ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
คุณควรตีลูกหรือไม่

คุณควรตีลูกหรือไม่ เรื่องนี้ต้องขยายค่ะ การสอนลูกนั้นเป็นเรื่องใหญ่ของคนเป็นพ่อเป็นแม่ซะนี่กระไร

คนไทยเราคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับคำว่า “สอนสั่ง” เช่น เดี๋ยวเขาจะหาได้ว่าพ่อแม่ไม่สั่งสอน เอ...คำว่าสั่งสอน กับ สอนสั่ง ต่างกันไหมหนอ....

ลอร่าคิดว่าต่างค่ะ บ่อยครั้งที่เรา “สั่ง” ลูก แต่ลืม “สอน” แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับความคิดจิตใจของลูกเอ่ย? ยิ่งถ้าพ่อแม่ทั้งสั่งทั้งตะโกนบอก หรือทั้งดุ ทั้งตี หรือกระทั่งด่าทอ จะเกิดผลกระทบอะไรกับใจน้อยๆ ของเด็กบ้างหรือไม่ คำตอบที่ได้รับจากการรับฟังงานเสวนา “positive discipline : Raising children without violence” จัดโดยองค์การช่วยเหลือเด็ก Save the Children (Sweden) น่าสนใจมากค่ะ 

แนวความคิดเรื่อง Positive Discipline หรือ การสร้างวินัยเชิงบวก ได้รับการประมวลค้นคิดมาจากท่านรองศาสตราจารย์ ดร.โจน อี เดอร์แรนท์ นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและนักวิชาการสังคมศาสตร์ครอบครัว ประเทศแคนาดา ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

"การสอนลูกนั้น ควรเริ่มต้นจาก ข้อ หนึ่งคือ พ่อแม่ต้องคิดให้ได้ว่าเป้าหมายการสอนของพ่อแม่คือ การสอนเพื่อให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้ ข้อสอง คือการวางแผนเพื่อใช้วิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ และข้อสามคือการหาทางแก้ปัญหาที่ใช้ได้ผลจริง 

การสร้างวินัยเชิงบวก เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อพัฒนาการสร้างวินัยในตนเองของเด็ก เป็นการสื่อสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความคาดหวัง กฎระเบียบและการกำหนดขอบเขตของพ่อแม่ เป็นการสอนทักษะที่เด็กจะใช้ได้ไปจนตลอดชีวิต เป็นการเสริมสร้างความสามารถความมั่นใจให้กับเด็กในการจัดการกับสถานการณ์ ที่ท้าทาย เป็นการสอนให้ลูกรู้จักความมีมารยาท การไม่ต้องใช้ความรุนแรงและการเข้าถึงจิตใจผู้อื่น มีความเคารพในศักดิ์ศรีของตนเองและผู้อื่น”

ฟังดูดีจัง แล้วจะต้องทำไงบ้างเพื่อให้ “คิดได้” แบบนี้บ้าง ดร.โจน ได้อธิบายว่าแนวคิดเรื่อง การสร้างวินัยเชิงบวก มีรากฐานมาจากการคิด 4 ขั้นตอน

เมื่อพ่อแม่ค่อยๆ ฝึกฝนไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องแล้วในที่สุดวิธีคิดของท่านก็จะค่อยๆ เปลี่ยนไปทีละน้อย และในที่สุดความชำนาญของท่านก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับด้วย

ข้อแรกคือ การคิดถึงเป้าหมายระยะยาวของเราสำหรับเด็กๆ

ข้อ ที่สอง คำนึงว่าเด็กๆ ต้องการที่จะรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติด้วยอย่างให้เกียรติ ให้ความเข้าใจ รู้สึกปลอดภัย และได้รับความรักจากผู้ใหญ่
รวมทั้งถามตัวเองว่าเด็กต้องรู้อะไรบ้างเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์ที่เกิด ขึ้น และร่วมกันแก้ปัญหา เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อจะให้สถานการณ์นี้ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายระยะยาว ที่วางไว้

ข้อที่สาม ทบทวนว่าเด็กในวัยนี้คิดและรู้สึกอย่างไร อยู่ในช่วงพัฒนาการแบบไหน ลองมองดูสถานการณ์จากมุมมองของเด็กๆ และคิดแบบเขาดู ลองถามตัวเองว่า ถ้าให้เด็กๆ อธิบายสถานการณ์ตอนนี้เขาจะพูดอย่างไร

ข้อที่สี่ จัดการแก้ไขกับสถานการณ์ด้วยวิธีการที่ทำให้เด็กๆ เห็นว่าเราให้เกียรติเขา ให้ข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นและจะนำไปสู่เป้าหมายระยะยาวของเราได้

โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง ถ้า ท่านอยู่ในสถานการณ์ที่ท้าทายเวลาที่เลี้ยงดูลูกๆ อยู่ ลองคำนึงถึงขั้นตอน 4 ขั้นนี้ก่อนที่จะตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่จะ ดุ ด่า ว่ากล่าว หรือ ตี เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายระยะยาวของเราได้

เด็กจะรู้สึกกลัว ไม่เข้าใจว่าเขาโดนตีหรือโดนดุเพราะอะไรและทำให้เขาสับสนว่าพ่อแม่คนที่รัก เขามากที่สุดสามารถใช้ความรุนแรงกับเขาได้ 

ดัง นั้น จงใช้สถานการณ์ที่ท้าทายนั้นในการสอนลูกเพื่อไปถึงจุดที่ลูกจะเติบโตขึ้น เป็นคนในแบบที่เราตั้งเป้าหมายไว้ให้จงได้ เป็นไงคะ ฟังแล้วก็คงคิดเหมือนกันใช่ไหมคะ ว่าสิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำก็คือการทำตัวของเราให้เป็นแบบอย่างที่ดีซะก่อน นั่นเอง


แหล่งที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ข้อมูลจาก : http://www.nong3narak.com
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all