ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
ภาษาอังกฤษของลูกฝึกอย่างไรให้ได้ผลจริง

ภาษาอังกฤษของลูกฝึกอย่างไรให้ได้ผลจริง การเรียนรู้ภาษาอังกฤษของเด็กไทย ถือเป็นเรื่องท้าทายของพ่อแม่ยุคใหม่เป็นอย่างมาก เพราะภาษาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว ดังนั้นการสร้างฐานภาษาอังกฤษให้ลูกอย่างแข็งแรง จะเป็นตัวสร้างความได้เปรียบในสังคมที่มีการแข่งขันได้ดี นั่นแสดงให้เห็นว่า ครอบครัวไหนที่อึดกว่า ภาษาอังกฤษของลูกก็จะถึงเส้นชัยได้เร็วกว่า

กับเรื่องนี้ “ดร.ต้น-บงกช เศวตามร์” ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และพัฒนาการเด็ก สะท้อนในงาน Kids and School Tour จัดขึ้นที่โรงเรียนอนุบาลเซ็นต์จอห์น เมื่อเสาร์ที่ผ่านมาว่า ปัญหาเด็กไทย (บางคน) ไม่ชอบเรียนภาษาอังกฤษ เกิดจากพ่อแม่คาดหวังมากเกินไป ใจร้อนอยากจะให้ลูกพูดได้เร็ว แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจด้วยว่า การเรียนภาษามีระยะเวลาการเรียนรู้ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ต้องสอนแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะตามหลักพัฒนาการแล้ว เด็กเล็กจะสื่อสาร และโต้ตอบได้ช้า แต่เด็กจะได้ยิน โดยจะเก็บข้อมูลจากสิ่งที่พ่อแม่ป้อน พอเด็กเริ่มพูดได้ เขาจะเกิดความเข้าใจ และเรียนรู้ได้เร็ว

ดร.บงกช กล่าวต่อว่า การสอนของพ่อแม่ต้องให้ความรัก และความเข้าใจ รวมทั้งสอนให้ลูกสนุก และเล่นไปพร้อมกับลูก ที่สำคัญควรสร้างความมั่นใจในการพูดให้กับลูก ถ้าพูดไม่ตรงกับหลักไวยากรณ์ก็ไม่ควรตัดจังหวะการพูดของลูก เช่น “ผิดค่ะ ประโยคนี้ต้องใช้ Went นะคะ เพราะมันเป็นสิ่งที่หนูเล่าถึงเรื่องที่ผ่านมาในอดีต หนูจะใช้ go ไม่ได้ค่ะ ผิดนะคะลูก พูดใหม่” แต่ควรปล่อยให้ลูกพูดต่อไปให้จบ แล้วจึงค่อยแนะนำอีกที

อย่างไรก็ดี เทคนิคการสอนภาษาอังกฤษให้ดีนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจวิถีการเล่นของลูกด้วย เช่น ถ้าลูกชอบฟังเพลง ก็เอาเพลงอังกฤษมาร้องเล่นกับลูก ถ้าลูกเป็นคนไม่ชอบพูด ก็ควรหาเกมต่อคำศัพท์ หรือเกมต่อคำมาให้เขาเล่น แต่ถ้าเขาชอบวาดภาพ ก็หากิจกรรมที่เน้นการวาดภาพ เช่น มีคำศัพท์มาให้ อธิบายให้ลูกเข้าใจ และให้ลูกวาดตามความหมายของคำๆ นั้นออกมา เป็นต้น” ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาฯกล่าว

“หัวใจของการพูดภาษาอังกฤษที่ดีคือการสื่อสารการเข้าใจ ถ้าลูกได้พูด และเรากับเขาเข้าใจกัน ความถูกต้องทางไวยากรณ์ก็ไม่สำคัญ ผิดถูกค่อยสอนตอนลูกพูดจบ เพราะไม่เช่นนั้น เขาจะไม่มั่นใจ และไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษอีกเลย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่จะเกิดภาพฝังใจในตอนโตได้ง่าย” ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาฯ บอก
สอดรับกับ Mr. Tim Hughes วิทยากรผู้เชี่ยวชาญการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กจาก British Council (Thailand) บอกว่า อยากจะให้ลูกชินกับภาษาอังกฤษ พ่อแม่ต้องจัดช่วงเวลาที่ชัดเจนในการพูด เช่น หลังอาหาร หรือก่อนนอน 10-15 นาที ฝึกวันละ 3-4 คำ เริ่มจากใช้คำที่ง่าย และใช้กันทั่วไป เช่น อวัยวะตามร่างกาย เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มคำศัพท์ก่อนลูกจะพูดหรือสื่อสารได้

“เด็กเล็กส่วนมากจะรับรู้ภาษาจากการฟังและการอ่านของพ่อแม่ก่อน แต่เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะสามารถปล่อยออกมาได้เอง เช่น พูดได้ เขียนได้ แต่ทั้งนี้ต้องเริ่มจากการรับก่อน แต่การรับต้องรับอย่างสม่ำเสมอ และเป็นประจำด้วย ผสมกับกิจกรรมที่สนุก และเข้าใจง่าย” Mr.Tim กล่าว

สำหรับกิจกรรมที่จัดให้ลูกที่บ้านง่ายๆ Mr.Tim บอกว่ามีหลายกิจกรรมด้วยกัน คือ กิจกรรม Slap หรือตบคำศัพท์ ฝึกทักษะการฟัง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำรูปสิ่งของมา 5 สิ่ง (รองเท้า ถุงเท้า กางเกง เสื้อ และกระโปรง) มาอธิบายให้ลูกเข้าใจความหมายของคำศัพท์นั้นๆ ก่อน จากนั้นวางภาพดังกล่าวลงกับพื้น แล้วให้เด็กใช้ไม้ตีแมลงวันตบคำศัพท์ตามที่คุณพ่อคุณแม่บอก “เข้าไปตีคำว่า ซอกส์สิลูก”

อย่างไรก็ดี ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกจำนวนมากที่สามารถทำที่บ้านได้ เช่น ทายคำศัพท์ที่หายไป จะช่วยฝึกทักษะการพูด กิจกรรมจับคู่คำศัพท์ ช่วยฝึกทักษะการอ่าน และกิจกรรมสะกดคำ ฝึกทักษะการเขียน ซึ่งกิจกรรมที่นำมาใช้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกสนุก และไม่หงุดหงิดเมื่อลูกเล่นผิด เพราะจะทำให้ลูกขาดความมั่นใจ ส่งผลให้การเรียนภาษาอังกฤษด้อยไปด้วย

“ในช่วงลูกยังเล็ก เวลาที่พ่อแม่จะฝึกภาษาอังกฤษกับลูก อย่าตกใจว่าเขาไม่โต้ตอบกับเรา เพราะพัฒนาการของเขายังไม่พร้อม แต่เขาจะได้ยินเสียงของพ่อแม่ และจะเริ่มเก็บเสียงไปเรื่อยๆ กระทั่งเริ่มพูดได้ พ่อแม่ควรใช้ภาพประกอบ เพื่อให้ลูกเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นช่วงทดสอบความเชื่อมั่นของพ่อแม่ ดังนั้นลูกจะออกเสียงได้เร็ว พ่อแม่ต้องค่อยๆ ฝึก โดยเริ่มจากคำง่ายๆ และคำที่ลูกคุ้นเคยไปก่อน” Mr.Tim กล่าวทิ้งท้าย


ขอบคุณภาพประกอบจาก www.abccorner.com

ข้อมูลจาก : http://www.junjaowka.com
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all