ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
อาการกวนใจแม่ตั้งครรภ์
อาการกวนใจแม่ตั้งครรภ์ ตลอดช่วงเวลา 9 เดือนของการตั้งครรภ์ คุณแม่หลายท่านต้องฝ่าฟันบททดสอบแห่งความยากลำบากมากมาย จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตน้อยๆ ในครรภ์ อาการเหล่านี้แม้จะเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงก้าวแรกเริ่มของการทำหน้าที่ “แม่” ซึ่งจะต้องมีทั้งความอดทน และการเสียสละ ฉะนั้นการได้ล่วงรู้ถึงสาเหตุ และวิธีการดูแลตัวเอง ก็ทำให้ว่าที่คุณแม่คนใหม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ด้วยความรู้สึกปลาบปลื้ม และเป็นสุขใจขึ้นมาได้ 

อาการเด่นที่กวนใจแม่มือใหม่ มีดังนี้

1. ปัสสาวะบ่อย
เป็นอาการปกติสำหรับคนท้องเดือนแรกๆ เพราะระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นทำให้ปัสสาวะออกบ่อย  เมื่อคุณตั้งครรภ์ผ่านพ้น 3 เดือนแรกไปแล้ว อาการนี้ก็จะหายไปได้เองและจะเป็นอีกครั้งในช่วง ท้ายของการตั้งครรภ์ เนื่องจากมดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ 

การแก้ไข
หากคุณรู้สึกรำคาญที่ต้องลุกไปห้องน้ำบ่อยๆในตอนกลางคืนอาจดื่มน้ำให้น้อยลงในตอนเย็น
ก็จะช่วยได้ที่สำคัญคือหากมีอาการแสบขัดร่วมด้วย คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที 

2. จุกเสียด
เกิดขึ้นเพราะกระเพาะอาหารพองตัวและเกิดการสำรอกของกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

การแก้ไข
คุณอาจดื่มน้ำมากๆ หรือปรึกษาคุณหมอให้ช่วยสั่งยาลดกรดที่ปลอดภัยให้กับคุณ ไม่ควรซื้อ ยากินเอง เพราะยาลดกรดบางประเภทจะมีส่วนผสมของโซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งอาจจะเป็น อันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ 

3. ขาเป็นตะคริว
เกิดจากระดับของแคลเซียมในเลือดลดต่ำลง และอาจเกิดจากการไหลของเลือดขาช้าลง 

การแก้ไข
การนอนยกขาให้สูง ให้ดื่มนมให้มากจะช่วยลดโอกาสอาการนี้ได้ การนวดและใช้ความร้อน ประคบจะทำให้ตระคริวหายเร็วขึ้น 

4. ริดสีดวง

เกิดจากการติดขัดของระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกายส่วนล่างในระยะตั้งครรภ์ทำให้เกิด เส้นเลือดขอดที่ทวาร มักจะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์อาการที่เกิดขึ้นจะมี ตุ่มพองสีคล้ำเป็นกลุ่มอยู่รอบรูทวารหนักหรือในส่วนล่างของลำไส้ใหญ่ส่วนสุดท้ายทำให้มีอาการ เจ็บ หรือมีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ 

การแก้ไข
ถ้ายังไม่เป็น คุณควรควบคุมการขับถ่ายให้เป็นไปตามปกติทุกวัน รับประทานผักผลไม้ และดื่มให้มากจะช่วยป้องกันการเกิดอาการได้ แต่หากเป็นแล้ว เกิดเจ็บเวลาขับถ่ายให้นำเอาอ่างใส่น้ำอุ่น จัดๆ มานั่งแช่ ใช้มือช่วยดันเอาหัวริดสีดวงทวารเข้าไปทุกครั้งหลังถ่ายจะทำให้ไม่เป็นมากขึ้น 

5. ท้องผูก
เนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ในคนท้องจะช้าลง ทำให้การขับถ่ายเป็นไปได้ยากขึ้น 

การแก้ไข
รับประทานผักผลไม้ให้มากๆ 

6. ปวดหลัง
เกิดจากการที่คุณอยู่ในท่าแอ่นท้องเพื่อรับน้ำหนัก ทำให้กล้ามเนื้อหลังถูกยึดตึง ประกอบกับ การที่เอ็นและข้อของช่องเชิงกรานหย่อน ทำให้เกิดอาการปวดหลังโดยเฉพาะบริเวณล่างๆ 

การแก้ไข
การนอนพักให้มากๆ บนที่นอนที่ค่อนข้างแข็งและใช้น้ำร้อนประคบหลังจะช่วยได้ ถ้าเป็นมาก
อาจต้องให้ผ้าพยุงหน้าท้องช่วยอีกแรง 

7. วิงเวียนศรีษะ เป็นลม หน้ามืด


ขณะตั้งครรภ์ปริมาณเลือดจำนวนมากจะถูกกักเก็บไว้ในช่องท้องเพื่อใช้เลี้ยงทารกในครรภ์  ทำให้เลือดแดงไหลขึ้นไปเลี้ยงสมองของคุณแม่ 

การแก้ไข
นั่งชันเข่าแล้วก้มศรีษะหาเข่า หรือนอนลง 

8. แน่นหน้าอก

ในระยะท้องแก่ มดลูกจะอยู่สูงและเบียดกะบังลม ทำให้เคลื่อนขึ้นลงของกะบังลมไม่สะดวก จึงทำให้คุณแม่มีอาการแน่นหน้าอกขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่รู้สึกเหนื่อยมาก 

การแก้ไข
หลีกเลี่ยงการยกของหนักๆ และไม่ขึ้นบันไดสูงๆ หรือหลายๆ ขั้น หากเกิดอาการในตอน กลางคืน ให้ใช้หมอนสัก 2-3 ใบ หนุนไหล่ให้สูงขึ้น 

9. ขาบวมเท้าบวม
ช่วงท้ายของการตั้งครรภ์เนื้อเยื่อของร่างกายจะอุ้มน้ำเอาไว้มาก ประกอบกับการไหลเวียน ของเลือดที่ขาไหลไม่ค่อยสะดวก จึงทำให้เกิดอาการบวมบริเวณข้อเท้าขึ้นได้ 

การแก้ไข
ลดอาหารเค็มลงอาการก็จะดีขึ้นได้เอง แต่ถ้าเป็นมาก คุณหมออาจสั่งยาขับปัสสาวะให้กับคุณ ที่สำคัญคุณควรระวัง ถ้าหากอาการบวมเป็นมาก โดยลามมาที่ขา หน้า และมือด้วย อาจเป็นอาการ เริ่มต้นของโรคครรภ์เป็นพิษได้ คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
  
 ข้อมูลจาก : http://www.elib-online.com
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all