ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
5 วิธี ดูแล "ดวงตาคู่ใส" ให้ลูกน้อย

5 วิธี ดูแล "ดวงตาคู่ใส" ให้ลูกน้อย วันนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับดวงตาคู่สวยของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ พร้อมวิธีการดูแลประสาทสัมผัส ส่วนสำคัญที่ช่วยให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้จากการมองเห็นมาแนะนำกันค่ะ

1.สังเกตดวงตาสักนิด

หากมีอะไรผิดปกติหรือสงสัยว่าดวงตาของลูกจะมีปัญหา เช่นตาดำดูผิดปกติ, ตาลูกเหล่ (เป็นบางครั้งหรือว่าบางเวลา), หนังตาข้างใดข้างหนึ่งตกลง เป็นต้น คุณแม่ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากคุณหมอ หรือพาลูกไปพบจักษุแพทย์โดยตรง เพื่อตรวจหาสาเหตุ ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

การเช็กพัฒนาการด้านการมองเห็นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้รู้ว่ากำลังเกิดความผิดปกติกับดวงตาลูก เช่น ถ้า 3 เดือนแรกลูกยังมองเห็นได้ไม่ดี ไม่หันมองวัตถุ สิ่งของที่แกว่งไปมาได้ ก้ควรตั้งเป็นข้อสงสัย และรีบปรึกษาคุณหมอเช่นกันค่ะ
นอกจากนี้ คุณแม่ควรพึงระวังสังเกตเกี่ยวกับดวงตาลูกน้อย จากอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้ค่ะ

-ภาวะท่อน้ำตาตัน

เป็นอาการที่พบได้กับเด็กแรกเกิด ลูกน้อยจะน้ำตาไหลทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ร้องไห้ การดูแลเบื้องต้นในกรณีนี้ไม่ต้องถึงมือคุณหมอ คือ การนวดบริเวณหัวตา ตำแหน่งของถุงทางเดินน้ำตา แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบคุณหมอ (ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้น เมื่ออายุประมาณ 1 ปีไปแล้ว

- ภาวะติดเชื้อ

อาจมีขี้ตาสีเหลืองหรือสีเหลืองปนเขียวหรือหนังตาบวมแดงร่วมด้วย อาการเช่นนี้แสดงว่ามีเชื้อโรคเข้าตาลูก ทำให้ตาอักเสบ เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่มาจากฝุ่นละอองในอากาศ ไม่ควรนิ่งนอนใจรีบไปพบคุณหมอทันทีค่ะ

- ตาแฉะ

มักเกิดจากมีสิ่งที่แปลกปลอมเข้าไปในดวงตา ทำให้ลูกมีขี้ตามาก และอาจเกิดจากการแพ้สารเคมี (สารซิลเวอร์ไนเตรต) ที่หยอดตาหลังคลอด ทำให้มีอาการตาแฉะได้ คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดเช็ดขี้ตาให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ อาการแพ้จะค่อย ๆ หายไปเอง


2. ดูแลดวงตาให้ถูกวิธี

วิธีดูแลอย่างง่ายฉบับครอบครัวก็คือ การหมั่นดูแลเรื่องความสะอาด ทั้งเครื่องนอนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใบหน้า หรือดวงตาลูกอาจสัมผัส เช่น เปลี่ยนผ้ารองที่นอนหมอนที่ลูกหนุน เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ และถ้าสังเกตว่า ดวงตาลูกมีขี้ตาออกมา ให้ทำความสะอาด โดยใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกอุ่น ๆ เช็ดจากหัวตาไปยังหางตา และควรเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่เช็ดอีกข้าง

สำหรับการเลือกถุงมือ คุณแม่ควรให้มือน้อย ๆ ของลูกสัมผัสอากาศบ้าง เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน อาจเป็นปมปัญหาเรื่องผิวตามมารบกวน ถ้าเลือกวิธีโปร่งโล่งสบายก็ควรตัดเล็บมือ ดูแลความสะอาดเป็นเป็นสิ่งสำคัญค่ะ


3.ใช้ยาอย่างถูกวิธี

ดวงมีเนื้อเยื่อที่บอบบาง ติดเชื้อได้ง่ายดังนั้น การใช้ยากับเด็กเล็กจึงต้องระมัดระวัง เช่น การใช้ยาหยอดตา ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนหยอดตา ขณะที่หยอดต้องระวังไม่ให้หยดแตะกับตาหรือขนตา และเมื่อเปิดใช้แล้ว ควรเก็บยาไว้ในที่เย็นในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน และไม่ควรใช้ยาหยอดร่วมกับผู้อื่น ที่สำคัญยาหยอดตาต้องมาจากที่คุณหมอสั่งเท่านั้น


4. เรื่องต้องห้าม


หลีกเลี่ยงการพาลูกไปสถานที่ที่อาจเกิดอุบัติเหตุกับดวงตา เช่นสถานที่ที่มีฝุ่น ควันเยอะ ๆ ลมแรง หรือแสงแดดจ้ามาก ๆ รวมถึงไม่ควรแคะ แกะ เกา หรือทำอะไรกับดวงตาของลูก และเมื่อมีความต้องการใช้ยา ก็ไม่ควรซื้อยามาใช้กับลูกเองโดยเด็ดขาด ควรขอคำแนะนำจากคุณหมอหรือจักษุแพทย์โดยตรง เพื่อความปลอดภัยต่อดวงตาลูกน้อย


5.เปิดโลกกว้างทางสายตา

แม้ดวงตาเป็นอวัยวะเล็ก ๆ ที่ต้องดุแลให้ความสำคัญแล้ว ดวงตาของลูกน้อยยังสามารถเก็บบันทึกข้อมูล เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้นยิ่งส่งเสริมพัฒนาการด้านการมองเห็น ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของลูกมากเท่าไร ก็เท่ากับเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้ได้ดีมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยค่ะ

หลังจากรู้เคล็ดลับดี ๆ ในการดูแลดวงตาดวงน้อย ๆ ของลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของดวงตาลูก เพื่อให้ลูกมีดวงตาที่สดใส เปล่งประกายอยู่ตลอดเวลา


ที่มา: หนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ
ข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th/node/14960
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all