ลงทะเบียนเข้างาน
Mobile number
e-mail
Sponsors
view all
Banner
view all
Article
Share
วิธีล้างจมูกเด็กที่ถูกต้องและปลอดภัย



วิธีล้างจมูกเด็กที่ถูกต้องและปลอดภัย

 

ด้วยปัจจุบันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ และไซนัสอักเสบ เป็นปัญหาสำหรับเด็กทำให้มีน้ำมูก เกิดการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการสั่งน้ำมูกอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องล้างทำความสะอาดจมูก และดูดเอาน้ำมูกออกร่วมด้วย เพื่อไม่ให้มีการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงจมูก

 

การล้างจมูกมีประโยชน์อย่างไร

 
  • ช่วยล้างน้ำมูกที่เหนียวข้นที่ไม่สามารถระบายออกเองได้ทำให้โพรงจมูกสะอาด
  • อาการหวัดเรื้อรังดีขึ้น
  • การระบายหนองจากไซนัสดีขึ้น
  • ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคจากจมูกและไซนัสไปสู่ปอด
  • ช่วยลดจำนวนเชื้อโรคของเสีย สารก่อภูมิแพ้ และสารที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสารก่อภูมิแพ้
  • ให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุจมูก
  • บรรเทาอาการคัดแน่นจมูก ระคายเคืองในจมูก
  • การล้างจมูกก่อนใช้ยาพ่นจมูกทำให้ยาพ่นจมูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการล้างจมูก
 

น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% แนะนำให้ใช้ขวดละ 100 ซีซี (น้ำเกลือที่เหลือให้เททิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเทกลับเข้าขวดน้ำเกลือเดิม)

 

ถ้วยสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ ภาชนะรองน้ำมูกและเสมหะ กระดาษทิชชู

 

อุปกรณ์สำหรับเด็กเล็ก (อายุ 1-5 ปี)   
 

  • กระบอกฉีดยาพลาสติก
  • 1 ปีแรก ใช้ขนาด 1 ซีซี (ไม่ใส่หัวเข็ม) หรือขวดยาหยอดตา
  • เด็กอายุ 1-5 ปี ใช้ขนาด 2-5 ซีซี (ไม่ใส่หัวเข็ม)
  • ลูกยางแดง สำหรับดูดน้ำมูกและเสมหะ
  • 1 ปีแรก ใช้เบอร์ 0-2
  • 1 - 5 ปี ใช้เบอร์ 2-4

 

อุปกรณ์สำหรับเด็กโต (อายุ 6 ปีขึ้นไป)
 
  • กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 10-20 ซีซี (ไม่ใส่หัวเข็ม)

 

วิธีล้างจมูก

 

วิธีล้างจมูกในเด็กเล็ก (อายุ 1-5 ปี)        
  

  • ล้างมือผู้ที่จะทำการล้างจมูกให้สะอาด
  • เทน้ำเกลือใส่ขวดยาหยอดตาหรือใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม
  • ให้ใช้ผ้าห่อตัวเด็กในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือและดิ้นมาก
  • ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูงพอสมควร เพื่อป้องกันการสำลัก
  • จับหน้าให้นิ่ง ค่อยๆ หยดน้ำเกลือครั้งละ 2-3 หยด หรือค่อยๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง โดยให้วางปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของรูจมูก ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5 ซีซี
  • ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูกออก โดยให้บีบลูกยางแดงจนสุดเพื่อไล่ลมออก แล้วค่อยๆ สอดเข้าไปในรูจมูกลึกประมาณ 1-1.5 ซม. ค่อยๆ ปล่อยมือที่บีบออกช้าๆ เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยางแดง และบีบน้ำมูกทิ้งในกระดาษทิชชู
  • ทำซ้ำหลายๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก
  • ในกรณีที่รู้สึกว่ามีเสมหะในลำคอ ให้สอดลูกยางแดงเข้าทางปากเพื่อดูดเสมหะในลำคอออก ถ้าต้องการให้เด็กไอเอาเสมหะออก ให้สอดลูกยางแดงลึกถึงประมาณโคนลิ้นเพื่อกระตุ้นให้ไอ และทำการดูดเสมหะเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น (ระหว่างดูดเสมหะ ให้จับหน้าเด็กหันไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลัก)

 

