ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
ในการประเมินสุขภาพเด็กนอกจากจะตรวจหาความผิดปกติหรือความบกพร่องทั้งทางร่างกาย พฤติกรรม และความรู้สึกนึกคิดแล้วแพทย์จำเป็นต้องประมวลข้อมูลเพื่อจะได้ทราบว่าเด็กคนนั้นเจริญเติบโตและแสดงพฤติกรรมและความสามารถสมกับวัยหรือไม่เพื่อจะได้ให้การวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาแต่เนิ่น ๆ ในรายที่เติบโตช้าหรือมีพฤติกรรมพัฒนาการช้า ส่วนในกรณีปกติหรือเร็ว แพทย์สามารถแจ้งให้บิดามารดาของเด็กทราบและแนะนำวิธีปฏิบัติ 
ที่เหมาะสมต่อไปทั้งในด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่พบ บ่อยในแต่ละวัน 

การประเมิน หมายถึง การวัดและนำผลของการวัดมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานแล้ว จึงตัดสินแปลผลได้ว่าสิ่งที่ถูกประเมินนั้นมีคุณภาพเป็นอย่างไร เช่น ถ้านักศึกษาทราบว่าเด็กชาย คนหนึ่งหนัก 10 กก. ก็ยังไม่สามารถประเมินการเติบโตของเด็กคนนี้ได้ถ้าไม่รู้ว่าเด็กอายุเท่าไร หรือสูงเท่าไร เพราะวัด (ชั่ง) น้ำหนักเด็กได้แต่ไม่ทราบจะไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานอะไร แต่ถ้าทราบว่าเด็กคนนั้นมีอายุ 12 เดือน จะสามารถประเมินได้ว่าเมื่อเทียบกับ 
มาตรฐานน้ำหนักตามวัย ซึ่งเท่ากับ 9 กก. แล้วเด็กคนนี้มีน้ำหนัก ตัวสูงกว่าเฉลี่ยเล็กน้อยถือเป็นปกติ แต่ถ้าเด็กคนนั้นมีอายุ 3 ปี เทียบกับมาตรฐานน้ำหนักตามอายุแล้ว จะพบว่าเด็กมีสภาพทุพโภชนาการ ระดับที่ 2 เป็นต้น

1. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก
การเติบโต (growth) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านขนาดของร่างกาย และอวัยวะซึ่งเกิดจากการ เพิ่มจำนวนเซลล์ การเพิ่มขนาดของเซลล์ และ matrix จึงสามารถประเมินการเติบโตได้โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความยาวหรือส่วนสูง ความหนาเส้นรอบวง เปรียบเทียบ 
สัดส่วน และจำนวนฟัน เป็นต้น 

การรวบรวมข้อมูลด้านการเจริญเติบโตของเด็กทำได้ทั้งจากการซักประวัติ และการประเมิน การเจริญเติบโตของเด็ก 
1.1 การซักประวัติการเจริญเติบโต 
1. ถามว่าเด็กมีน้ำหนักแรกเกิดเท่าไร หรือดูจากสมุดบันทึกสุขภาพของเด็ก 
2. ขอดูสมุดบันทึกสุขภาพ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวและส่วนสูงในระยะที่ผ่านมา 
3. ถ้าไม่มีสมุดบันทึกสุขภาพ หรือมีแต่ไม่ได้ลงบันทึกไว้ควรถามดูว่าเด็กเติบโตดีสม่ำเสมอหรือไม่ อาจเปรียบเทียบขนาดตัวเด็กกับพี่น้อง หรือเด็กที่มีอายุใกล้เคียงกัน 
4. สำหรับวัยเรียนตอนปลายหรือวัยรุ่น ควรถามด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างลักษณะทางเพศและเสียงหรือไม่ เด็กหญิงควรถามประวัติการมีประจำเดือนด้วย 

