ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
เด็กกับการเล่น
เด็กกับการเล่น การเล่นเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของชีวิตเด็ก ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ รู้จักพลิกแพลง ทำให้เกิดความสมดุล และเรียนรู้ว่าควรจะแสดงอย่างไรถ้าจะต้องกระทบกระทั่งกับผู้อื่น การเล่นสามารถดึงเด็กไว้ได้นาน ๆ สามารถขยายจินตนาการให้กว้างไกลออกไป ขณะเด็กเล่นมองดูเหมือนเด็กวุ่นอยู่กับงานและมีความสุข ไม่ต้องการความสนใจจากใครทั้งสิ้น พ่อแม่สามารถมีเวลาเป็นของตนเอง เด็กบางคนที่ขาดทักษะด้านนี้ เพราะไม่เคยเรียนรู้วิธีการเล่น จึงจำเป็นที่จะต้องให้เด็กสามารถเรียนรู้เพื่อที่เขาจะได้รู้จักใช้ชีวิตเหมือนเด็กคนอื่นๆ

เด็กเล็กส่วนใหญ่จะเล่นอยู่กับตนเองจนกว่าจะเช้าขวบปีที่สองที่เริ่มเข้าหาผู้อื่น อายุระหว่าง 2-3 ปี เริ่มต้นตอบสนองการเล่นกับผู้อื่นและเริ่มเล่นด้วยมากขึ้น เด็กโตเรียนรู้การทำสิ่งต่างๆ ร่วมกับผู้อื่นโดยผ่านการเล่น เรียนรู้การให้ การเป็นผู้นำและผู้ตาม เรียนรู้ความเป็นมิตรและการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองในขณะที่เล่น

สอนอย่างไรให้รู้จักเล่น

เด็กที่ไม่เคยเล่นกับคนอื่น เพราะเป็นลูกคนเดียว อาจพอใจที่จะเล่นกับผู้ใหญ่ และไม่ยอมสัมพันธ์กับเด็กอื่น เนื่องจากพอใจกับการได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่ ทั้งในแง่คนชม การกอดรัด และสัมผัสต่างๆ จึงทำให้ยากต่อการสอนให้เด็กหันไปสนใจเล่นกับเด็กอื่น แต่ผู้ใหญ่จะต้องพยายามฝึกสอน การเริ่มต้นสอนให้เด็กรู้จักการเล่นกับผู้อื่น ควรเริ่มต้นจากญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน หาของเล่นที่เหมาะสม เช่น ไม่กระดก เกมต่างๆ ซึ่งต้องการผู้เล่นมากกว่า 1 คน เช่น งูไต่บันได เกมบอล ฯลฯ แต่จะต้องเป็นของเล่นที่สามารถทำให้เด็กสนุกสนานได้เต็มที่ และจากจุดนี้จึงค่อยๆ นำไปสู่การเล่นเป็นกลุ่มมากขึ้น การช่วยกันต่อภาพโดยแบ่งชิ้นส่วนให้เด็กคนละครึ่ง ส่วนใหญ่ทำให้เด็กสนุกกับการช่วยต่อภาพมากกว่าจะสนใจว่าต้องมีคน 2 คนช่วยกัน

เด็กที่ไม่เคยสัมพันธ์กับผู้อื่นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กด้วยกัน ถ้าเราต้องการสอนให้เด็กเล่น ควรเริ่มจากการเล่นที่ง่ายๆ เช่น การล้อลูกบอลไปมาระหว่างกัน การนั่งโยกไม่กระดกกับคนอื่นที่นั่งอยู่คนละด้าน การเล่นประเภทนี้มักประกอบด้วย ความร่วมมือกัน 2 คนโดยมีเด็กเป็นผู้ช่วย การที่เด็กเกิดความสนุกสนานในการเล่น จะเป็นแรงเสริมกระตุ้นให้เด็กอยากเล่นต่อ ถ้าหารการเล่นสามารถดำเนินต่อไปได้การสัมพันธ์กับคนอื่นก็จะดำเนินควบคู่ไปด้วย

เลือกของเล่นอย่างไร

การเลือกของเล่นให้เด็กเป็นสิ่งสำคัญ ควรจะต้องคำนึงถึงระดับอายุ และความชอบของเด็ก ของเล่นบางชนิดอาจจะเหมาะกับเด็กคนหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะสมหรับเด็กอื่น เด็กส่วนใหญ่จะไม่สนใจของเล่นที่ยากเกินไป ฉะนั้น การเลือกของเล่นจึงควรเล่มต้นจากของเล่นที่ง่าย ๆ ค่อยเปลี่ยนเป็นยากขึ้น โดยไม่ทำให้เด็กรู้สึกขาดความมั่นใจ พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะมักจะซื้อของเล่นที่ยากเกินไปสำหรับเด็กที่เริ่มเล่น ซึ่งทำให้เด็กตื่นเต้นในของใหม่ได้ไม่นาน ดีที่สุดควรเลือกต่ำกว่าอายุเล็กน้อย

การเล่นพัฒนาเด็กได้จริงหรือ 

ในขณะที่เด็กเล่น เด็กจะต้องผ่านการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ อาทิ เช่น สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น การเอาแท่งไม้มาต่อให้เป็นรูปตึก เด็กเรียนรู้ไปพร้อมกันว่า เขาจำเป็นต้องเลือกแท่งไม้ชนิดใดๆ จะสร้างรูปแบบอย่างไร จะต้องเคลื่อนไหวในทิศทางใดๆ ทำอย่างไรจึงจะควบคุมให้มือเคลื่อนไหวได้เบาที่สุด เพื่อที่หอคอยจะได้ไม่ล้มทลายลงมา การเคลื่อนไหวสายตาไปทางซ้ายหรือขวาจะสามารถบอกให้เด็กรู้ว่า เขาควรจะวางแท่งไม้อย่างไรจึงจะสมดุล เพื่อให้ได้หอคอยสูงที่สุด ถ้าวางไม่ตรงจะเกิดอะไรขึ้นหรือถ้าดึงเอาท่อนไม่ที่อยู่ชั้นล่างสุดออกมาจากหอคอยจะเป็นอย่างไร แต่ละขั้นตอนล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทักษะในหลาย ๆ ด้านและเป็นพื้นฐานเพื่อก้าวไปสู่วัยเรียนในเวลาต่อมา 

เนื่องจากการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการในเด็ก ผู้ใหญ่จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยการสอนให้เด็กรู้จักเล่น นอกจากช่วยให้เด็กสนุกสนานกับการเล่นแล้วยังช่วยในการพัฒนาด้านภาษา ทำให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการเรียนรู้การสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกเหนือจากบุคคลในครอบครัว เป็นการเสริมสร้างทักษะทางสังคมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการใช้ชีวิตร่วมกัน เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการปรับตัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

  
 ข้อมูลจาก : http://ecurriculum.mv.ac.th
Article Other
นอนท่าไหน มดลูกเข้าอู่เร็ว
นอนท่าไหน มดลูกเข้าอู่เร็ว
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
อาหารต้องห้ามสำหรับเด็กอายุก่อนหนึ่งขวบ
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
Sponsors
view all
Banner
view all