ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
การเล่นช่วยสมองลูกพัฒนา
การเล่นช่วยสมองลูกพัฒนา มีความคิดสร้างสรรค์ มองโลกแง่ดี ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงครเปิดโอกาสให้ลูกน้อยเล่นอย่างอิสระ และต้องไม่ลืมที่จะเล่นกับลูกด้วย...

โลกการเรียนรู้ของเด็ก "การเล่น" มีประโยชน์ ต่อเด็กๆ ช่วยเสริมทักษะด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ เป็นไปอย่างเหมาะสม นักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก จึงเสนอ PQ (Play Quotient) ความฉลาดในการเล่นให้คุณพ่อคุณแม่ได้เรียนรู้ โดย นพ.จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลวนารมย์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต เปิดเผยว่า พีคิว หมายถึงความฉลาดในการเล่น เด็กที่มีพีคิวดีจะสามารถประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ ส่วนตัว ความรู้และจินตนาการผสมผสานกับการเล่นได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การให้เด็กได้มีโอกาสเล่นของเล่นจึงมีความสำคัญ โดยเด็กในขวบปีแรกอาจจะสนใจเล่นตามลำพัง แต่ยังสนใจเล่นกับพ่อแม่ พออายุ 2 ขวบ ก็จะสนใจสิ่งรอบข้างมากขึ้น เล่นกับเด็กอื่นๆได้ และเมื่อเริ่มเข้าขวบที่ 3 เด็กก็จะเริ่มเล่นกับเพื่อนๆมากขึ้น มีการแบ่งปันกันบ้าง พออายุ 4-5 ขวบ จะเล่นเป็นกลุ่มรวมกันทำกิจกรรมต่างๆ หรือเล่นบทบาทสมมติกับเพื่อนๆ จนถึงวัยประถม การเล่นก็จะเริ่มมีกฎกติกามากขึ้น

คุณหมอจอมยังบอกอีกว่า เมื่อการเล่นเป็นกิจกรรมหลักของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด พ่อแม่จึงควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระและเต็มที่ และไม่ควรลืมที่จะเล่นกับลูกด้วย แต่ไม่ควรเป็นผู้นำการเล่นเสียเอง ควรปล่อยให้ลูกได้เป็นผู้นำและพ่อแม่เป็นผู้ตาม เพื่อให้เขาได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ เขาจะดีใจที่ได้คิด ได้แก้ปัญหาและได้ทำจนสำเร็จ นอกจากนี้พ่อแม่ก็ไม่ควรลืมชมเชยเมื่อลูกน้อยทำสิ่งต่างๆได้สำเร็จ

ด้าน ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และอาจารย์ประจำสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า ปัจจุบันการเล่นของเด็กมีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะได้รับประสบการณ์โดยตรงจากการลงมือทำ จึงเกิดการคิดวิเคราะห์ ก่อให้เกิดจินตนาการ ซึ่งพอทำได้สำเร็จก็จะเกิดความภาคภูมิใจและเกิดความทรงจำที่ประทับอยู่ในจิตใจ จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มองโลกในแง่ดี และมีทัศนคติที่ดีในอนาคต ส่วนเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นด้านการเล่น สมองในส่วนนี้ก็จะไม่ได้รับการกระตุ้น พัฒนาการก็จะถดถอย ความอยากรู้อยากเห็นน้อยลง ต้องให้พ่อแม่คอยจ้ำจี้จ้ำไชถึงจะลงมือ

ส่วนของเล่นที่ควรให้เด็กเล่นนั้น อาจารย์จิตราแนะนำว่า ควรเป็นของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย เช่น วัยแรกเกิดมองเห็นเลือนราง ของเล่นที่ดีที่สุดคือใบหน้าของพ่อแม่ และการพูดคุยกับลูก วัยแรกเกิด จนถึง 1 ขวบ ควรเป็นของเล่นที่มีเสียงและมีสีสันอย่างโมบายตุ๊กตา หรือตุ๊กตานุ่มๆ หรือพลาสติกที่มีพื้นผิวแตกต่าง เพื่อให้ลูกได้บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก, วัย 1-2 ขวบ สามารถเดินได้เอง ควรเป็นประเภทลากจูงได้ เช่น รถไฟหรือรถลากต่อกันเป็นขบวน, วัย 3 ขวบขึ้นไปควรเป็นของเล่นที่แยบยลขึ้น เน้นจินตนาการเป็นนามธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น อุปกรณ์ทำอาหาร แต่งตัวตุ๊กตา ต่อจิ๊กซอว์ เลโก้ เป็นต้น ทั้งนี้ ของเล่นที่จะซื้อให้เด็กควรขึ้นอยู่กับความชอบความสนใจของเด็กด้วย ที่สำคัญพ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มากกว่าเป็นของเล่นประเภทรถบังคับหรือเกมสำเร็จรูป เพราะจะทำให้เด็กไม่ค่อยได้ใช้จินตนาการและไม่ สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ 

ขอบคุณที่มา : ไทยรัฐออนไลน์

ข้อมูลจาก : http://www.thaibizcenter.com
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all