1.2 การประเมินการเจริญเติบโต และการแปลผล ดัชนีของการเจริญเติบโตในเด็กที่ใช้ทั่วไป ได้แก่ 
1.2.1 น้ำหนัก (แรกเกิด 3 kgs 1 ปี x 3, 3 ปี x 4, 5 ปี x 6) หรือ (อายุเป็นปี x 2 + 8 kgs) น้ำหนักตัวที่เหมาะกับอายุอย่างคร่าว ๆ 
1.2.2 ส่วนสูง (แรกเกิด 50 cms, 1 ปี 75 cms, 2 ปี 87.5 cms, 4 ปี 100 cms และ 10 ปี 130 cms) 
1.2.3 เส้นรอบศีรษะ (แรกเกิด 35 cms, 1 ปี 47 cms, 3 ปี 50 cms, 9 ปี 55 cms) 
1.2.4 ฟัน (ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น 6-10 เดือน ครบ 20 ซี่ เมื่ออายุ 2 1/2 ปี, ฟันแท้เริ่มขึ้น 6 ปี) 
1.2.5 การเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ (Secondary sex characteriatics) 
1.2.6 การเจริญเติบโตของกระดูก (Bone age)

การประเมินและแปลผล 
ใช้การวัดดัชนีดังกล่าวเทียบกับเกณฑ์ปกติของอายุในรูปของกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโต ซึ่งทำมาจากการวัดเด็กปกติอายุต่าง ๆ กัน จุดบนเส้นเปอร์เซนต์ไทล์ที่ 50 ซึ่งหมายถึง ค่าน้ำหนักหรือส่วนสูง ของเด็กปกติ คนที่ 50 ถ้าจัดให้เด็กวัยเดียวกัน 100 คน มาเรียงกันถือเป็นค่ากลาง ถ้าสิ่งที่วัดมีค่าอยู่ระหว่าง P97 และ P3 ถือเป็นปกติสำหรับวัยนั้น ๆ ถ้าต่ำกว่า P3 ถือว่าน้อยกว่าปกติ หรือขาดอาหาร และถ้ามากกว่า P97 ถือว่าใหญ่หรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ 

การบอกว่าเด็กคนหนึ่งเติบโตดีตามปกติหรือไม่นั้นจะต้องวัดจากน้ำหนักส่วนสูงและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามอายุ ถ้าอยู่ในระหว่างพิสัยปกติ คือ ค่าเฉลี่ย +2SD หรือจาก Percentile ที่ 3 ถึง Percentile ที่ 97 ถือว่าปกติตามอายุนั้น ๆ 

ในชุมชนที่มีปัญหาเด็กขาดอาหารมากจึงมีการคำนวนแบ่งชั้นตามความรุนแรง (Modified Gomez's Classification) เพื่อประโยชน์ในการแบ่งคัดเด็กตามความรุนแรงสำหรับ 

การดูแลรักษา
ตารางที่ 1 ระดับความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการ ดูกราฟน้ำหนักและส่วนสูงประกอบ




แต่การประเมินการเจริญเติบโตจากการวัดครั้งเดียว (cross sectional) นั้น มักมีข้อเสีย ตรงที่ไม่สามารถบอกการเพิ่มหรือการลดของขนาดตัวเด็กเพียงแต่บอกว่าขณะนั้นน้ำหนัก หรือส่วนสูงของเด็ก ถือเป็นปกติสำหรับวัยของเขาหรือไม่นั่นก็คือบอกภาวะเติบโตได้เฉพาะเมื่อเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ ชัดเจนแล้วเท่านั้น การประเมินการเจริญเติบโตที่ดีจึงควรติดตามวัดเด็กเป็นระยะ บันทึกไว้และจุดลงในกราฟ (longitudinal)จะเห็นแนวโน้มของการเพิ่มและลดได้ชัดเจน ช่วยให้วินิจฉัยภาวะ "โตช้ากว่าที่ควร" ได้เร็ว ก่อนที่เด็กจะตกลงสู่ภาวะทุพโภชนาการ เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับตัวเด็กเองว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรจึงดีกว่าที่จะเทียบกับค่าเฉลี่ยหรือเกณฑ์ปกติตามวัยอย่างเดียว เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านรูปร่าง ขนาดตัว และอุปนิสัยความเป็นอยู่

ถ้าเด็กเติบโตตามปกติ เส้นน้ำหนักที่จุดต่อกันจะขนานกับเส้น P50 ถ้ามีภาวะชะงักงัน โตช้า เส้นน้ำหนักจะราบ หรือถ้าน้ำหนักลดเส้นก็จะชี้ลงซึ่งแสดงว่าเด็กควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุและ แก้ไขปัญหาก่อนที่จะกลายเป็นภาวะทุพโภชนาการรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้การติดตามความเปลี่ยนแปลงนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการติดตามผลการรักษาหรือการให้โภชนบำบัดอีกด้วย

