ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
เลี้ยงลูก...ผ่านวิกฤตการหย่าร้างของพ่อแม่
เลี้ยงลูก...ผ่านวิกฤตการหย่าร้างของพ่อแม่ เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ครอบครัว” เรา มักจะนึกถึงพ่อแม่และลูก แต่ปัจจุบันครอบครัวเปลี่ยนไปมีความหลากหลายมากขึ้น การสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นภายในครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งโดยเฉพาะ ครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว (Single-Parent Families) ที่ต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค เมื่อต้องรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจ ดูแลบ้าน และยังต้องทำหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่ในคนคนเดียวกัน 

เลี้ยงลูก...ผ่านวิกฤตการหย่าร้างของพ่อแม่ ดร.ลูอิส วี. ไนติ้งเกล นักจิตวิทยาคลินิกแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ให้คำแนะนำว่า

• ควรซื่อสัตย์กับลูก อย่า พยายามหลอกลูก เพราะความจริงแล้ว เด็ก ๆ นั้นรับรู้ได้ดี เขารู้ว่าพ่อแม่ปิดบังความจริงเขาอยู่ แม้ว่าคุณจะทำไปเพราะรักษาความรู้สึกของพวกเขาก็ตาม เด็ก ๆ ต้องการเพียงแค่คำบอกเล่าง่ายๆ ที่จะทำให้พวกเขาเข้าใจ โดยไม่ต้องตำหนิหรือต่อว่าอีกฝ่าย

• บอกลูกว่าไม่ใช่ความผิดของเขา เด็ก ๆ อาจคิดว่า การที่พ่อแม่ต้องหย่าร้างนั้นเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องรับผิดชอบ พ่อหรือแม่จะต้องให้ความมั่นใจลูกบ่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ของการหย่าร้าง ให้บอกเขาอย่างนุ่มนวลว่า การที่พ่อแม่ต้องหย่าร้างกันนั้น มาจากการตัดสินใจของพ่อแม่เอง ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกระทำของลูก

• ตั้งใจฟังลูก เด็ก ๆ มักมีคำถามมากมาย มีความรู้สึกหลากหลายเกิดขึ้น รวมถึงความรู้สึกไม่แน่ใจ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความหย่าร้างของพ่อแม่ พ่อแม่หลายคนพบว่าเป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะฟังเหตุผลลูก โดยไม่ขัดจังหวะ เด็ก ๆ ต้องการให้พ่อแม่ตั้งใจและรับฟังความรู้สึกในใจของพวกเขาอย่างจริงจัง

• ให้ลูกแสดงความรู้สึกออกมา ให้ลูกรู้ว่าไม่ว่าเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อการหย่าร้าง พ่อแม่ก็รับได้ และต้องการให้ลูกบอกความรู้สึกออกมา เด็กหลายคนซ่อนหรือเก็บกดความรู้สึกเสียใจ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความสับสนต่าง ๆ ไว้ภายใน เพราะกลัวว่าถ้าหากแสดงออกมาจะทำให้พ่อแม่เสียใจหรือโกรธ เด็ก ๆจำเป็นต้องรู้ว่าความรู้สึกต่าง ๆ ของเขาเป็นเรื่องปกติและพ่อแม่สามารถยอมรับได้

• เข้าใจความรู้สึกลูก เด็ก ส่วนใหญ่ ต้องการที่จะให้พ่อแม่กลับมาคืนดีกัน และมักไม่แน่ใจว่าความต้องการนี้พ่อแม่จะรับได้หรือไม่ ความต้องการนี้เป็นเรื่องธรรมดา พ่อหรือแม่ควรอธิบายให้ลูกรู้ว่าการหย่าร้างนั้นยากที่จะให้ทุกอย่างกลับมา เหมือนเดิมได้ และความต้องการของพวกเขาที่จะให้พ่อแม่มาคืนดีกันนั้น ไม่ใช่ความผิด

• ให้การรับรองหรือความมั่นใจแก่ลูก ให้ความมั่นใจกับลูกเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยหลังการหย่าร้าง เด็ก หลายคนวิตกกังวลว่า ถ้าพ่อแม่ของเขาหย่าร้างกันแล้วจะทำให้พวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย อาหารการกิน รวมถึงเสื้อผ้า ฯลฯ เด็กต้องการความมั่นใจว่าพ่อหรือแม่ได้วางแผนรับมือที่จะปกป้องพวกเขาจาก สิ่งไม่ดีต่างได้แน่นอน

• ทำความเข้าใจกับลูก คุณควรถามความคิดเห็นของลูกที่มีต่อการหย่าร้างของพ่อแม่เพื่อนพวกเขา เพราะ เป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้รู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของลูก และเป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะได้บอกเหตุผลจำเป็นที่พ่อแม่ต้องหย่าร้างกันและ บอกเขาถึงสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญต่อไป

• อย่าให้ลูกเลือกว่าต้องอยู่กับใคร อย่าให้ลูกของคุณต้องอยู่ระหว่างกลางหรือต้องเลือกเข่าข้างพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่าพูดถึงสิ่งไม่ดีต่างๆ ของอดีตสามีหรือภรรยาให้ลูกฟัง เพราะลูกๆ ย่อมรักพ่อและแม่ ถ้าพ่อหรือแม่แสดงความไม่พอใจเมื่อลูกแสดงความรักต่อใครคนใดคนหนึ่ง ลูกจะเริ่มปกปิดความรู้สึกที่แท้จริงของตนจนกลายเป็นเด็กเก็บกด

• หาที่ปรึกษา ควรพูดคุยกับเพื่อนที่มีความเข้าใจในปัญหาของคุณ เพราะจะช่วยป้องกันลูกจากการเป็นที่รองรับอารมณ์ของตัวคุณเอง และสามารถช่วยให้คุณอดทนต่ออุปสรรคหรือความผิดหวัง รวมถึงการกระทำต่างๆ ของลูกของคุณได้มากขึ้น

• หาความรู้เพิ่มเติม คุณควรหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวการหย่าร้างและผลกระทบที่มีต่อลูก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตของคุณและลูก

“สถาบันครอบครัว” เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม และเป็นหน่วยที่สำคัญยิ่ง เพราะครอบครัวเป็นที่ที่เด็กจะได้รับรากฐานชีวิต และช่วยกล่อมเกลาให้เด็กเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ

พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวที่สนใจ “คู่มือการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในครอบครัว Single Parent” เพื่อให้พ่อแม่ใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาภายในครอบครัวและการเลี้ยงดูบุตรหลาน ติดต่อมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว โทร.0-2954-2346-7

ข้อมูลจาก : http://www.thaisingleparent.com
Article Other
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
Sponsors
view all
Banner
view all