วิธีล้างจมูกในเด็กโต (อายุ 6 ปีขึ้นไป)
 

  • วิธีที่ 1
  1. แหงนหน้าเล็กน้อย
  2. สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูกข้างที่จะล้าง โดยวางปลายกระบอกฉีดยาชิดรูจมูกด้านบน
  3. กลั้นหายใจหรือหายใจทางปาก
  4. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในจมูกครั้งละประมาณ 5 ซีซี หรือปริมาณมากที่สุดเท่าที่เด็กจะทนได้ หลังจากนั้นให้สั่งน้ำมูกพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) ไม่ควรกลั้นหายใจเพื่อกักน้ำเกลือให้ค้างอยู่ในจมูกนาน บ้วนน้ำเกลือและเสมหะในคอออก
 
  • วิธีที่ 2
  1. ก้มหน้าเล็กน้อยหรืออยู่ในท่าศีรษะตรง
  2. สอดกระบอกฉีดยาเหมือนวิธีที่ 1
  3. หายใจทางปากหรือกลั้นหายใจ
  4. ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก จนน้ำเกลือและน้ำมูกไหลออกทางปากหรือไหลย้อนออกทางจมูกอีกข้าง
  5. สั่งน้ำมูกพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) บ้วนน้ำเกลือและน้ำมูกส่วนที่ไหลลงคอทิ้งบ้วนเสมหะในคอออก
  6. ทำซ้ำหลายๆ ครั้งในแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูกออกมา (วิธีนี้อาจใช้น้ำเกลือล้างจมูกจำนวนมาก)

 

วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก
 

  • ให้ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้งานทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตและเพิ่มปริมาณ โดย
  • กระบอกฉีดยาและภาชนะที่ใส่น้ำเกลือให้ล้างน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน ล้างด้วยน้ำประปาจนหมดน้ำสบู่ ผึ่งให้แห้ง
  • ล้างลูกยางแดงด้วยน้ำสบู่ทั้งภายนอกและภายใน ล้างตามด้วยน้ำประปาจนสะอาด บีบน้ำที่ค้างในลูกยางออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาด โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง ควรนำไปต้มในน้ำเดือดวันละครั้ง โดยดูดน้ำเดือดเข้ามาในลูกยางแดง ต้มประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วบีบน้ำที่ค้างอยู่ในลูกยางแดงออกจนหมด วางคว่ำในภาชนะที่สะอาด โดยคว่ำปลายลูกยางแดงลง

 

 

ควรล้างจมูกบ่อยแค่ไหน
 

อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ช่วงตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน หรือเมื่อรู้สึกว่ามีน้ำมูกมากหรือแน่นจมูก หรือก่อนใช้ยาพ่นจมูกแนะนำให้ทำในช่วงท้องว่างเพราะจะได้ไม่เกิดการอาเจียน

 

ข้อควรระวัง
 

- น้ำเกลือและอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำเกลือไม่ควรใช้ขวดใหญ่ เพราะการเปิดทิ้งไว้และใช้ต่อเนื่องนานกว่าจะหมด จะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ได้ โดยทั่วไปควรใช้ขวดละ 100 ซีซี เพื่อให้หมดเร็วจะได้ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

- ควรล้างจมูกเมื่อมีน้ำมูกเหนียวข้นจำนวนมาก (ถ้าน้ำมูกใสและมีจำนวนเล็กน้อยให้สั่งออกมา) หลังฉีดน้ำเกลือเข้าไปในโพรงจมูก ให้สั่งน้ำมูกออกมาทันที ไม่ควรกลั้นหายใจเพื่อกักน้ำเกลือให้ค้างอยู่ในจมูกนาน เพราะน้ำเกลืออาจจะไหลย้อนไปในไซนัส และการส่งน้ำมูกให้สั่งเบาๆ ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง เพราะอาจทำให้แก้วหูทะลุได้




เรียบเรียงข้อมูลจาก  
https://www.nakornthon.com/

Article Other
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
5 สิ่งที่่พ่อแม่อาจเผลอ Bully ลูก
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
4 โมเมนต์พิเศษที่คุณแม่ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อบ้าง
วิธีดูแลเสื้อผ้าลูกน้อย ให้ไร้กลิ่นอับ
วิธีดูแลเสื้อผ้าลูกน้อย ให้ไร้กลิ่นอับ
Sponsors
view all
Banner
view all