ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
กินยาอย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นไข้

กินยาอย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นไข้ ไข้หรืออาการตัวร้อนเป็นอย่างไร

1. ไข้หรืออาการตัวร้อน คือ อาการที่ลูกน้อยมีอุณหภูมิของร่างกายมากกว่าอุณหภูมิปกติโดยถ้าจับตัวดูจะพบว่าตัวร้อนผิดปกติ หรือหากวัดอุณหภูมิด้วยปรอทวัดไข้ ซึ่งเป็นการวัดอุณหภูมิที่แน่นอนกว่า จะพบว่าเมื่อวัดอุณหภูมิด้วยปรอททางปากจะมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส วัดด้วยปรอททางรักแร้จะมากกว่า 37 องศาเซลเซียส หรือวัดด้วยปรอททางทวารจะมากกว่า 38 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิของร่างกายของลูกสูงกว่าตัวเลขที่ระบุไว้ แสดงว่าลูกน้อยของท่านเริ่มมีไข้แล้ว

จะให้ลูกน้อยกินยาลดไข้อย่างไรดี

1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาลดไข้ที่นิยมใช้ โดยจะให้เมื่อลูกน้อยมีอาการไข้เท่านั้น โดยให้ทุก 4-6 ชั่วโมง หากไม่มีอาการหรือไข้หายแล้วไม่จำเป็นต้องใช้ ยาพาราเซตามอลมีทั้งรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำ ขนาดยาของพาราเซตามอลในเด็กจะต่างกันขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัวของเด็ก สำหรับชนิดน้ำที่นิยมใช้มีขนาด 120 มก. ต่อ ช้อนชา ( 5 ซีซี ) และชนิดหยดขนาด 10 มก. ต่อ 0.1 ซีซี การใช้ยาต้องใช้ขนาดตามที่แพทย์สั่ง และระมัดระวังในเรื่องการใช้อุปกรณ์ตวงยา โดยเพราะยาน้ำชนิดหยดเนื่องจากมีความเข้มข้นสูง จะต้องใช้หลอดดูดยาที่กำหนดให้เท่านั้น

ยาพาราเซตามอลในขนาดที่ใช้รักษาค่อนข้างจะมีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามหากได้รับยาเกินขนาดหรือได้ติดต่อกันนานเกินไปอาจจะเกิดพิษต่อตับได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งตับยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์

ยาลดไข้อื่น ๆ เช่น แอสไพริน (Aspirin) เป็นยาลดไข้ซึ่งไม่นิยมใช้ในเด็ก เนื่องจากหากเด็กเป็นไข้เนื่องจากไข้เลือดออก จะทำให้เลือดออกง่าย เป็นอันตรายต่อเด็กได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อลูกน้อยเป็นไข้แค่ไหน

1. อายุน้อยกว่า 3 เดือน พาลูกน้อยของท่านไปพบแพทย์ทันทีหากลูกน้อยของท่านมีอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ถึงแม้ว่าลูกน้อยของท่านยังไม่มีอาการป่วย

2. อายุ 3-6 เดือน พาลูกน้อยของท่านไปพบแพทย์ทันทีหากลูกน้อยของท่านมีอุณหภูมิสูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า ถึงแม้ว่าลูกน้อยของท่านยังไม่มีอาการป่วย หรือหากลูกน้อยของท่านมีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส นานเกินกว่า 24 ชั่วโมง

3. อายุ 6 เดือนขึ้นไป หากลูกน้อยของท่านมีอุณหภูมิประมาณ 38.5 องศาเซลเซียสให้ดูอาการ หากอุณหภูมิสูงขึ้นหรือไม่ลดมากกว่า 3 วัน ให้พาไปพบแพทย์ สำหรับเด็กที่มีอายุ 3 เดือนถึง 2 ปี หากอุณหภูมิสูงกว่า 39.5 องศาเซลเซียส ให้พาไปพบแพทย์ทันที ถึงแม้ว่าลูกน้อยของท่านยังไม่มีอาการป่วย

  
 ข้อมูลจาก : http://women.kapook.com/view10462.html
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all