ในตลอดช่วงชีวิตมนุษย์ ส่วนสูงมีอัตราเพิ่มเร็วมากอยู่ 2 ช่วง คือระยะตั้งแต่ปฏิสนธิ ถึงอายุ 2 ปี และช่วงวัยรุ่น (รูปที่ 1) การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ ระยะไตรมาสที่ 2 และ 3 ดูใน Intrauterine growth chart สำหรับส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ ดูได้จากตารางที่ 2.1

นอกจากความสูงแล้วยังดูความเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนช่วงตัวบนต่อช่วงตัวล่าง (upper : lower ratio) ในตารางที่ 2.2 และยังดูสัดส่วนช่วงแขนต่อความสูงที่เปลี่ยนไปตามวัยด้วย (span : height)

2. การเติบโตของส่วนสูงปกติ
2.1. ส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กอายุต่าง ๆ



หมายเหตุ
1. ความสูงโดยประมาณเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะเป็น 2 เท่าของความสูงเมื่ออายุ 2 1/2 ปี 
2. อายุแรกเกิดถึง 3 ปี วัดส่วนสูงเป็นความยาวโดยวัดในท่านอนหงาย อายุเกิน 3 ปี วัดในท่ายืนตรง

2.2. สัดส่วนของความสูงอัตราส่วนช่วงบนต่อช่วงล่าง upper/lower ratio 



หมายเหตุ 
upper segment = ศีรษะถึงหัวเหน่า, lower segment = หัวเหน่าถึงส้นเท้า


2.3. สัดส่วนช่วงแขนต่อความสูง Span/Height Ratio
ช่วงกางแขน (Span) คือการวัดความยาวจากปลายนิ้วกลางข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง 
ในท่ากางแขนเหยียดตรงไปข้าง ๆ ระดับไหล่ 
- แรกเกิดมีช่วงกางแขนสั้นกว่าความยาวของร่างกาย 
- เด็กชายอายุ 7 ปี หรือเด็กหญิงอายุ 9 ปี มีช่วงกางแขนเท่ากับส่วนสูง 
- วัยหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่มีช่วงกางแขนยาวกว่าส่วนสูง 
- ช่วงกางแขนในเด็กชายจะยาวกว่าส่วนสูงประมาณ 2 ซม. 
- ช่วงกางแขนในเด็กหญิงจะยาวกว่าส่วนสูงประมาณ 0.5-0.8 ซม.

ตารางที่ 3 น้ำหนักตัวเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ 



ตารางที่ 4 ขนาดรอบศีรษะเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ 



หมายเหตุ
1. ในระยะ 6 เดือน ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเดือนละ 1.5 ซม. 
ในระยะ 6 เดือนหลัง ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเดือนละ 0.5ซม. 
ในขวบปีที่ 2 ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปีละ 2-3 ซม.
ในขวบปีที่ 3 ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปีละ 0.5-2 ซม. 
อายุ 3-10 ปี ศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 1 ซม. ทุก ๆ 3 ปี 

2. Anterior fontanelle ปิดเมื่ออายุ 18 เดือน 
Posterior fontanelle ปิดเมื่ออายุ 6 สัปดาห์

ตารางที่ 5 Bone Age การปรากฎของศูนย์การเกิดกระดูกจากภาพรังสีของกระดูกมือและข้อมือใน เด็กชาย



หมายเหตุ
- การแปลผลภาพรังสีของศูนย์การเกิดกระดูก ให้ถือว่าเป็นปกติ ถ้าสูงกว่า อายุจริงไม่เกิน 1 ปี และต่ำกว่าอายุจริงไม่เกิน 2 ปี 
- เด็กหญิงจะมีศูนย์การเกิดกระดูกเร็วกว่าเด็กชายเล็กน้อย

ตารางที่ 6 การเจริญเติบโตของฟัน (dental growth)
6.1. ฟันน้ำนม (deciduous teeth) 



