ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
ใครมีเด็กดื้ออยู่ที่บ้าน…มาทางนี้!!

ใครมีเด็กดื้ออยู่ที่บ้าน…มาทางนี้!! แม้ว่าที่ผ่านมา เด็กๆ ชอบจะทำอะไรก็ตามด้วยความไร้เดียงสา ในขณะที่ผู้ใหญ่ก็มักพูดกันว่า ‘เด็กไม่รู้...ไม่ผิด’ แต่ในความไม่รู้นั้น มันเกิดคำถามตามมาว่าพ่อแม่ควรสอนให้เขารู้หรือไม่ ว่าการร้องไห้งอแงจะเอาของเล่นโดยไม่ฟังเหตุผลของพ่อแม่ การเอาแต่ใจตนเองอยากไปไหนมาไหน แล้วแสดงออกเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่ หรือการที่พ่อแม่สอนให้ช่วยเหลืองานบ้าน แต่เขากลับไม่อยากทำเพียงเพราะห่วงเล่นอย่างเดียวนั้น มันเป็นสิ่งที่ทำให้เขาไม่น่ารัก

และแน่นอนว่า หลายครอบครัวที่ประสบกับปัญหาเหล่านี้ บางคนหาทางออกโดยการตามใจลูกเสียทุกอย่างเพียงเพราะไม่อยากได้ยินเสียงร้องไห้งอแง หรือเบื่อที่จะฟัง รำคาญที่จะพูด ขณะที่บางคนอาจหาทางออกด้วยการลงไม้ลงมือ ทำโทษลูกตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้เขากลายเป็นเด็กมีปัญหามากที่สุด


ทั้งนี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้แนะวิธีที่พ่อแม่ควรปฏิบัติกับลูกอย่างถูกวิธีดังนี้

1. “เรียกลูก” เรียกให้เด็กสนใจฟังคุณ และหันมามองคุณก่อนจะบอกให้เด็กทำอะไร เช่น “ต้อม...มองหน้าแม่ ซิ... แม่จะบอกอะไรหน่อยครับ”

2. “ชมลูก” ชมเด็กทันทีที่เด็กหันมาให้ความสนใจที่คุณ เช่น “ดีมากครับ...ที่หันมามองแม่”

3. “พูดดี” ให้ใช้คำพูดที่ง่าย สั้น และชัดเจนทีละคำสั่ง เช่น “เอาล่ะ...ช่วยเอาผ้านี่ไปใส่ตะกร้าให้แม่ทีครับ”

ส่วนสิ่งที่พ่อแม่ควรระลึกไว้เสมอเพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติของลูกนั้นมีดังนี้

1. “อย่าสั่ง - คาดหวัง” สิ่งที่คุณต้องการให้เด็กทำต้องเป็นสิ่งที่เด็กทำได้ อย่าสั่งหรือคาดหวังให้เด็กทำในสิ่งที่เกินความสามารถของเด็ก
2. “อย่าพูดซ้ำ” ควรบอกให้เด็กทำงานทีละชิ้นเพียงครั้งเดียว ให้เวลา 5 วินาที สำหรับเด็กในการทำตามที่คุณบอก อย่าพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 หรือ 3
3. “อย่ายัดเยียด” หลีกเลี่ยงการบอกให้เด็กทำงานชิ้นที่ 2 ในขณะที่เขากำลังทำงานชิ้นแรกอยู่
4. “อย่าโลเล” ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะเด็ดขาดเอาจริงกับเด็กเวลาเด็กต่อต้านคุณ คุณก็ยังไม่พร้อมที่จะบอกให้เด็กทำอะไร

และเมื่อเด็กเชื่อฟัง ทำตามที่พ่อแม่บอกแล้ว สิ่งที่พ่อแม่ควรปฏิบัติมีดังนี้

1. “ชมทันที” ควรให้คำชมทันทีที่เด็กเริ่มทำตามที่คุณบอก เช่น “ดีมากครับ...ที่น้องโจลุกมาเก็บของเล่นทันทีที่แม่เรียก...แม่พอใจมากเลย”
2. “ชมอีกครั้ง” และให้คำชมอีกครั้งเมื่อเด็กทำงานที่คุณสั่งสำเร็จ เช่น “เยี่ยมจริงๆ...แม่เห็นเลยว่าหนูตั้งใจล้างจานพวกนี้จนสะอาด...เก่งมากคะ”
3. “ภาษากาย” อย่าลืมภาษากาย!!...แสดงความชื่นชมโดยการหอม กอด ลูบหัว ฯลฯ

แต่ทว่า หากลูกดื้อเกินกว่าที่คาดไว้ เมื่อเขายังไม่ทำตามสั่งภายใน 5 วินาที...พ่อแม่ควรทำดังนี้

1. “นับ 1...” พ่อแม่ควรเริ่มนับ “1...2...3” (ต้องมีการคุยกับเด็กเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่คุณบอกจะเกิดอะไรตามมา)
2. “ถึง 3...งานเข้า!!” หากนับถึง 3 แล้วเด็กยังไม่ทำตามที่คุณบอก ต้องเอาจริง เด็ดขาดในการลงโทษตามกฎที่ตกลงกันไว้ เช่น ริบของเล่น หักค่าขนม ปิดทีวี ปิดเกม ตัดสิทธิในสิ่งที่เด็กชอบ ฯลฯ อย่าดีแต่บ่น...ขู่ หรือใจอ่อน
3. “เงียบสงบ สยบความเคลื่อนไหว” เพิกเฉยหากเด็กทำท่าทางไม่เหมาะสม เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือแสดงความหงุดหงิดม่พอใจ เช่น บ่น งอน ปึงปัง โวยวาย ฯลฯ

ทั้งหมดนี้เป็นกลเม็ดที่พ่อแม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ซึ่งเด็กที่ดื้ออาจเชื่อฟังมากขึ้นอีก เมื่อพ่อแม่พูดกับเขาด้วยน้ำเสียงที่ราบเรียบ นุ่มนวล ไม่ใช้อารมณ์ ให้โอกาสเขาได้เลือกสิ่งที่พ่อแม่ต้องการให้ทำ (แต่สิ่งที่พ่อแม่กำหนดต้องเป็นสิ่งที่ยอมรับได้) เช่น

หากคุณต้องการให้เด็กอาบน้ำและแปรงฟัน คุณอาจจะพูดกับเด็กว่า “โอ๋...ได้เวลาอาบน้ำ แปรงฟันแล้วครับ...แม่ให้เลือกเอาว่าโอ๋จะอาบน้ำก่อน หรือแปรงฟันก่อนดีครับ” หากเด็กไม่ยอมเลือกอะไรเลย เตือนเด็กอีกครั้งว่าบทลงโทษของเราสำหรับเด็กที่ไม่เชื่อฟังคืออะไร โดยใช้คำพูดทำนองนี้ “แม่ก็จำเป็นต้องทำตามกฎที่เราคุยกันไว้.............”


ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ
ข้อมูลจาก : http://www.thaihealth.or.th/node/9101
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all