ละวันซึ่งเน้นให้ครบทั้ง 5 หมู่ มาจัดวางในกล่องหรือปิ่นโตให้ดูสวยงาม เพื่อเป็นการกระตุ้นความอยากของเด็ก

เมนูน่ากิน

เมนูแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ทำอาหารไม่เป็นจริง ๆ แต่อยากให้ลูกได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือ ข้าวกล่อง ป.ปลาตากลมหรือข้าวหน้าปลาแซลมอน ซึ่งเมนูปลาเป็นอาหารที่ย่อยง่ายและดีต่อระบบขับถ่ายเหมาะสำหรับเด็ก ๆ รวมทั้งยังได้ประโยชน์จากโอเมก้า 3 อีกด้วย

ส่วนประกอบ : ปลาแซลมอนย่าง, ข้าวสวย, ขนมปังแคร็กเกอร์รูปปลา, แครอท, ถั่วลันเตาลวกสุกและผักกาดหอม

วิธีการทำ
– อัดข้าวลงในแม่พิมพ์รูปปลา ตกแต่งหน้าตาด้วยถั่วลันเตาและผักกาดหอม
– จัดปลาแซลมอนย่าง (อาจทดแทนด้วยปลาชนิดอื่นก็ได้หากลูกไม่ชอบทานปลาแซลมอน) แครอทและถั่วลันเตาลวกสุกใส่ในกล่องให้มีสีสันที่สวยงาม
– จากนั้นตกแต่งด้วยขนมปังแคร็กเกอร์รูปปลา


เทคนิคเสริมให้ลูกกินเก่ง

นอกจากนั้นการให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำข้าวกล่อง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกระตุ้นการเจริญอาหารของลูกได้ เพราะว่าเขาจะเกิดความภาคภูมิในฝีมือการทำอาหารจากการลงมือจัดข้าวกล่องด้วยตัวเอง

หรืออาจจะเปลี่ยนบรรยากาศในการกินข้าวจากบนโต๊ะอาหารเดิม ๆ ที่สร้างความซ้ำซากจำเจ ฉะนั้นการรับประทานอาหารนอกบ้าน ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ให้ลูกน้อยสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น อีกอย่างจะทำให้เด็ก ๆ ตื่นเต้นและประทับใจกับอาหารมื้อนั้นอย่างแน่นอน
ข้าวกล่อง ป.ปลาตากลม

ข้อควรระวังในการทำข้าวกล่อง

เริ่มตั้งแต่การเลือกผลิตภัณฑ์หรือกล่องบรรจุอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ต้องใส่ ใจว่า มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ในการใช้บรรจุอาหารให้กับลูกน้อย สีของภาชนะจะต้องทนความร้อน ไม่เช่นนั้นจะมีสารเคมีปนเปื้อน ในอาหารได้ และต้องทนต่อการละลายของไขมันอีกด้วย

การหุงข้าวต้องไม่ให้แฉะเกินไป หรือจับตัวเป็นก้อนจนเกินไป เพราะจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าไม่น่ากินจนกลายเป็นคนกินยาก เคล็ดลับของการหุงข้าวให้น่ากินคือ การผสมข้าวสารประเภทข้าวเจ้า3 ส่วน ต่อข้าวเหนียว 1 ส่วน ซึ่งจะทำให้ข้าวเกาะตัวได้ดีขึ้น และเพิ่มความน่ากินด้วยการอัดข้าวลงในแม่พิมพ์รูปการ์ตูนต่าง ๆ

นอกจากนั้นยังมีข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งของการทำข้าวกล่อง คือ ต้องเลือกทำเมนูอาหารที่จะไม่เสียหรือบูดง่าย เพราะบางทีการไปเที่ยวนอกบ้านอาจเจออากาศที่ร้อนอบอ้าว ซึ่งตอนนี้ก็เข้าหน้าร้อนแล้ว และไม่ควรเป็นอาหารประเภทชุป ข้าวมันไก่ และข้าวผัดที่ผัดไม่ถึงไฟก็จะบูดง่าย แต่หากจำเป็นต้องเลือกเมนูนี้ ก็ควรทานในเวลา 2 - 3 ชั่วโมง มิฉะนั้นความหวังดีของพ่อแม่อาจกลายเป็นความหวังร้ายให้ลูกเจ็บป่วยได้

ข้อมูลจาก : http://www.vcharkarn.com/varticle/40553
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all