หมายเหตุ
1. มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ฟันหน้าซี่บนขึ้นก่อนฟันหน้าซี่ล่างอายุที่ฟัน น้ำนมขึ้น ก็แตกต่างกันได้มาก 
2. เด็กปกติบางคนฟันอาจจะขึ้นเมื่ออายุ 1 ปี หรือเด็กอาจจะมีฟันตั้งแต่ก่อน 6 เดือนได้ ฟันน้ำนมจะขึ้น ครบเมื่ออายุประมาณ 2 1/2 ปี 
3. ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดเมื่ออายุประมาณ 6 ปี โดยมีฟันแท้ (Permanent teeth) 32 ซี่ ขึ้นตามลำดับดังนี้

6.2. ฟันแท้ (permanent teeth) .



ตารางที่ 7 การเจริญเติบโตในวัยรุ่น (pubertal changes : secondary sex characteristics)

7.1. ขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ (pubic hair) มีการเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 5 ระยะ 
ระยะที่ 1 ระยะก่อนวัยรุ่นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ 
ระยะที่ 2 จะเริ่มมีขนที่เนินหัวเหน่า (mons pubis) บาง ๆและขนเป็นเส้นตรง มีสีดำเล็กน้อย 
ระยะที่ 3 ขนจะดำ เส้นหยาบและขอดปลาย ขอบเขตมีเฉพาะที่ส่วนเนินหัวเหน่าที่อยู่ติดกับอวัยวะสืบพันธุ์ 
ระยะที่ 4 ขนมีลักษณะเหมือนของผู้ใหญ่ แต่ปกคลุมเฉพาะอยู่ที่เนินหัวเหน่ายังไม่ เป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม
ระยะที่ 5 ลักษณะขนเหมือนของผู้ใหญ่และขยายออกเป็นบริเวณสามเหลี่ยม โดยเกิดขึ้นที่ด้านในของต้นขา 

ในเด็กชายและเด็กหญิงมีระยะการเติบโตของ pubic hair เหมือนกัน และการเติบโตของ pubic hair นี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์

7.2. การเติบโตของเต้านมในเพศหญิง แบ่งเป็น 5 ระยะ 
ระยะที่ 1 ระยะก่อนวัยรุ่น มีลักษณะเหมือนเต้านมของเด็ก (infantile appearance) มี หัวนม (papilla) สูงขึ้นเล็กน้อย
ระยะที่ 2 เต้านมและหัวนมนูนสูงขึ้น ลานหัวนม (areola) ขยายใหญ่ขึ้น
ระยะที่ 3 เต้านมและลานหัวนมเติบโตขึ้นมีขนาดใหญ่ขึ้นอีก
ระยะที่ 4 ทั้งลานหัวนมและหัวนมจะนูนยื่นออกมาพ้นเต้านม ทำให้มีลักษณะเป็นสองตอน
ระยะที่ 5 บริเวณลานหัวนมอยู่เป็นส่วนหนึ่งของรูปร่างลักษณะของเต้านม มีเพียงหัวนม (papillae) เท่านั้นที่ยื่นออกมา 


ที่มา : 
เรื่อง การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก

ชั้นเรียนที่สอน นศพ.ปีที่ 4 
อาจารย์ผู้สอน พญ.นิตยา คชภักดี 

จุดประสงค์
1. สามารถประเมินการเจริญเติบโต 
2. ทดสอบระดับพัฒนาการของทารกและเด็กปกติวัย 0-5 ปี ได้อย่างคร่าว ๆ 

เนื้อหาวิชา
1. วิธีการรวบรวมข้อมูลด้านการเจริญเติบโต ตั้งแต่การซักประวัติ การวัดการเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนัก ความสูง ศีรษะ สัดส่วนของร่างกาย อายุ กระดูก และการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเปรียบเทียบและแปลผล 

2. การทดสอบและการแปลผลระดับพัฒนาการตามวัยจนถึงอายุ 5 ปี ใน พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ gross motor, fine motor, language & personal 
social โดยเน้น - ทารกแรกเกิด 16, 28, 40, 52 สัปดาห์ 15,18 เดือน 2, 3, 4, 5 และ 6 ปี

3. ประโยชน์ของการประเมินการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก
  
 ข้อมูลจาก : http://library.ra.mahidol.ac.th/Lecture/Develo~1.htm
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all